เราต่างรู้กันดีว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลง จากที่เราได้เห็นตามสื่อต่างๆ และเริ่มรับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนไปของโลก ในการก้าวเข้าสู่ “ยุคโลกเดือด” แล้วเราสามารถเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือได้อย่างไร รวมถึงจะอยู่อย่างไรให้ใจเป็นสุข บนเวทีแลกเปลี่ยนความคิดในงาน Sustainability Expo 2023 มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีการเปิดประเด็น “HOW TO LIVE BETTER LIFE IN AN EVER CHANGING WORLD? อยู่อย่างไร...ให้เป็นสุข? บนโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา”
โดยมี 4 แขกรับเชิญที่มาร่วมแชร์แนวคิดจากประสบการณ์ของตัวเองในหลากหลายมุมมอง เริ่มที่ คุณโน๊ต-วัชรบูล ลี้สุวรรณ นักแสดงหนุ่มหล่อและนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศสำหรับคนในเมืองที่มีแนวโน้มดีขึ้น เพราะเทคโนโลยีต่างๆ ที่ถูกคิดค้นมาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง แต่ยังกระจุกตัวในกรุงเทพฯ ขณะที่ผลกระทบกลับเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง โดยจากที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมให้มูลนิธิสืบนาคะเสถียรมา 8 ปี พบ 3 ปัญหาเรื้อรัง ทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำบนพื้นที่ป่าอนุรักษ์ การค้าสัตว์ป่า และผลกระทบของโลกร้อนที่ยังแก้ไม่ตก
“ทุกวันนี้ ผมเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้หลานของผม (ซึ่งตอนนี้อายุ 5 ขวบ) อยู่บนโลกนี้ได้ต่อไปโดยไม่ลำบาก โดยส่วนตัวผมไม่เชื่อว่าเราทุกคนจะมีพลังพอให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่เราทุกคนสามารถร่วมมือร่วมใจกันทำเพื่อกดดันรัฐบาลให้ร่วมผลักดัน สิ่งต่างๆ จึงจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว” คุณโน้ตกล่าวในฐานะนักกิจกรรมที่ร่วมขับเคลื่อนงานด้านสิ่งแวดล้อม
ก่อนจะทิ้งท้ายด้วยคำแนะนำในเรื่องของการใส่ใจดูแลสุขภาพ โดยแนะนำให้ทุกคนออกกำลังกาย เพราะมนุษย์วิวัฒนาการมาเพื่อเคลื่อนไหว เราควรหาเวลาไปสัมผัสกับป่ากับธรรมชาติ สำหรับร่างกายของคนเปรียบเหมือนสังคมแบคทีเรีย ซึ่งบางอย่างเราต้องไปรับจากธรรมชาติ แล้วจะช่วยให้เรามีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี นี่แหละวิธีอยู่ให้เป็นสุข
ขณะที่คุณพิภู พุ่มแก้ว ผู้ประกาศข่าว ได้กล่าวให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาที่น่ากังวล ว่าทุกวันนี้มันสายเกินไปแล้ว มันเป็นยุคของโลกเดือด อย่างที่ไต้หวันเพิ่งเจอพายุที่ลมแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ น้ำท่วม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และอีกเรื่องที่หลายคนมองข้ามไป คือเรื่องของโรคภัย อย่างโควิด-19 ที่ธรรมชาติจะปลดปล่อยไวรัสเพื่อคร่าชีวิตมนุษย์หรือลดอัตราการเกิด เพราะยิ่งมนุษย์มีมาก ธรรมชาติก็จะถูกทำลายมาก เกิดการใช้พลังงานมาก โควิด-19 ทำให้การเดินทางหยุดชะงักเพื่อให้โลกได้ฟื้นตัว ถ้าเราสังเกตเมื่อก่อนสถิติโรคร้ายจะมาในรอบ 50 ปี แต่เราจะเริ่มเห็นว่ามันลดลงเรื่อยๆ เป็น 25 ปี 10 ปี และปัจจุบันเหลือเพียง 5 ปี
“ตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้นมา มนุษย์ทำลายสายพันธุ์อื่นๆ ให้สูญพันธุ์ไปมหาศาล ทุกๆ วันที่ใช้ชีวิต คิดให้ตระหนัก ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร ลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะวันนี้เรื่องของโลกเดือดมันไม่ใช่แค่กระแส แต่เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้อง ‘ต้องทำ’ เพื่อยืดระยะเวลา ไม่ใช้มันสายเกินไป”
ก่อนจบด้วยคำคมทิ้งท้ายให้คิดว่า “โลกต้องอยู่ต่อไป เจนเจอเรชั่นใหม่ต้องได้โอกาส ทุกคนก็แค่ต้องคิด ต้องทำเพื่อคนอื่นมากกว่าตัวเองให้มากกว่าเดิม”
ทางด้านตัวแทนผู้ผลิตอย่าง คุณชเล วุทธานันท์ ผู้สร้างแบรนด์ PASAYA กล่าวถึงผลกระทบของปัญหาโลกร้อนว่า ไม่ใช่สิ่งที่น่ายินดี โลกร้อนกลายเป็นกระแสหลักที่อาจมีทางรอดหากทุกคนตระหนักและช่วยกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ถ้าเราทำได้มวลมนุษย์อาจอยู่ต่อไปอีก 2,000 ปี แต่ถ้าเราทำไม่สำเร็จ อนาคตของมนุษยชาติอาจสั้นลงจนไม่ถึง 200 ปีก็เป็นได้
“อย่าส่งต่อภัยพิบัติไปให้ลูกหลานเรา” วลีสั้นๆ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวมากมายพร้อมแฝงแง่คิดนานัปการ ต่อด้วยการเผยถึงเห็นความจริงบางเรื่องในระบบอุตสาหกรรม โดย คุณชเล ชี้ว่าทุกชีวิตต้องมีการบริโภค ซึ่งนำมาสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ แต่ผู้บริโภคเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความต้องการในการผลิต ผู้ผลิตต่างหากที่เป็นผู้กำหนดวิธีการทำว่าจะทำลายโลกมากน้อยแค่ไหน ดังนั้น ผู้หากผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมปล่อยคาร์บอนฯ ให้น้อยที่สุดก็จะเกิดข้อดีมากที่สุด และสุดท้าย ภาครัฐต้องมีนโยบายมาสนับสนุนและส่งเสริมผู้ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้เกิดการปฏิบัติในวงกว้างอันจะเกิดผลดีตามมาอีกมากมาย“ทุกวันนี้เราเพิ่งเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมมาแค่ประมาณ 150 กว่าปีเท่านั้นเอง แต่เรากลับทำลายโลกไปจนถึงจุดที่เรียกว่า Point of no return หรือจุดที่ย้อนกลับไม่ได้แล้ว ถ้าหากเราจะเอามันกลับมา เราต้องใช้สปีดที่เร็วกว่านี้ ดังนี้ ทุกคนจะต้องพยายามมากกว่าที่ทำ ลงมือทำทันที ทำชีวิตของเราให้เป็นประโยชน์ ไม่ใช่แค่ไม่ปลดปล่อยคาร์บอนฯ แต่เราต้องช่วยลดคาร์บอนฯ ด้วย”
ปิดท้ายที่ คุณวิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ วิชชุลดา ที่เผยผลกระทบที่ทุกคนกำลังได้รับผลจากวิกฤตโลกรวน โดยเฉพาะชุมชนภาคการเกษตรที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เมื่อผลผลิตไม่ออกตามฤดูกาล ชุมชนขาดรายได้ การประมงที่ไม่สามารถจับปลาได้เท่าเมื่อก่อนจนเกิดผลกระทบความมั่นคงทางอาหาร “แม้เรารับรู้ว่ามันสายเกินไปแล้ว แต่คำว่าสายเกินไปไม่ได้แปลว่าคุณต้องทิ้งและละเลยไป เรายังสามารถชะลอไม่ให้มันเกิดขึ้น เราต้องเริ่มทำเลย ทำให้ดีที่สุด ทำอย่างมีสติ บริโภคอย่างพอประมาณ ใช้ชีวิตอยู่บนความพอเพียง ในมุมของวิชชุลดา พอเพียงไม่ได้หมายความว่าห้ามใช้ ไม่ต้องใช้ แต่คือมีสติในการบริโภค ลองดู ลองใช้สิ่งที่เรามี ทำสิ่งที่เราทำได้ก่อน แล้วจะเกิดความสมดุลตามมา อย่างเช่น ทุกคนมีเสื้อผ้า มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือข้าวของที่ไม่ได้ใช้แล้ว เราลองเอาสิ่งเหล่านี้มามิกซ์แอนด์แมตช์ให้เกิดการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ของทุกอย่างไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่หรือตามเทรนด์เสมอไป ทุกคนสามารถอัพไซเคิลนำของที่มีอยู่มาทำให้เกิดสิ่งใหม่ เป็นการลดขยะ ช่วยโลกได้อีกทางหนึ่งนั่นเอง”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
SX2023 พลังแห่งความร่วมมือ ต้นแบบ Platform ความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ปลุกกระแสเยาวชน และผู้เข้าชมงาน มากกว่า 3 แสนคน
นับเป็นต้นแบบของ “Collaboration platform” พลังแห่งความร่วมมือด้านความยั่งยืนระดับโลก ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน สำหรับงาน Sustainability Expo 2023 (SX2023)
เยาวชนตัวแทนคนรุ่นใหม่ สร้างสรรค์งานศิลปะ “ด้วยมือเรา” จากสื่อผสม เจ้าของรางวัล CEO AWARD จากโครงการศิลปกรรมช้างเผือก
โครงการ “ศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 12 ภายใต้หัวข้อ “รักโลก” ที่จัดโดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเวทีที่ให้เหล่าศิลปิน
ร่วมกันสู้กับขยะในทะเลเพื่อคืนความหลากหลายทางชีวภาพแก่โลก
นอกจากปัญหาโลกร้อนที่กำลังจะเข้าสู่ยุคโลกเดือดที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมากแล้ว ปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกประเด็นหนึ่งที่ทุกภาคส่วนพยายามอย่างหนักในการร่วมกันบรรเทาความรุนแรง
ทำความ “ต่าง” ให้เป็นความ “ปกติ” ชุมชนชาติพันธุ์กับการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมและธรรมชาติในท้องถิ่น
ทุกประเทศทั่วโลกไม่ได้ประกอบไปด้วยประชากรเพียงกลุ่มเดียว แต่สร้างขึ้นจากกลุ่มชาติพันธุ์มากมายที่มีความหลากหลายทั้งในด้านภาษา วัฒนธรรม และความเป็นอยู่
พุทธศาสนาปูรากฐานที่แข็งแรงสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง
หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ปูรากฐานและขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่หลายคนอาจไม่ทันสังเกต คือแนวคิดและหลักปฏิบัติทางพุทธศาสนา
อนันต์ วาร์ม่า ช่างภาพเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก เอ็กซ์พลอเรอร์ เด็กชายที่ฝันอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ผันตัวเองมาเป็นช่างภาพ นำเสนอเรื่องราวชีวิตสัตว์ในเชิงวิทยาศาสตร์
อนันต์ วาร์ม่า เคยเป็นเด็กชายตัวน้อยที่ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง และใฝ่ฝันที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ เพราะเชื่อว่ามันคืออาชีพที่จะช่วยให้เขาได้ใช้ชีวิตอยู่กับกิจกรรม