eTree ขึ้นทะเบียนแหล่งปลูกไม้ถูกกฎหมาย เพื่อสนับสนุนให้เกิดการค้าไม้อย่างยั่งยืนในประเทศไทย

กรุงเทพมหานคร,ประเทศไทย : ปัจจุบันกรมป่าไม้ปรับกลยุทธ์การอนุรักษ์และเพิ่มพื้นที่ป่าโดยใช้แพลตฟอร์ม eTree สนับสนุนปลูกป่าเศรษฐกิจและการค้าไม้ที่ถูกกฎหมาย พร้อมช่วยเกษตรกรจัดการป่าปลูกได้ครบวงจร  สนับสนุนให้เกิดการค้าไม้อย่างยั่งยืน ตั้งเป้าเพิ่มการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม่น้อยกว่า 40% ในปี 2580

นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ เปิดเผยว่า ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในหลายมิติ ซึ่งรวมถึงเป้าหมายการอนุรักษ์และเพิ่มพื้นที่ป่าให้มีไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวร้อยละ 15 ของพื้นที่ประเทศ ภายในปี 2580 ขณะที่สถานการณ์ในปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าอยู่ที่ร้อยละ 31.68 เท่านั้น การเพิ่มพื้นที่ป่าอีกร้อยละ 9 หรือ 27 ล้านไร่ จึงเป็นความท้าทายของหน่วยงานรัฐว่าจะวางยุทธศาสตร์ในการดำเนินการอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างยั่งยืน ที่ผ่านมาประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายในการรักษาพื้นที่ป่าจากการบุกรุกทำลาย ทั้งการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและการนำพื้นที่ป่าไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรกรรม และแม้จะมีความพยายามในการเพิ่มพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่องตลอด 10 ปีที่ผ่านมา แต่ก็เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นกรมป่าไม้จึงได้นำระบบ eTree แพลตฟอร์มดิจิทัลมาใช้ เพื่อช่วยในการลงทะเบียนต้นไม้และบริหารจัดการไม้ ส่งเสริมให้เกิดป่าเศรษฐกิจและป่าชุมชน พร้อมยังช่วยปลดล็อกให้เกิดการปลูกและการตัดจำหน่ายอย่างถูกกฎหมาย มีใบอนุญาตรับรองถูกต้อง ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าให้ถึงเป้าหมาย

กรมป่าไม้และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์ม eTree ขึ้น เพื่อรองรับการลงทะเบียนการปลูกไม้เศรษฐกิจสำหรับประชาชนที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าตามพระราชบัญญัติสวนป่าได้ ระบบ eTree จะอำนวยความสะดวกเกษตรกร ทั้งในด้านบริหารจัดการไม้ในที่ดินและจัดทำหนังสือสำแดงความถูกต้องด้วยตนเอง การตัดไม้ที่ขึ้นในที่ดินและนำขนย้ายไปจำหน่าย โดยมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินสำหรับซื้อขายเป็นรายต้น/ท่อน และแบบน้ำหนัก/ปริมาตร จากข้อมูลต้นไม้ที่ได้ลงทะเบียนไว้ นอกจากนี้ ระบบดังกล่าว ยังได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่า หากจัดทำข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะสามารถลดความเสี่ยงของไม้และสินค้าไม้ผิดกฎหมายที่จะเข้ามาหมุนเวียนในตลาด และสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งกำเนิดได้ เมื่อไม้และสินค้าไม้ในตลาดนั้นมาจากกระบวนการปลูกและทำไม้ที่ถูกกฎหมาย ตลาดสินค้าไม้จะขยายตัวและเกิดการค้าไม้ที่ยั่งยืนขึ้นในประเทศไทย

“การตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งกำเนิด จะทำให้ผู้ซื้อและผู้ประกอบการมั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาจากไม้ที่ปลูกและขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ก่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานของการค้าไม้ เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงจากการค้าโดยไม่ต้องลักลอบตัดไม้ ผู้ประกอบการสามารถทำการค้าได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมการค้าไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละหลายหมื่นล้านบาทและยังช่วยส่งเสริมให้เกิดการปลูกป่าเศรษฐกิจและป่าชุมชน บรรลุเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่ป่าได้ตามเป้าหมายไม่น้อยกว่า 40% และก่อให้เกิดการค้าไม้อย่างยั่งยืนขึ้นในประเทศไทย” อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าว

นายจงสถิตย์ อังวิทยาธร ผู้ประสานงานโครงการค้าไม้ยั่งยืนของประเทศไทยใน UN-REDD กล่าวว่า eTree หรือระบบการรับรองการขึ้นทะเบียนไม้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นหนึ่งในแนวทางส่งเสริมให้เกิดการปลูกป่าเศรษฐกิจและป่าชุมชน ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มพื้นที่ป่าและลดการตัดไม้ทำลายป่าอย่างได้ผล ส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมการค้าไม้ที่ถูกกฎหมายอย่างถูกต้องและยั่งยืน องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และ โครงการความร่วมมือแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา (UN-REDD) จึงร่วมกับกรมป่าไม้ผลักดันให้ eTree เป็นแพลตฟอร์มหลักในการขึ้นทะเบียนไม้ที่ปลูกในชุมชน ในป่าชุมชน และในป่าเศรษฐกิจ

นายบุญสุธีย์ จีระวงค์พานิช ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจการป่าไม้ กรมป่าไม้ กล่าวว่า เกษตรกรสามารถขึ้นทะเบียนไม้ที่ปลูกได้ 2 ระบบ คือ ขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าผ่านระบบสวนป่าออนไลน์ และ ขึ้นทะเบียนระบบ eTree เพื่อสำแดงการเพาะปลูกไม้อย่างถูกต้องบนที่ดินกรรมสิทธิ์ของตนเอง ซึ่งแพลตฟอร์ม eTree จะช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดการข้อมูล การทำเอกสารสำแดงตนเองผ่านระบบออนไลน์สำหรับเกษตรกรและชุมชน เพื่อใช้ในการยืนยันเอกสารสิทธิ์ทางการค้าในเอกสารที่ดิน แหล่งกำเนิดของไม้และผลิตภัณฑ์ป่าไม้ ช่วยในการเตรียมเอกสารเบื้องต้นสำหรับใช้ในการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน เช่น หลักฐานการถือครองที่ดิน ข้อมูลผลิตภัณฑ์ไม้ สัดส่วนการใช้ประโยชน์และสภาพพื้นที่ป่า รวมถึงช่วยจัดทำฐานข้อมูลต้นไม้เพื่อเป็นหลักฐานในการเคลื่อนย้าย การค้าขายผลิตภัณฑ์ไม้ และการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน รวมถึงให้คำแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากต้นไม้ในแปลงปลูก ตลอดจนการพัฒนาการจัดทำรายงานและ QR Code เพื่อแสดงผลแหล่งที่มา นอกจากนี้แพลตฟอร์ม eTree ยังมีประโยชน์ในการช่วยเก็บข้อมูลความต้องการใช้งานจริง จากภาคประชาชนผู้เป็นกลุ่มเป้าหมาย ส่งเสริมการเชื่อมข้อมูลจากภาคประชาชน ไปสู่ระบบ RFD-Single window ช่วยให้กรมป่าไม้สามารถเข้าถึงและนำหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนไปสู่ชุมชน ภาคประชาชนง่ายยิ่งขึ้น และช่วยให้กรมป่าไม้เข้าถึงระบบสารสนเทศของชุมชนได้ดียิ่งขึ้น

“ปัจจุบัน พบว่ามีการลงทะเบียนต้นไม้ในระบบ eTree มากกว่า 580,000 ต้น และพื้นที่เพาะปลูกกว่า 30,000 ไร่ โดยมีผู้ลงทะเบียนในระบบแล้วมากกว่า 5,000 คน ดังนั้น การนำระบบ eTree มาใช้ จึงเป็นทางออกของประเทศในการสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานให้กับตลาดการค้าไม้ นำไม้ที่ปลูกบนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์เข้าสู่ระบบอย่างถูกกฎหมาย ลดการลักลอบตัดไม้ ส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมการค้าไม้อย่างถูกต้อง เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างธุรกิจต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่อุปทาน และสนับสนุนให้เกิดการค้าไม้อย่างยั่งยืนในประเทศไทย”

นายธนพล  ต่อสิทธิเดชกุล : National Consultant on Tree Inventory and Forest Product กล่าวถึงแพลตฟอร์ม eTree ที่แบ่งการใช้งานเป็น 2 ระบบ

ระบบแรกคือ ระบบจัดการป่าอย่างยั่งยืน เป็นระบบที่พัฒนาตามเกณฑ์และตัวชี้วัดการจัดการสวนป่า และป่าชุมชนอย่างยั่งยืน  ในเกณฑ์ ข้อ 1.1 หลักฐานแสดงสิทธิถือครองที่ดิน และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ชัดเจน 2.2 การกำหนดขนาดและสัดส่วนของพื้นที่ป่ามีความเหมาะสม 2.3 มีแผนที่ แผนที่สังเขป ผังป่า และป้ายแสดงขอบเขตพื้นที่ที่จัดการอย่างชัดเจน 4.1 มีข้อมูลกำลังการผลิตของพื้นที่ป่าที่จัดการ 4.2 มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติและรายได้จากการใช้ประโยชน์ผลผลิตและบริการจากพื้นที่ป่าที่จัดการดังที่แสดงให้ทุกท่านได้รับชม

ส่วนระบบที่ 2 คือระบบสำแดงความถูกต้องตามกฎหมายด้วยตนเอง การตัดและการนำเคลื่อนที่ไม้
(Self-Declaration) ดังจะแสดงให้ทุกท่านได้รับชม”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทนายอนันต์ชัย' ไล่บี้คนด่า-กล่าวหาพระ ว.วชิรเมธี ออกมาขอโทษ อย่าเงียบเป็นเป่าสาก

นายอนันต์ชัย ไชยเดช ทนายความ มูลนิธิทนายกองทัพธรรม โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า วันนี้ กรมป่าไม้ ชี้แจงแล้ว ท่าน ว.วชิรเมธี ไม่บุกรุกป่าไม้

เคลียร์ชัด! 'กรมป่าไม้' ตรวจสอบแล้ว 'ไร่เชิญตะวัน' พระ ว.วชิรเมธี ไม่บุกรุกป่า

นายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ ในฐานะโฆษกกรมป่าไม้ กล่าวว่า จากกรณีที่สาธารณชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจและติดตามข่าวการอนุญาตใช้ประโยชน์และอยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยปุย

โค่นสวนยางพาราทิ้ง 407 ไร่ ในเขตป่าสงวนฯ ตรวจพบตั้งแต่ปี 58 แต่ไม่มีผู้ต้องหา

นายวิทยา ณวิพันธ์ ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขาพิษณุโลก สั่งการให้ นายธวัชชัย ปุริเกษม ผอ.ส่วนป้องรักษาป่าและควบคุมไฟป่าและนายธีรพล กาญจนโกมล เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน ทำหน้าที่หัวหน้าชุดปฏิบัติการร่วมกับหัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่า

กรมป่าไม้ อนุรักษ์ “พลองใหญ่” ต้นไม้ทรงปลูกในสมเด็จพระพันปีหลวง เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอดพรรณไม้ให้เพิ่มมากขึ้น

การอนุรักษ์พรรณไม้มีค่าให้คงอยู่ และสามารถขยายพันธุ์ได้มากขึ้น ถือเป็นหนึ่งในการดำเนินงานสำคัญที่จะทำให้พรรณไม้มีค่าได้เจริญเติบโตและงอกงามสมบูรณ์ ดังนั้นในปี 2567 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ จึงได้ร่วมกับ

กรมป่าไม้ ชวนคุณลูกพาคุณแม่ท่องเที่ยว 3 ป่านันทนาการ ฟรี! เนื่องในวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหานี้

นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2567

'พัชรวาท' สั่ง 3 ข้อเร่งด่วน แนวทางแก้ปมพิพาทป่าทับลาน

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า จากกรณีกรณีปัญหาพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานที่มีประชาชนแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางนั้น