หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ปูรากฐานและขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่หลายคนอาจไม่ทันสังเกต คือแนวคิดและหลักปฏิบัติทางพุทธศาสนา ซึ่งนักพัฒนาและนักคิดชั้นนำเห็นร่วมกันว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง และแนะนำให้ประชาชนศึกษาและน้อมนำหลักพุทธศาสนามาเป็นหลักในการใช้ชีวิตและร่วมกันลดภาระที่มีต่อโลก
สตีเฟ่น ยัง ผู้อำนวยการอาวุโสของ Caux Round Table for Moral Capitalism ชาวอเมริกันที่อยู่ในประเทศไทยมานานถึง 63 ปี กล่าวว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เป็นหลักการที่มีความเป็นสากลมาก สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งในโลกตะวันตกและตะวันออก ทั้งในระดับภาพกว้างและการปฏิบัติในส่วนบุคคล
“ผมเคยได้มีโอกาสเข้าเฝ้าในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2510 นานถึงชั่วโมงครึ่ง พระองค์ตรัสเรื่องพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งและใช้หลักนี้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นี่แสดงให้เห็นว่าพระองค์ท่านทรงมีพระราชดำริในเรื่องนี้มานานหลายสิบปีแล้ว และพุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
สตีเฟ่น กล่าวต่อว่า หลักแห่งความพอเพียง อาจยากที่จะอธิบายให้คนต่างชาติที่ไม่มีพื้นฐานทางพุทธศาสนาเข้าใจได้ เพราะเป็นหลักคิดที่ซับซ้อน ไม่สามารถอธิบายในคำเดียวได้ว่าคืออะไร เพราะแนวคิดนี้ไม่ใช่เฉพาะเรื่องตรรกะที่เป็นเรื่องของสมองซีกซ้ายอย่างเดียว หรือเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกที่เป็นการทำงานของสมองซีกขวา แต่เป็นเรื่องของความสมดุล อยู่ในจุดกึ่งกลางที่ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
เมื่อนำหลักคิดของศาสนามาใช้ในการอธิบายเรื่องของโลก ก็เหมือนกับเรามองว่าศาสนาไม่ใช่เรื่องของการไปวัด การทำบุญ การทำทาน แต่เป็นเรื่องของการบรรลุธรรม รู้แจ้งในความจริง เมื่อนำแนวคิดนี้มาใช้ในบริบทของความยั่งยืนคือ ต้องรู้แจ้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคมในองค์รวมว่าจะต้องสร้างความสมดุล นอกจากนี้ เราต้องมีความแน่วแน่ที่จะสร้างความสมดุลจึงจะพัฒนาตัวเองได้ เป็นคนที่ดีขึ้นได้ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างโลกที่ดีกว่า
“คนไทยใช้ ‘ใจ’ อยู่แล้ว ถ้าเราทุกคนปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ใส่ใจ ใช้ใจของเราเต็มที่ เราจะสามารถสร้างความยั่งยืนได้” สตีเฟ่น กล่าว
ศาสตราจารย์เทตสุโนริ โคอิซูมิ ผู้อำนวยการสถาบัน International Institute for Integrative Studies ผู้เชี่ยวชาญด้านทุนนิยมและความยั่งยืน กล่าวว่า แนวคิดทุนนิยมฟังดูย้อนแย้งกับเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่สองเรื่องนี้มีความเกี่ยวเนื่องกัน เพราะมีผลกระทบและมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน
ในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องมองในองค์รวม และเน้นความเชื่อมโยงขององค์ประกอบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจไปพร้อมกัน
ส่วนแนวคิดทุนนิยม เกิดจากพื้นฐาน 3 ข้อของอคติ 4 (รัก โลภ โกรธ หลง) เพราะการจะประสบความสำเร็จในโลกทุนนิยม เราต้องอาศัยความโลภเพื่อสร้างผลกำไร ต้องอาศัยความโกรธเพื่อเอาชนะและควบคุมความสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ตนเอง และต้องอาศัยความหลง ซึ่งเป็นความหลงผิดว่ามีทรัพยากร มีศักยภาพในการเติบโตที่สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง
“แต่ในโลกนี้ไม่มีการเติบโตอย่างไร้ที่สิ้นสุด ไม่มีทางจะเป็นไปได้” ศ.โคอิซูมิ กล่าว “ดังนั้น เราต้องมองโลกในแง่มุมใหม่ ต้องใช้ ‘สติ’ รู้ตัว รู้ทันความเป็นไป ต้องรู้จักบริหาร ‘สันนิวาส’ หรือความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และรู้จักรักษา ‘ความสันโดษ’ คือการรู้จักพอ รู้จักความพอเหมาะพอดี”
แบรนด์ดอยตุง เป็นหนึ่งในตัวอย่างโครงการพัฒนาท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติได้ ด้วยการใช้หลักศาสนาและหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และผู้บริหารแบรนด์ธุรกิจเพื่อสังคม “ดอยตุง” เล่าว่ามูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในท้องถิ่น และให้ทางเลือกด้านอาชีพ เพื่อให้ประชาชนมีงานทำ พึ่งพาตนเองได้ สามารถนำตนเองให้พ้นจากความยากจนได้ด้วยตนเอง แม่ฟ้าหลวงมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นโครงการในพระราชดำริ ปัจจุบันเป็นวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการยกย่องในวงกว้าง สามารถยืนได้ด้วยตนเอง มีความมั่นคงทางรายได้ สามารถจ้างงานคนในท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก รวมทั้งผลิตและจำหน่ายสินค้าหลากหลายในประเทศและต่างประเทศ โมเดลการพัฒนานี้ถูกประยุกต์ใช้ในหลายประเทศที่ยังประสบปัญหาเช่นเดียวกับที่ประเทศไทยเคยเผชิญเมื่อ 30-40 ปีก่อน
“เราเชื่อว่าหลักการเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีความสำคัญมาก และเป็นทางออกของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราต้องมองไปข้างหน้าให้เห็นว่าปัญหาที่จะเกิดกับคนรุ่นใหม่ในอนาคตคืออะไร จะวางรากฐานในการแก้ปัญหาอย่างไร เราต้องทำให้คนมีศักยภาพ ต้องสร้างการเติบโตจากราก และขยายผลให้กว้างขวางต่อไป ซึ่งนี่คือหลักของพุทธศาสนาที่เริ่มจากการพัฒนาตัวเราให้เป็นคนที่ดีขึ้นก่อน จึงจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อคนอื่น ต่อองค์กร เปลี่ยนสังคม และเปลี่ยนโลกได้” ม.ล. ดิศปนัดดา กล่าว
ม.ล.ดิศปนัดดา กล่าวสรุปว่าองค์กรต่าง ๆ สามารถใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและแนวการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นแนวคิดในการบริหารความเสี่ยง ทุกคนต้องตระหนักในหน้าที่ และมีความมุ่งมั่นที่จะลดการใช้ทรัพยากร เราต้องบริหารและลดความ “โลภ” เพื่อให้องค์กรมีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นิพิฏฐ์' ผุดไอเดีย! อบรมธรรมะ 'ทนายความ' ก่อนออกใบอนุญาต
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สส.พัทลุง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า “กรรม” ตามหลักพุทธศาสนา ผมสนใจเรื่อง "กรรม"
SX2023 พลังแห่งความร่วมมือ ต้นแบบ Platform ความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ปลุกกระแสเยาวชน และผู้เข้าชมงาน มากกว่า 3 แสนคน
นับเป็นต้นแบบของ “Collaboration platform” พลังแห่งความร่วมมือด้านความยั่งยืนระดับโลก ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน สำหรับงาน Sustainability Expo 2023 (SX2023)
เยาวชนตัวแทนคนรุ่นใหม่ สร้างสรรค์งานศิลปะ “ด้วยมือเรา” จากสื่อผสม เจ้าของรางวัล CEO AWARD จากโครงการศิลปกรรมช้างเผือก
โครงการ “ศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 12 ภายใต้หัวข้อ “รักโลก” ที่จัดโดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเวทีที่ให้เหล่าศิลปิน
ร่วมกันสู้กับขยะในทะเลเพื่อคืนความหลากหลายทางชีวภาพแก่โลก
นอกจากปัญหาโลกร้อนที่กำลังจะเข้าสู่ยุคโลกเดือดที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมากแล้ว ปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกประเด็นหนึ่งที่ทุกภาคส่วนพยายามอย่างหนักในการร่วมกันบรรเทาความรุนแรง
ทำความ “ต่าง” ให้เป็นความ “ปกติ” ชุมชนชาติพันธุ์กับการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมและธรรมชาติในท้องถิ่น
ทุกประเทศทั่วโลกไม่ได้ประกอบไปด้วยประชากรเพียงกลุ่มเดียว แต่สร้างขึ้นจากกลุ่มชาติพันธุ์มากมายที่มีความหลากหลายทั้งในด้านภาษา วัฒนธรรม และความเป็นอยู่
'Paper Planes' เปิดมินิคอนเสิร์ต โชว์พลังซ่ารักษ์โลกงาน 'SX2023'
ชวนน้อง ๆ ตะโกนบอก “รักษ์” โลกกันไปเรียบร้อยโรงเรียน Paper Planes เมื่อสองหนุ่ม ฮาย-ธันวา เกตุสุวรรณ และ เซน-นครินทร์ ขุนภักดี ในฐานะพรีเซนเตอร์โออิชิ ชาคูลล์ซ่า มาเปิด มินิคอนเสิร์ตซ่า มีดี ภายใต้คอนเซปต์รักษ์โลก ในงาน SUSTAINABILITY EXPO 2023 (SX2023)