วันที่ 4 ตุลาคม 2566 เวลา 13.30 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ นายสถิรยุทธ แสงสุวรรณ รองประธานบริษัทฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด และคณะ จำนวน 24 คน ประกอบด้วย บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ดและมาสด้า นิคมอุตสาหกรรมิสเทิร์นซีบอร์ด จ.ระยอง สหพันธ์แรงงานปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์แห่งประเทศไทย สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมกระจกแก้วและเคมีภัณฑ์แห่งประเทศไทย ภายใต้บริษัทเอจีซี แฟลทกลาส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทผู้ผลิตกระจกรายแรกของประเทศไทย มีสาขาตั้งอยู่ที่ จ.สมุทรปราการ ชลบุรี และระยอง สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ภายใต้บริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) บริษัทผู้ผลิตเส้นใยเรยอนแห่งแรกของประเทศไทย จ.อ่างทอง ชมรมผู้บริหารแรงงานสัมพันธ์ภาคตะวันออก และสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นกลุ่มสหภาพแรงงานตามโครงการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตกลุ่มแรงงานในระบบภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในโอกาสเข้าพบเพื่อแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยมี นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมประสงค์ รณะนันทน์ ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน
โอกาสเดียวกันนี้ กลุ่มแรงงานดังกล่าวยังได้หารือเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ ด้านแรงงานเพื่อประสานความร่วมมือและการทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานที่มุ่งเน้นให้แรงงานมีทักษะดี มีงานทํา หลักประกันทางสังคมเด่น เน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
โดยนายพิพัฒน์ฯ ยังได้รับฟังข้อเสนอแนะด้านแรงงานของสหภาพแรงงานแต่ละแห่ง เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมให้กลุ่มแรงงานในระบบภาคการผลิตได้มีความเข้มแข็งได้รับการพัฒนาศักยภาพแรงงานในสถานประกอบการให้มีความรู้และทักษะด้านการจัดการสุขภาพกาย สุขภาพใจ และการเงิน รวมถึงพัฒนาทักษะด้านการประกอบอาชีพ เพื่อมีรายได้เพิ่มและนำไปสู่การบรรเทาหนี้ครัวเรือนให้ลดลง สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของโครงการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตกลุ่มแรงงานในระบบภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
"พิพัฒน์“ รุก! เพื่อแรงงาน เพิ่มรายได้กองทุนฯ พบบริษัทจัดการสินทรัพย์สวีเดน กางแผนผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ย 8 -10% ต่อปี เพื่อกองทุนยืน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ
มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร
'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน
‘พิพัฒน์’ นำกระทรวงแรงงานสัญจร แม่สอด หนุนฝึกอาชีพเสริมรายได้ ร่วมเอกชนรับสมัครงาน พร้อมส่งเสริมความปลอดภัย สวัสดิการสิทธิประกันสังคม
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการกระทรวงแรงงานพบประชาชน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
“พิพัฒน์” กำชับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ร่วมสร้างเกราะป้องกันในสถานประกอบการ ดูแลคนทำงาน ลดการสูญเสีย มุ่งเป้าลดอันตรายร้ายแรง 1:1,000 คน
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “12 พฤศจิกายน วันเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ประจำปี พ.ศ.2567” ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 .