กรมชลประทาน ร่วมกับ ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำวังโตนด มีแผนพัฒนา โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด จังหวัดจันทบุรี เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งเพื่ออุปโภค บริโภค การใช้ในภาคการเกษตร รวมไปถึงอนุรักษ์ผืนป่า และสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ดังนั้นประโยชน์ของการพัฒนาโครงการดังกล่าว จึงมีความสำคัญต่อการเพิ่มศักยภาพแหล่งกักเก็บน้ำ และเพิ่มพื้นที่ชลประทาน ตลอดจนการบรรเทาปัญหาอุทกภัยและปัญหาคุณภาพน้ำในพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำ ที่เกิดขึ้นบริเวณ อ.ท่าใหม่ อ.นายายอาม และ อ.แก่งหางแมว ที่จะมีส่วนสำคัญต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม
บนพื้นที่ที่จะได้รับประโยชน์ของระบบประทานของโครงการทั้งหมดประมาณ 69,468 ไร่ ซึ่งลุ่มน้ำคลองวังโตนด เป็นลุ่มน้ำย่อยในลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก ครอบคุลมพื้นที่ 3 อำเภอในจังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ประมาณ 1,652 ตร.กม. ปริมาณน้ำท่า รายปีเฉลี่ย 1,237 ล้าน ลบ.ม.เพื่อการแก้ไขปัญหาของสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีความลาดชันสูง ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนจะมีการใช้พื้นที่เพาะปลูกไม้ผลเป็นหลัก ขณะที่พื้นที่ตอนล่างจะประกอบอาชีพประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ดังนั้นเมื่อโครงการฯดำเนินการแล้วเสร็จจะเป็นกลไกที่มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ผลที่ได้จากการพัฒนาโครงการแห่งนี้ ทุกภาคส่วนมั่นใจว่า จะสามารถเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุน เพื่อการอุปโภค และบริโภค และยังเป็นพื้นที่สำรองน้ำดิบ ให้การประปาส่วนภูมิภาค จ.จันทรบุรี ถึง 15 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี สามารถให้บริการให้กับประชาชนได้ ถึง 99,067 ครัวเรือน และยังสามารถเป็นแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคตะวันออกที่ได้ถึงปี ละ 70 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ยังสามารถบรรเทาความรุนแรง หรือการชะลอน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก ที่มักเกิดอุทุกภัยครอบคลุมพื้นที่ 5,575 ไร่
นอกจากนี้ขีดความสามารถอ่างเก็บน้ำ จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ ที่จะส่งผลให้ฟื้นฟูระบบนิเวศทางธรรมชาติ โดยเฉพาะพื้นที่ป่า มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ไม่เพียงเป็นแหล่งน้ำเพื่อการผลักดันน้ำเค็มในช่วงฤดูแล้ง ยังเป็นการเพิ่มแหล่งน้ำเพื่อสัตว์ป่าและพันธ์พืชในพื้นที่อีกด้วย
โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด จังหวัดจันทบุรี จึงเป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำประเภทอ่างเก็บน้ำ ที่มีความสำคัญและจำเป็นต้องดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2557 ในขั้นการเตรียมความพร้อมของโครงการและเตรียมพัฒนาโครงการให้แล้วเสร็จต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความยั่งยืนของการพัฒนาลุ่มน้ำเลย
ลุ่มน้ำเลย เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำเลยเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่มีต้นน้ำอมาจากอำเภอภูหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงลาดชัน
เอาแล้ว! เขื่อนเจ้าพระยากลับมาเพิ่มการระบายน้ำอีกระลอก
เขื่อนเจ้าพระยากลับมาเพิ่มระบายน้ำขึ้นอีกรอบ หลังฝนตกทำให้แม่น้ำเจ้าพระยา-แม่น้ำสะแกกรัง เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ตอนบนของประเทศ ฝนลดลง ชป.เดินหน้าเก็บกักน้ำปลายฤดูฝน สำรองไว้ใช้แล้งหน้าให้มากที่สุด
เมื่อวันนี้ 15 ต.ค. 67 ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (swoc) อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำกู กรมชลประทาน ถนนสามเสน ผศ.ดร.สิตางศ์ พิสัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา
น้ำทะเลหนุน! กรมชลฯ เฝ้าระวังระดับน้ำ 7 พื้นที่เสี่ยงลุ่มเจ้าพระยา
กรมชลประทาน คาดการณ์ระดับน้ำลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง 3 วันล่วงหน้า (13-15 ต.ค. 67)
'เขื่อนเจ้าพระยา' ลดระบายน้ำต่อเนื่อง พื้นที่ลุ่มต่ำ 4 จ. ท่วมน้อยลง
แม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ และแม่น้ำสะแกกรัง จ.อุทัยธานี มีปริมาณลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท
สั่งปรับลดการระบายน้ำเขื่อนป่าสักฯ ลดผลกระทบลุ่มเจ้าพระยา
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักชลสิทธิ์ ปรับลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ให้สอดคล้องกับการคาดการณ์น้ำท่าที่จะไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักฯ