สิทธิที่ต้องรู้ เมื่อผู้ประกันตนทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีใดบ้าง ?

สำนักงานประกันสังคม ตระหนักถึงการดูแลช่วยเหลือผู้ประกันตนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองชีวิตอย่างมีคุณภาพ เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงให้แก่ชีวิตการทำงานของผู้ประกันตน โดยหากเกิดเหตุไม่คาดฝันในชีวิต ทำให้ผู้ประกันตนต้องสูญเสียสมรรถภาพทั้งร่างกายและทางจิตใจจนต้องกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ สำนักงานประกันสังคมยังคงให้ความคุ้มครองดูแลผู้ประกันตนอย่างต่อเนื่อง

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ระบุว่า สำหรับผู้ประกันตนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ ทางสำนักงานประกันสังคมจะคุ้มครองดูแลและช่วยเหลือผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ โดยจะต้องเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ซึ่งจะได้รับประโยชน์เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้ ดังนี้ กรณีทุพพลภาพรุนแรง ได้รับในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดชีวิต และกรณีทุพพลภาพไม่รุนแรง ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามประกาศฯ กำหนด นอกจากนี้ยังได้รับค่าบริการทางการแพทย์ ดังนี้ กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของรัฐ ประเภทผู้ป่วยนอก จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ถ้าเป็นผู้ป่วยใน จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลคำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรค (DRGs) ส่วนกรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของเอกชน ประเภทผู้ป่วยนอก จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท ถ้าเป็นผู้ป่วยใน จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท อีกทั้งยังได้รับค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท และได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเมื่อมีมติให้เป็นผู้ทุพพลภาพ รวมถึงผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานของสำนักงานประกันสังคม โดยที่สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพให้ตามหลักเกณฑ์ประกาศฯ กำหนด

ทั้งนี้ หากเกิดกรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพถึงแก่ความตาย ผู้จัดการศพมีสิทธิได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท รวมทั้งเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพถึงแก่ความตายผู้มีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์ดังนี้ สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยสองเดือน ส่วนผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยหกเดือน

สำหรับการยื่นคำขอฯ เพื่ออนุมัติให้เป็นทุพพลภาพ ผู้ประกันตนจะต้องใช้หลักฐานเพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน ประกอบด้วย แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01) ใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าเป็นบุคคลทุพพลภาพ สำเนาเวชระเบียน และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี ถ้าเป็นกรณีขอรับเงินทางธนาคาร ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน สามารถทำได้เช่นกัน ทั้งพร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถดำเนินการยื่นคำขอได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 บริการ 24 ชั่วโมง ทาง Line@ssothai หรือเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคมเผย เปิดรับสิทธิโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ปี 2567 วันแรก 1 พ.ย. 2567 ผู้ประกันตนให้ความสนใจเกือบเต็มโควตา ยื่นขอรับสิทธิกว่า 9,000 ล้านบาท

โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน พ.ศ. 2567 นี้ จะช่วยให้ผู้ประกันตนมีสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัย ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย หรือซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างที่อยู่อาศัยได้อัตราดอกเบี้ยต่ำ เพียงร้อยละ 1.59 ต่อปี

'พิพัฒน์' รมว.แรงงาน ห่วงทายาทพนักงานกวาดถนนเทศบาลนครอ้อมน้อย ประสบเหตุถูกรถกระบะชนเสียชีวิต 2 ราย มอบประกันสังคม จ่ายเงินทดแทนกรณีตายในงาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยและแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมมอบหมายให้ นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เร่งดำเนินการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ

สปส. ย้ำขอความร่วมมือ นายจ้าง “แจ้งเข้า-แจ้งออก” ให้ลูกจ้างตามเวลาที่กฎหมายกำหนด ผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม

นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

“บุญสงค์”ปลัดแรงงาน เข้ารับตำแหน่งวันแรก แถลงมุ่งผลักดันนโยบาย ปี 68 สร้างความเชื่อมั่น ยอมรับ ไว้วางใจ สนับสนุนความเป็นธรรมแก่คนทำงานทุกภาคส่วน

วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวแถลงนโยบายกระทรวงแรงงานและแนวทางการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อสื่อมวลชน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า กระทรวงแรงงาน

เช็กสิทธิกรณีว่างงาน กรณีไหนบ้างได้รับเงินทดแทน หากผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เป็นลูกจ้างที่ได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง 7 กรณี โดยเฉพาะในกรณีผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา สำนักงานประกันสังคมจะยังคงคุ้มครองผู้ประกันตนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่อเนื่องเป็นเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน

สปส. ปลื้มรับ 12 รางวัล มาตรฐานศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ประจำปี 2567

สำนักงานประกันสังคม (สปส.) คว้าโล่และตรารับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) (Government Easy Contact Center : GECC) ประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวน 12 ศูนย์ ได้แก่ ระดับก้าวหน้า 1 ศูนย์ และระดับพื้นฐาน 11 ศูนย์ จากการบริการประชาชนให้ได้รับความสะดวก