สำนักงานประกันสังคมมีความมุ่งมั่นในการสร้างหลักประกัน เพื่อการดำรงชีวิตของลูกจ้างทุกคนให้ได้รับสิทธิประโยชน์การคุ้มครองชีวิตจากการทำงานที่ครอบคลุมตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย รวมทั้งสิ้น 7 กรณี ซึ่งนายจ้างมีหน้าที่ขึ้นทะเบียนให้ผู้ประกันตนภายใน 30 วัน ถือเป็นหน้าที่สำคัญของนายจ้างที่ไม่อาจละเลยได้
นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันที่เข้าทำงาน โดยนายจ้างมีหน้าที่ขึ้นทะเบียนลูกจ้างภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้าทำงาน และการรับลูกจ้างใหม่ทุกครั้งจะต้องดำเนินการแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างภายใน 30 วัน เช่นกัน โดยใช้แบบฟอร์ม สปส.1-03 ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมได้อำนวยความสะดวกให้แก่นายจ้างให้สามารถขึ้นทะเบียนลูกจ้างได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยสามารถแจ้งยื่นเรื่องลงทะเบียนลูกจ้างได้ 2 ช่องทาง คือ 1.ยื่นผ่านระบบ e-Service ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th และ 2. ยื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ
นอกจากนี้ทั้ง 2 ช่องทางดังกล่าว นายจ้างยังสามารถแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน กรณีที่มีลูกจ้างลาออกจากงาน เลิกจ้าง โดยใช้แบบฟอร์มการแจ้ง สปส.6-09 รวมถึงการแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน ทั้งข้อมูลชื่อ-สกุล หรือข้อมูลสถานภาพครอบครัว และข้อมูลจำนวนบุตร โดยใช้แบบฟอร์ม สปส.6-10 โดยทั้งหมดนี้นายจ้างจะต้องแจ้งข้อมูลภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง
สำหรับการแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างเข้า-ออกกับสำนักงานประกันสังคม ถือเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่สำคัญมาก เพราะจะทำให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองทั้ง 7 กรณี ประกอบด้วย การเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน ซึ่งเมื่อขึ้นทะเบียนลูกจ้างแล้ว จะต้องดำเนินการโดยส่งเงินสมทบอย่างต่อเนื่องทุกเดือน เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมได้อย่างคุ้มค่าและครบถ้วน โดยเงินสมทบนี้จะเป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างต้องสมทบเข้ากองทุนทุก ๆ เดือน
อย่างไรก็ตามหากนายจ้างละเลยไม่แจ้งการขึ้นทะเบียนลูกจ้างหรือไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงจะมีโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้หากนายจ้างไม่นำส่งเงินสมทบให้ทันกำหนดเวลาที่สำนักงานประกันสังคมระบุไว้ได้ นายจ้างจะต้องรับผิดชอบเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของเงินสมทบที่ต้องนำส่ง โดยนายจ้างสามารถชำระเงินสมทบพร้อมเงินเพิ่มได้ที่สำนักงานประกันสังคมหรือธนาคารที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
ทั้งนี้ หากเป็นกรณีกิจการเป็นเจ้าของคนเดียว เจ้าของกิจการคือนายจ้างจะไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนได้ หากนายจ้างหรือลูกจ้างมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ทาง Line@ssothai หรือเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รมว. พิพัฒน์ มอบ เลขาธิการ สปส. มารศรี ลงพื้นที่ จ.ชลบุรี ตรวจเยี่ยมผู้ประกันตนทุพพลภาพ ในโครงการ สปส. มอบสุข
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2567 นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้รับมอบหมายจาก นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดชลบุรี เพื่อตรวจเยี่ยมคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ ในโครงการ
'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน
ประกันสังคมเผย เปิดรับสิทธิโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ปี 2567 วันแรก 1 พ.ย. 2567 ผู้ประกันตนให้ความสนใจเกือบเต็มโควตา ยื่นขอรับสิทธิกว่า 9,000 ล้านบาท
โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน พ.ศ. 2567 นี้ จะช่วยให้ผู้ประกันตนมีสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัย ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย หรือซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างที่อยู่อาศัยได้อัตราดอกเบี้ยต่ำ เพียงร้อยละ 1.59 ต่อปี
'พิพัฒน์' รมว.แรงงาน ห่วงทายาทพนักงานกวาดถนนเทศบาลนครอ้อมน้อย ประสบเหตุถูกรถกระบะชนเสียชีวิต 2 ราย มอบประกันสังคม จ่ายเงินทดแทนกรณีตายในงาน
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยและแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมมอบหมายให้ นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เร่งดำเนินการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ
สปส. ย้ำขอความร่วมมือ นายจ้าง “แจ้งเข้า-แจ้งออก” ให้ลูกจ้างตามเวลาที่กฎหมายกำหนด ผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม
นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
“บุญสงค์”ปลัดแรงงาน เข้ารับตำแหน่งวันแรก แถลงมุ่งผลักดันนโยบาย ปี 68 สร้างความเชื่อมั่น ยอมรับ ไว้วางใจ สนับสนุนความเป็นธรรมแก่คนทำงานทุกภาคส่วน
วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวแถลงนโยบายกระทรวงแรงงานและแนวทางการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อสื่อมวลชน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า กระทรวงแรงงาน