วันที่ 26 ตุลาคม 2566 พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปและหารือประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านการแรงงาน โดยมี นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน
พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า ภารกิจของ
วุฒิสภา มีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้งแต่งตั้งบุคคลตามรัฐธรรมนูญ และในวันนี้ผมพร้อมคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา จึงมาหารือกับกระทรวงแรงงาน เกี่ยวกับนโยบายด้านแรงงานเพื่อขับเคลื่อนให้มีประสิทธิภาพ
พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวต่อว่า การมาเยี่ยมคารวะและหารือประเด็นด้านแรงงานกับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา ในครั้งนี้ได้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะไปยังกระทรวงแรงงานในประเด็นต่าง ๆ ทั้งการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อให้พี่น้องแรงงานสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ สอดคล้องกับค่าครองชีพ ต้องเปรียบเทียบกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียน เพื่อไม่ให้ไทยสูญเสียศักยภาพในการแข่งขันและดึงดูดการลงทุน และที่สำคัญการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำต้องผ่านกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อจะได้ทบทวบสถานการณ์และความเหมาะสมในทุกมิติอย่างรอบด้าน ส่วนการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการประกันสังคมนั้น ซึ่งขณะนี้สำนักงานประกันสังคมอยู่ระหว่างการจัดเตรียมการเลือกตั้งเพื่อให้ได้ผู้แทนทั้งสองฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการบริหารด้านการเงินการลงทุนของคณะกรรมการประกันสังคม ซึ่งในส่วนนี้ต้องมองถึงความคุ้มค่าของระบบการเลือกตั้งดังกล่าว และแนวทางการจัดทำประมวลกฎหมายแรงงานที่ปัจจุบันยังกระจัดกระจายอยู่ 13 ฉบับ รวมแล้วกว่า 1,146 มาตรานั้น ต้องนำมาปรับปรุงให้เป็นฉบับเดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเกิดประโยชน์กับผู้ใช้กฎหมาย
“ผลจากการหารือในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ในการดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านแรงงานให้สอดคล้องตามเป้าหมายที่กำหนด ที่สำคัญจะช่วยให้การดำเนินการเกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องภาคแรงงานอีกด้วย”พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวท้ายสุด
ในการนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ และคณะกรรมาธิการการแรงงานยังได้เยี่ยมชมการให้บริการของศูนย์ช่วยเหลือแรงงานและติดตามสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล กระทรวงแรงงาน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชั้นล่างอาคารกระทรวงแรงงาน โดยศูนย์แห่งนี้มีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกแก่แรงงานไทยที่กลับมาจากสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอลเพื่อยื่นขอรับสิทธิประโยชน์จากกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ
ด้าน นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า สำหรับมาตรการรองรับแรงงานไทยที่กลับมาจากสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอลนั้น ในส่วนของกระทรวงแรงงาน ได้หาตลาดใหม่ให้แรงงานไทย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับอิสราเอล เช่น เกาหลี ออสเตรเลีย โดยเจรจากับนายจ้างเจ้าของฟาร์ม เพื่อจัดส่งแรงงานไปทำงานในประเทศอื่นๆ แทน เป็นการแก้ปัญหาในเบื้องต้น นอกจากนี้ จะหารือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อหาตำแหน่งงานให้แรงงานไทยที่กลับมาจากอิสราเอลซึ่งมีทักษะสูงให้ได้มีงานทำ ทั้งนี้ เพื่อนำพากระทรวงแรงงานให้เป็นกระทรวงเศรษฐกิจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘พิพัฒน์’ ระดมแจกถุงยังชีพช่วยน้ำท่วมใต้ พร้อมแก้ปัญหาเดือดร้อนด้านอาชีพ ลดเงินสมทบประกันตน 6 เดือน ขี้นทะเบียนว่างงาน เร่งซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า มอเตอร์ไซด์หลังน้ำลด
วันที่ 2 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรี นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรี นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์
'อนุทิน' เมิน 'หมอเชิดชัย' เสนอยุบสภา
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์กรณีน.พ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์
"พิพัฒน์" ลงใต้ ปักหลัก 3 - 5 ธันวา ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมแรงงานเต็มที่
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ว่า ได้สั่งการเร่งด่วนให้ 5 เสือแรงงานจัดส่งถุงยังชีพไปแล้วกว่า 3,000 ชุด
“พิพัฒน์” เน้นย้ำความปลอดภัยในสถานประกอบการ จัดประชุมวิชาการ เสวนาการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ ภาคเหนือ
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการเสวนาการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ปฏิวัติการศึกษา ! พรรคภูมิใจไทย เริ่มแล้ว เผยแพร่คลิป เวิร์กชอปพ.ร.บ.การศึกษาเท่าเทียม บรรจุ 3 แพลตฟอร์ม เรียนรู้ออนไลน์-เครดิตแบงค์-Portfolio พร้อมการรับฟังความคิดเห็นเอกชน นักศึกษา และนักวิชาการ
เพจพรรคภูมิใจไทย นำเสนอ คลิป 6 ตอน เกี่ยวกับการ “เวิร์กชอป ปฏิวัติการศึกษา พ.ร.บ.การศึกษาเท่าเทียม” โดยมีเนื้อหา ในเรื่อง Painpoint การศึกษาไทย ที่จะแก้ไขปัญหาด้วยการนำเสนอ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาเท่าเทียม ที่จะบรรจุ 3 แพลตฟอร์ม สำคัญคือ แพลตฟอร์มเรียนรู้ออนไลน์ แพลตฟอร์มเครดิตแบงก์ และแพลตฟอร์ม Portfolio
ข่าวดีผู้เกษียณ! เปิดตำแหน่งงานกว่า 4 พันอัตรา
'คารม' เผยรัฐบาลเดินหน้าสร้างโอกาสทำงานวัยเกษียณ จับมือ 16 ธุรกิจเอกชน เปิดตำแหน่งงานกว่า 4 พันอัตราทั่วประเทศ สมัครได้ที่เว็บไซต์ 'ไทยมีงานทำ.doe.go.th' หรือแอปพลิเคชัน 'ไทยมีงานทำ'