ยึดมั่นแนวพระราชดำริ สู่ “ศูนย์เรียนรู้” ทำเกษตรแบบผสมผสาน

ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นพื้นที่เขตอับฝน ในอดีตมีการตัดไม้เพื่อทำถ่านขายโดยไม่มีการปลูกทดแทน อีกทั้งราษฎรส่วนใหญ่ปลูกสับปะรดเพื่อส่งโรงงานสับปะรดกระป๋อง มีการใช้สารเคมีจำนวนมากเพื่อเร่งการเจริญเติบโต เพื่อให้ผลผลิตได้ตามขนาดที่โรงงานต้องการ ดินขาดการบำรุงรักษาทำให้ดินเสื่อมสภาพประกอบกับขาดการบำรุงรักษาที่ถูกต้องทำ ทำให้คุณภาพของดินต่ำลง ประกอบกับเครื่องจักรกลด้านการผลิตยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร แรงงานคนจึงมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมนี้ ราษฎรจำนวนไม่น้อยจึงอพยพย้ายถิ่นจากสถานที่ต่าง ๆ เข้ามาเป็นแรงงานในไร่สับปะรด หนึ่งในนั้นก็มีชาวไทยมุสลิมบ้านคลองแขก ตำบลปลายโพงพาง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และเมื่อโรงงานอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องย้ายฐานการผลิตไปยังจังหวัดอื่น ราษฎรส่วนนี้ก็ยังคงทำกินในพื้นที่เดิม แต่ด้วยสภาพดินที่เสื่อมโทรมจึงไม่ประสบความสำเร็จในการเพาะปลูกนัก

ในปี พ.ศ.2526 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ขึ้นเพื่อศึกษาวิจัย ทดลองการแก้ไขปัญหาของพื้นที่โดยเฉพาะเรื่องดินและน้ำ พร้อมจัดสรรที่ทำกินให้แก่ราษฎรในพื้นที่ที่อยู่บริเวณรอบโครงการฯ ครอบครัวละ 11 ไร่ จำนวน 36 ครอบครัว

นายสายันต์ ภักดีเจริญ หนึ่งในผู้ที่ได้รับมรดกตกทอดมาจากรุ่นพ่อที่เป็นหนึ่งในสมาชิกหมู่บ้าน 36 ครอบครัว เปิดเผยว่า ครอบครัวภักดีเจริญ ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณในครั้งนั้นด้วย พื้นที่ที่ได้รับแบ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้บริเวณอ่างเก็บน้ำที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริให้สร้างอ่างเก็บน้ำไว้ก่อนที่จะให้ราษฎรเข้าใช้ประโยชน์ จำนวน 5 ไร่ และพื้นที่ไกลน้ำจำนวน 6 ไร่ ซึ่งต่อมากรมชลประทานได้วางระบบท่อน้ำระบบจ่ายน้ำให้ราษฎรภายในหมู่บ้านจึงทำให้มีน้ำเพื่อใช้ทำการเกษตร ทุกคนจึงเปลี่ยนอาชีพทำไร่สับปะรดมาปลูกพืชอื่นๆ สำหรับตัวเองได้นำแนวพระราชดำริเรื่องการทำเกษตรแบบผสมผสานและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการทำเกษตร โดยมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มาให้คำแนะนำในการปลูกพืชผักและไม้ผลชนิดต่าง ๆ ทั้งไม้ผล พืชผักสวนครัวตามฤดูกาล มีรายได้ทุกวัน ในส่วนพื้นที่ไกลน้ำก็เลี้ยงแพะ โคนมและโคขุน ทำให้ปัจจุบันนายสายันต์ ภักดีเจริญ ประสบความสำเร็จในการดำรงชีพมีรายได้เพียงพอไม่มีหนี้สิน เป็นแบบอย่างให้แก่ชุมชนจนหลายครอบครัวนำไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่ของตนเอง

“ถ้าเราทำการเกษตรแบบผสมผสานนำแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชผักหมุนเวียน ปลูกไม้ให้ผลผสมผสานกันในแปลงเดียว พื้นที่ 5 ไร่ ก็มีกินมีใช้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังสามารถเลี้ยงสัตว์เอาผลผลิตจากสัตว์ มาบริโภคและขายได้ เช่น เลี้ยงไก่ ได้ทั้งเนื้อไก่ ไข่ไก่ และมูลไก่ เป็นการลดรายจ่ายให้ครอบครัวเป็นอย่างดี แถมมีรายได้ ทั้งรายวัน รายเดือน และรายปี โดยไม้ผลจะเป็นรายได้รายปี อาทิ มะม่วง ขนุน ส้มโอ ฝรั่ง และอีกหลายๆ อย่างที่ปลูกในพื้นที่เดียวกันเป็นการผสมผสานกัน รายได้รายเดือนก็จะมีพืชไร่ เช่น อ้อยคั้นน้ำ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง ส่วนรายวันก็มาจากพืชผักหมุนเวียนที่ปลูก ตอนนี้รายได้วันละประมาณ 300 กว่าบาท ก็พอเลี้ยงชีพได้ นอกจากนี้ยังทำสมุนไพรป้องกันและกำจัดศัตรูพืช 3 สาบ ประกอบด้วย สาบเสือ สาบแร้ง สาบกา ในอัตรา 3 ส่วน นำมาบด แล้วผ่านกระบวนการกลั่น จะได้สาร 3 สาบ เพื่อกำจัดและป้องกันแมลงซึ่งจะใช้ได้ผลดี ลดต้นทุนค่าสารเคมี ปลอดภัยทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค” นายสายันต์ ภักดีเจริญ กล่าว

ปัจจุบันแปลงเพาะปลูกของนายสายันต์ ภักดีเจริญ ได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการทำการเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อให้เกษตรกรและผู้คนโดยทั่วไปเข้าศึกษาเรียนรู้ นำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ตนเองต่อไป

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ได้นำคณะที่เข้าร่วมประชุมโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริสัญจร ปี 2566 ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทั้ง 6 แห่ง และศูนย์สาขาจากทั่วประเทศ เข้าศึกษา ดูงาน ณ ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ เพื่อนำไปเป็นแบบอย่างในการขยายผลการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ และด้านการบริหารจัดการโดยเกษตรกร พร้อมร่วมกำหนดทิศทางการดำเนินงานให้เหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน เป็นไปตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สืบไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขยายผลพื้นที่และจำนวนประชากรรับประโยชน์ องค์ความรู้จากศูนย์ศึกษาฯ และศูนย์สาขา

ในปี 2567 สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เดินหน้าสร้างความอยู่ดี กินดี ของประชาชนไทยโดยการสร้างต้นแบบเกษตรกรที่ได้รับองค์ความรู้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และศูนย์สาขาฯ ที่ได้นำผลจากการศึกษา ทดลอง

เอกลักษณ์ คน กปร. ตัวคูณ ร่วมสืบสาน รักษา และต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สำนักงาน กปร. เดินหน้า 10 ปี ต่อเนื่อง โครงการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ (นบร.) ก้าวสู่รุ่นที่ 12 และหลักสูตรนักพัฒนาตามแนวพระราชดำริ (พพร.) รุ่นที่ 11 ภายใต้โครงการ RDPB Talk ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

43 ปี "อันเนื่องมาจากพระราชดำริ" สร้างสุข สู่รอยยิ้ม และความยั่งยืน

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศนั้น มีส่วนสำคัญต่อการเสริมแผนงานต่าง ๆ ของรัฐบาลและเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง อันเป็นผลจากพระราชกรณียกิจ

'หมอเน๋ง' ร่วมเปิดศูนย์เรียนรู้ดิจิทัล ดึงอัจฉริยะออทิสติกพร้อมยกระดับชีวิต

เข้าถึงบทบาทในจอกับการแสดงหมออัจฉริยะ ในซีรีส์ “Good Doctor หมอใจพิเศษ” จากค่ายทรู ซีเจ ครีเอชั่นส์ ที่จ่อคิวออนแอร์ทางทรูไอดีเร็วๆ นี้ พอนอกจอก็อดไม่ได้ที่จะเข้าอกเข้าใจบุคคลออทิสติก สำหรับนักแสดงหนุ่มที่พ่วงตำแหน่งคุณหมอ อย่าง หมอเน๋ง-ศรัณย์ นราประเสริฐกุล ที่ล่าสุดเข้าร่วมกิจกรรมดีๆ เปิด “ศูนย์เรียนรู้ดิจิทัลเพื่อบุคคลออทิสติกและครอบครัว” (Autism Digital Learning Center) เมื่อวันออทิสติกโลก 2 เมษายน ที่ผ่านมา

“ดิน น้ำ ลม ป่า” สมบูรณ์พูนสุข ด้วยการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

การพัฒนาประเทศหลากหลายโครงการที่เกี่ยวกับดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ ประมง และปศุสัตว์ ปัจจัยพื้นฐานในการประกอบอาชีพของประชาชนชาวไทย ได้รับการขยายผลก่อเกิดความอุดมสมบูรณ์เอื้อต่อการดำรงชีพสร้างมิติอยู่ดีมีสุขอย่างกว้างขวาง

พร้อมเต็มพิกัด งาน หญ้าแฝกนานาชาติ ครั้งที่ 7

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ร่วมกับสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา จัดการประชุมหญ้าแฝกนานาชาติ ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 29 พค. - 1