ค้นพบ “มหาเสมาทรงกลีบบัว” ฝัง 8 ทิศ อายุกว่าพันปีใกล้อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ผลงาน U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี กรรมการโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T พร้อมด้วย รศ.ดร.ชวลิต อธิปัตยกุล ประธานศูนย์การเรียนรู้พุทธศิลป์อีสาน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ลงพื้นที่บริเวณบ้านไผ่ล้อม ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เพื่อสำรวจการค้นพบใบเสมาขนาดใหญ่โดยผู้ได้รับการจ้างงานในโครงการ U2T ขณะลงพื้นที่เก็บข้อมูลตำบลเพื่อจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ บิ๊กดาต้า ในด้านเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ใกล้อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

เมื่อไปถึงพบลานกว้างบนพื้นราบ มีหลุมที่ขุดค้นพบใบเสมาจำนวน 8 หลุม โดยมีการขุดหลุมและล้อมรั้วไว้เพื่อป้องกัน บางหลุมพบใบเสมาที่มียอดโผล่ขึ้นมาบนผืนดิน ขณะที่บางหลุมยังไม่มีการขุดลงเพื่อสำรวจ ขณะเดียวกันมีหลุมที่ขุดแล้วค้นพบใบเสมาอยู่ในสภาพสมบูรณ์มีลักษณะเป็นหินทราย ทรงกลีบบัวทรงสูงขนาดกว่า 3 เมตร จำนวน 3 ใบเสมา

ทั้งนี้ รศ.ดร.ชวลิต กล่าวว่า บริเวณที่ขุดค้นพบใบเสมาน่าจะเป็นศาสนสถานหรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์หรือพื้นที่สำคัญๆ ของผู้คนในอดีตในอาณาบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท มีลักษณะเป็นการปักใบเสมาไว้ 8 ทิศ อยู่ในยุคทวารวดี อายุกว่า 1,000 ปี เมื่อสำรวจเจอได้แจ้งกรมศิลปากรให้มาทำการขุดสำรวจ แล้วจึงพบใบเสมา เมื่อเดือนตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา พื้นที่ที่พบใบเสมาซึ่งน่าจะเรียกมหาเสมามากกว่าเนื่องจากปักรวมกัน 3 ใบเสมาซ้อนกัน เพื่อแสดงอาณาเขตของศาสนสถานหรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการขุดค้นพบหลักหินหรือใบเสมาบริเวณตั้งแต่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทยาวไปถึง จ.หนองบัวลำภู ถึง 33 แห่ง

ด้านนายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า การค้นพบใบเสมาโดยผู้ได้รับการจ้างงานในโครงการ U2T ถือเป็นเรื่องที่ดีและเป็นรูปธรรม เพื่อจะนำไปต่อยอดทั้งด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมผ่านการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวใน อ.บ้านผือ ในอนาคต ที่สำคัญ การค้นพบครั้งนี้จะเป็นส่วนสนับสนุนข้อมูลเรื่องหลักหินหรือใบเสมาในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เพื่อใช้ในการประกอบเสนอยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในปี 2565 ต่อยูเนสโก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โบราณสถานเวียงกุมกามเสียหายหนักจากน้ำท่วม

7 ต.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามผลกระทบของสถานการณ์อุทกภัยที่มีต่อโบราณสถานสำคัญของจังหวัด โดยพบว่า พื้นที่เวียงกุมกามที่เป็นเมืองโบราณสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนา ที่ตั้งอยู่ในอำเภอสา

คนรักศิลปฯแย้งผู้ว่าฯทุบปูนปั้นครูทองร่วง ยันผู้เสียหายคือสาธารณะ เตือนผิดม.157

นายวรา จันทร์มณี เลขาธิการชมรมคนรักศิลปวัฒนธรรม อดีตเลขาฯศิลปินแห่งชาติ อังคาร กัลยาณพงศ์ โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีทุบปูนปั้นครูทองร่วง เอมโอษฐ ที่วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี (ตอนที่ 2) ระบุว่า

วธ.สั่งวางมาตรการลดเสี่ยงโบราณสถานตลอดฤดูฝน

13 ก.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณน้ำฝนที่มีจำนวนมากที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงราย รู้สึกห่วงใยชาวจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างมากที่ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด

มั่นใจวัดไชยวัฒนารามรอดน้ำท่วม

5 ก.ย.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร  กล่าวว่า จากการประชุมเตรียมแผนรับมือสถานการณ์น้ำร่วมกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวานนี้ ซึ่งกรมชลประทานได้แจ้งการปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยามากกว่า 1,500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เพื่อรองรับปริ

กำชับดูแลโบราณสถานลุ่มเจ้าพระยา หวั่นน้ำท่วม

28 ส.ค.2567 -น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ได้ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่รับน้ำภาคเหนือที่ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาจากหน่วยงานในสังกัด โดยกำชับดูแลพื้นที่โบราณสถานกับศาสนสถาน และพื้นที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

วธ.ตั้งศูนย์ประสานงานโบราณสถานน้ำท่วม

24 ส.ค. 2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยของโบราณสถานในพื้นที่ภาคเหนืออย่างใกล้ชิด ในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้รา