ผู้ประกอบการ เฮ! ครม.เห็นชอบขยายเวลาแรงงานข้ามชาติที่ยื่นบัญชีรายชื่อแล้วอยู่ต่อและทำงานได้ถึง 13 ก.พ. 68 และขยายเวลาให้แรงงาน MOU ครบ 4 ปี ทำงานได้ถึง 30 เม.ย. 67 พร้อมลดค่าวีซ่าเหลือ 500 บาท

วันที่ 3 ตุลาคม 2566 ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ใน 3 ประเด็น 1.ให้แรงงานข้ามชาติตามมติครม.เมื่อวันที่ 5 ก.ค.66 ที่นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อแล้ว ดำเนินการตามแนวทางที่มติครม.กำหนด เพื่ออยู่ต่อและทำงานได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 2.ขยายเวลาให้แรงงาน MOU ที่วาระจ้างงานครบ 4 ปี ทำงานได้ถึง 30 เม.ย. 67 และ 3.ลดค่าวีซ่า จาก 2,000 บาท เหลือ 500 บาท

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในวันนี้กระทรวงแรงงานได้เสนอ เรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และส่งเสริมสิทธิประโยชน์ของแรงงาน และเรื่องการปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา และค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป สำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาเพื่อทำงานในราชอาณาจักร ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยมุ่งหวังให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทย ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 คลี่คลายเป็นไปอย่างราบรื่น นายจ้าง สถานประกอบการมีแรงงานต่างชาติเพียงพอกับความต้องการในการขับเคลื่อนกิจการ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายจากค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และช่วยให้นายจ้างสามารถจ้างแรงงานคนเดิมที่มีประสบการณ์ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งคำนึงถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของแรงงานข้ามชาติให้อยู่ในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์อย่างเหมาะสม โดยสาระสำคัญที่ครม.เห็นชอบ มี 3 ประเด็น ดังนี้

1. ผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติ ตามมติครม.เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ที่นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการฯ ต่อกรมการจัดหางานแล้ว ภายใน 31 ก.ค. 66 ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 1,000,000 คน โดยต้องดำเนินการตามแนวทางที่มติครม.กำหนด เพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและทำงานได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568

2.ผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่เข้ามาทำงาน ตาม MOU ซึ่งวาระการจ้างงานครบ 4 ปี (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 ธันวาคม 2566) อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและทำงานเป็นการชั่วคราว ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 โดยระหว่างผ่อนผันให้นายจ้างขออนุญาตนำแรงงานข้ามชาติที่ได้รับการผ่อนผัน เข้ามาทำงานตาม MOU และให้แรงงานเดินทางกลับประเทศต้นทางและเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยในโอกาสแรกโดยไม่ต้องมีระยะเวลาพัก 30 วัน

3. ลดค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ครั้งละ 2,000 บาท เหลือ 500 บาท และค่าธรรมเนียมคำขออนุญาต
เพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป จากครั้งละ 1,900 บาท เหลือครั้งละ 500 บาท ทั้งสำหรับแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานตาม MOU และแรงงานข้ามชาติที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ครม.ให้ความเห็นชอบในหลักการร่างประกาศของกระทรวงแรงงาน จำนวน 2 ฉบับ รวมถึงอนุมัติในหลักการร่างประกาศของกระทรวงมหาดไทย จำนวน 2 ฉบับ และร่างกฎกระทรวงมหาดไทย จำนวน 1 ฉบับ รวม 5 ฉบับ ทั้งนี้นายจ้างที่มีแรงงานข้ามชาติตามมติครม. เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 66 และแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงาน ตาม MOU ซึ่งวาระการจ้างงานครบ 4 ปี ที่ได้รับการผ่อนผัน สามารถดำเนินการได้ทันทีที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานมีผลบังคับใช้ ส่วนเรื่องการปรับลดค่าธรรมเนียมวีซ่า จะต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ต่อไป สำหรับนายจ้าง/สถานประกอบการที่จ้างแรงงานข้ามชาติขอให้ติดตามข่าวสารจากกรมการจัดหางานอย่างใกล้ชิด ที่เว็บไซต์กรมการจัดหางาน doe.go.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี

อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย

รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย

"พิพัฒน์“ รุก! เพื่อแรงงาน เพิ่มรายได้กองทุนฯ พบบริษัทจัดการสินทรัพย์สวีเดน กางแผนผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ย 8 -10% ต่อปี เพื่อกองทุนยืน

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี

‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ

มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร

'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน