ชป.เข้ม จัดจราจรน้ำชี-มูล ลดผลกระทบประชาชนให้มากที่สุด

วันนี้ (20 ก.ย. 66) ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายปกรณ์ สุตสุนทร ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาอุทกวิทยา นายวิวัธน์ชัย คงลำธาร ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชลประทาน(ด้านจัดสรรน้ำและบำรุงรักษา) นายจักริน ประเสริฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 7 นายสัมพันธ์ เดือนศิริรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุบลราชธานี นายวสันต์ พรหมดีสาร ผู้อำนวยการโครงการชลประทานร้อยเอ็ด และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง เพื่อติดตามสถานการณ์และการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูล โดยมี นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ฝนตกหนักในพื้นที่ตอนกลางของลุ่มน้ำชี บริเวณจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด ส่งผลให้มีปริมาณน้ำท่าไหลลงสู่แม่น้ำชีและแม่น้ำมูลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบัน(20ก.ย.66) ที่สถานีวัดน้ำแม่น้ำมูล M.7 อ.เมือง จ.อุบลราชธานี มีระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 11 เซนติเมตร ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งอยู่ 0.19 เมตร อัตราการไหล 2,205 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มระดับน้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่ลดลง

กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำเพื่อลดผลกระทบ ด้วยการจัดจราจรน้ำในลุ่มน้ำชี-มูล โดยการผันน้ำเข้าไปเก็บไว้ตามแก้มลิงและแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้งหน้า ด้านพื้นที่ตอนปลาย ได้เร่งระบายน้ำผ่านเขื่อนปากมูลลงสู่แม่น้ำโขง ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงยังคงต่ำกว่าแม่น้ำมูลประมาณ 41 ซ.ม. ทำให้การระบายน้ำจากมูลลงโขง ยังทำได้ดี

นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ติดตั้งเครื่องสูบน้ำที่บริเวณประตูระบายน้ำวัดเสนาวงศ์ อ.วารินชำราบ พร้อมเร่งสูบระบายน้ำออกจากพื้นที่ชุมชน รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องผลักดันน้ำประจำจุดที่บริเวณสะพานพิบูลมังสาหาร อ. พิบูลมังสาหาร เพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์น้ำจากทางพื้นที่ตอนบน ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด วางแผนบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณฝนที่จะตกลงมาเพิ่ม มีการใช้ระบบโทรมาตรติดตามระดับน้ำในแม่น้ำสายหลัก ควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำต่างๆ ตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน และ 3 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 66 เพิ่มเติม เพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ บูรณาการร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนถึงสถานการณ์น้ำให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง ช่วยบรรเทาและลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความยั่งยืนของการพัฒนาลุ่มน้ำเลย

ลุ่มน้ำเลย เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำเลยเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่มีต้นน้ำอมาจากอำเภอภูหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงลาดชัน

ตอนบนของประเทศ ฝนลดลง ชป.เดินหน้าเก็บกักน้ำปลายฤดูฝน สำรองไว้ใช้แล้งหน้าให้มากที่สุด

เมื่อวันนี้ 15 ต.ค. 67 ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (swoc) อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำกู กรมชลประทาน ถนนสามเสน ผศ.ดร.สิตางศ์ พิสัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา

'เขื่อนเจ้าพระยา' ลดระบายน้ำต่อเนื่อง พื้นที่ลุ่มต่ำ 4 จ. ท่วมน้อยลง

แม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ และแม่น้ำสะแกกรัง จ.อุทัยธานี มีปริมาณลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท

สั่งปรับลดการระบายน้ำเขื่อนป่าสักฯ ลดผลกระทบลุ่มเจ้าพระยา

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักชลสิทธิ์ ปรับลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ให้สอดคล้องกับการคาดการณ์น้ำท่าที่จะไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักฯ