ผลักดัน “เมืองดีต่อใจวัยเกษียณ” รองรับผู้สูงวัยครองเมือง

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรม เนื่องในวันผู้สูงอายุสากล พ.ศ. 2566 เปิดเวทีสาธารณะ “เมืองดีต่อใจ วัยเกษียณ” เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยมีนางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส.เปิดงานเมืองที่ดีสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน มีหัวข้อเสวนา “จากเมืองไปสู่นโยบาย 4 มิติเพื่อวัยเกษียณ” โดยวิทยากร นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. น.ส.บุษยา ใจสว่าง รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ ผศ.ดร.ธร ปีติดล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายชาคริต พรหมยศ Co-Founder ยังแฮปปี้ นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานสมาคมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย เข้าร่วมสานพลัง สร้างเมืองดีมีสุขภาวะยั่งยืน ภายในงานยังมีกิจกรรม Mini Workshop ออกแบบเมือง I Have a Dream TALK 4 เมือง ดีต่อใจ วัยเกษียณ และเสวนา “การไปสู่เมืองดีต่อใจ วัยเกษียณ” เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานชุมชนเมือง-ท้องถิ่น ให้ผู้สูงอายุและวัยก่อนสูงอายุมีคุณภาพชีวิตดี 4 มิติ คือ สุขภาพ, เศรษฐกิจ, สังคม และสภาพแวดล้อม

ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. เปิดเผยว่า เป็นความท้าทายของสังคมในการสร้างเมืองดีต่อใจวัยเกษียณ องค์การอนามัยโลกกำหนดอาคารสถานที่ให้ปลอดภัย สะดวกโดยไม่ต้องขึ้นบันได โดยเฉพาะการข้ามสะพานลอยเพียง 10 ขั้นก็เหนื่อยแล้ว ระบบขนส่งมวลชนก็ต้องเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ คนพิการ สะดวกในการเดินถึงที่ ในเมืองจีนเพียงแตะบัตรประชาชนก็โดยสารได้แล้ว บ้านเราค่าโดยสารผู้สูงอายุครึ่งราคา ใช้บันไดเลื่อน

เราต้องจัดกิจกรรมทางสังคมให้ผู้สูงอายุ มากด้วยประสบการณ์และบารมี เป็นที่เคารพนับถือมีชมรม ทุกคอนโดฯ ต้องมีกิจกรรมให้ผู้สูงวัยได้รู้จักกัน ออกกำลังกายด้วยกัน มีการรดน้ำดำหัว ไม่ใช่ปล่อยให้แก่แล้วแก่เลย รอเวลาไปทำปุ๋ย กรมกิจการผู้สูงอายุกำหนดให้ทุกสำนักงานจ้างงานผู้สูงอายุมีรายได้ คนที่มีอายุมากกว่า 60 ปีทำงาน 10% หรือทำงานสัปดาห์ละ 1-2 วัน

ระบบการให้บริการ Care Giver Care Manager ทั่วประเทศ การทำงานจิตอาสากับผู้สูงอายุ มีธนาคารเวลาสะสมไว้ ช่วยเหลือคนไม่สบายพาไปรักษาที่โรงพยาบาล เก็บคะแนนสะสมไว้ ตัดผม เย็บปักถักร้อยให้ผู้สูงอายุ สร้างบ้านแปงเมือง จดลงสมุดบันทึกไว้เป็น Social Service ขณะนี้นำร่องที่เขตภาษีเจริญ และขยายตัวสร้างเครือข่ายใน 3-4 จังหวัด รวมถึงภาคเหนือด้วย

น.ส.บุษยา ใจสว่าง รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เปิดเผยว่า เมืองไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ เดินมา 5 คนมีผู้สูงวัย 1 คน ขณะนี้ผู้มีฐานะยากจน 5.3 ล้านคนมีบัตรสวัสดิการสงเคราะห์เป็นผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุที่พิการ 1.2 ล้านคน เมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุสุขภาพก็เสื่อมลง ช่วงอายุ 60-69 ปีอยู่คนเดียว 12.0% และ 21.1% อยู่ลำพังกับคู่สมรส ทั้ง 2 กลุ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงมีความเปราะบางต่อปัญหาต่างๆ ทั้งพบปัญหาสุขภาพโรคไม่ติดต่อ (NCDs) อย่างต่อเนื่อง ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งมีสุขภาพดี มีสังคมออกนอกบ้านได้จำนวนมาก แต่ยังมีผู้สูงอายุอีกจำนวนหนึ่งที่ป่วยนอนติดเตียง สังคมปัจจุบันจึงเป็นเรื่องท้าทายที่ผู้สูงวัยได้อยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี กรมฯ ทำงานคนเดียวไม่ได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

“เราต้องเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ คนไทยเริ่มออมเงินในวัย 42 ปี ผู้สูงอายุ 47% มีเงินออม 53% ไม่มีเงินออม กลุ่มที่มีเงินออมไม่เกิน 5 หมื่นบาท เป็นการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับสุขภาพ หลักประกันรายได้ สร้างสภาพแวดล้อมด้วยมิติทางสังคม เป็นสิ่งสำคัญมาก เราไม่ได้เตรียมพร้อมเมื่ออายุ 59 ปี แต่ต้องเตรียมพร้อมตั้งแต่เป็นเยาวชน กรมฯ มีรูปแบบสวัสดิการ โรงเรียนผู้สูงอายุ เรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาอาชีพในชุมชน Best Practice มีพื้นที่สร้างสรรค์ดีๆ ยิ่งเราอยู่ในสังคมยุค digital ผู้ใหญ่ก็ต้องเข้าใจเด็ก ขณะเดียวกันเด็กในยุคอัลฟาก็ต้องเข้าใจผู้ใหญ่ การเข้าถึงรูปแบบสวัสดิการสังคม”

ผศ.ดร.ธร ปีติดล  ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้แจงว่า ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของสังคมสูงวัยเป็นงานที่ท้าทายมากที่สุด ภาพความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยช่วง 20 ปี ผู้สูงอายุที่มีรายได้ 20% ยากจนเพิ่มจำนวนสูงขึ้น 15%-37% หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า การที่คนเปลี่ยนอาชีพจากเกษตรมาสู่ภาคอุตสาหกรรม งานบริการ เมื่ออายุมากกว่า 60 ปีเลิกทำงานไม่มีรายได้ ต้องพึ่งรายได้จากลูกหลาน เงินอุดหนุนจากรัฐ ไม่มีรายได้อื่นในการดูแลตัวเอง ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย “ขอตั้งคำถามว่าสังคมไทยเป็นอย่างไรถึงปล่อยให้มีปรากฏการณ์ ปล่อยคนแก่และยากจนให้ไม่สามารถคาดหวังในการดูแลได้ เราไม่มีระบบบำนาญที่ดี ไม่มีการส่งเสริมการประกันสังคม กองทุนการออมแห่งชาติเพื่อความมั่นคงทางรายได้”

“แก่แล้วจน แก่แล้วเจ็บป่วย มีปัญหาตามมาอีกมากมาย ผู้สูงอายุป่วยเพิ่มขึ้น 5%-15% อายุเกิน 80 ปีโอกาสเจ็บป่วย พิการเพิ่ม 1 เท่า ยิ่งสังคมไทยอายุยืนขึ้น ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังจำนวน 15% ไม่มีลูกหลานอยู่ด้วย ส่วนใหญ่คนหนุ่มสาวไปทำงานในเมือง ส่งผลให้ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง โอกาสที่ผู้สูงอายุ จน ป่วย เดียวดายมากขึ้น อยากให้ผู้สูงอายุใช้เทคโนโลยีเพื่อใช้งานอย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันภาครัฐควรยืดหยุ่นให้ท้องถิ่นได้กระจายสวัสดิการ อำนวยความสะดวกผ่านเทคโนโลยีด้วย”

นายชาคริต พรหมยศ Co-Founder ยังแฮปปี้ เปิดเผยว่า ผู้สูงวัยจน ป่วย เดียวดาย เทคโนโลยีจะเป็นตัวเร่งหรือชะลอให้ช้าลงก็ได้ “ต้องยอมรับว่า smart phone กลายเป็นปัจจัยที่ 5 เข้ามาในชีวิต ระหว่างการลืมกระเป๋าสตางค์หรือมือถือ เราจะกลับบ้านไหม เพราะทุกวันนี้ในมือถือมีแอปมากมาย ติดต่อเพื่อน สังคม สุขภาพในการติดต่อสื่อสาร การรับสิทธิเบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาท เทคโนฯ กระจายสิทธิ สวัสดิการ ผ่านแอป ถ้าคนที่เข้าไม่ถึงแอปก็จะไม่ได้สิทธิที่ควรจะได้ ทำให้คนกลุ่มหนึ่งถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เพราะไม่มีเครื่องมือที่จะเข้าถึงสิทธิได้.

นพ.วิชัย โชควิวัฒน

ประธานสมาคมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ในสมเด็จพระศรีนครินทราฯบรมราชชนนี

“ผมอายุ 76 ปีครึ่งแล้วยังทำงานทุกวัน คนมักจะถามว่าอายุขนาดนี้แล้วทำอะไร ผมก็ตอบว่าปฏิบัติธรรมด้วยการเข้าที่ทำงาน ผมเป็นลูกศิษย์ท่านพุทธทาสภิกขุ การทำงานคือการปฏิบัติธรรมโดยไม่มีวันหยุดทั้ง 7 วัน  แต่คุณหมอพรเทพทำงานสัปดาห์ละ 8 วัน ไม่ต้องไปรอ กม.บังคับให้คนอายุเกิน 60 ปีทำงาน เราทำงานกันทุกวันอยู่แล้ว ไม่ต้องรอให้ใครเขาจ้าง ถ้าเขาเห็นคุณค่าของเรา ผมเป็นคนทำงานไม่ต้องมีการต่อรองค่าแรง ฟรีก็ได้ แต่เขาก็ส่งค่าตอบแทนมาให้โดยไม่ต้องต่อรองอะไรเลย ทรัพย์สินก็งอกเงยมาด้วยเพราะทำตัวมีประโยชน์”

“ผมทำงานทุกวัน ถือหลักทำงานเต็มที่ วันละ 10ชั่วโมงเหมือนกับว่าวันนี้เป็นวันสุดท้ายของการทำงาน ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้เช้าจะได้ตื่นหรือไม่? ยังแสวงหาความรู้อ่านหนังสือทุกวัน ดูโทรทัศน์ การสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ดีต่อใจของคนทุกวัย รวมทั้งคนที่อยู่ในวัยเกษียณด้วย ขณะนี้ที่เมืองจีนไม่มีคนยากจนหลงเหลืออีกแล้ว คนจนคนสุดท้ายหมดไปแล้วหลังจากจีนใช้เวลา 40 ปีแก้ไขปัญหาความยากจน เขาขจัดความยากจนหมดไปแล้วเมื่อ 4 ปีก่อน ดังนั้นคนแก่ที่ยากจนย่อมไม่มีในเมืองจีน จึงเป็นเรื่องดีต่อคนเกษียณอายุด้วย พื้นที่ดีต่อใจเป็นเมืองในวัยเกษียณ เมืองที่ปลอดภัยอยู่เย็นเป็นสุข ผู้คนเอื้ออาทรต่อกัน พร้อมเผชิญกับภัยพิบัติได้อย่างยั่งยืน”

“เราสร้างเมืองที่น่าอยู่ดีต่อใจทำได้ เราต้องทำเรื่องระบบสุขภาพ ขณะนี้ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 8,000 คน จำนวนมากกว่าข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขของจีนที่ดูแลประชากร 1,400 ล้านคน กระทรวงสาธารณสุขให้กระจายอำนาจไปยัง สปสช.ดูแลเงิน และยังมี สสส.ดูแลงบประมาณในการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ด้วยรากฐานสังคมไทยเป็นเกษตรกรรม คนไทยทำนาดำต่างจากนาหว่าน จึงต้องมีการลงแขกทำทั้งครอบครัว รวมทั้งเพื่อนบ้านด้วยจนถึงทุกวันนี้ เป็นการทำงานคนละไม้คนละมือด้วยการกระจายอำนาจ”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง

โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด

เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน

'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน

‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ

จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง

รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น