‘ศานนท์’ รองผู้ว่าฯ กทม. ร่วมงาน-รับมอบข้อเสนอจากภาคประชาชน เวที ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ การแก้ปัญหาชุมชนในที่ดินสาธารณะ-ริมคลอง

นายศานนท์ รองผู้ว่า กทม. (กลาง) ร่วมงาน ‘การแก้ไขปัญหาชุมชนในที่ดินสาธารณะ’ ที่ พอช. (18 กันยายน)

พอช. / เครือข่ายสลัม 4 ภาค- พอช.-ชาวชุมชน  ร่วมจัดเวที “การแก้ไขปัญหาชุมชนในที่ดินสาธารณะ  ริมคลองย่อยและคลองสาขาต่างๆ  เนื่องในช่วงรณรงค์ ‘วันที่อยู่อาศัยโลก 2566’ โดยมีนายศานนท์ รองผู้ว่า ฯ กทม.ร่วมงาน  รับฟังและรับมอบข้อเสนอจากภาคประชาชน

ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2566 นี้  เครือข่ายชุมชน  หน่วยงานภาคี  และองค์กรที่ทำงานด้านการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยในประเทศไทย  เช่น  เครือข่ายสลัม 4 ภาค  เครือข่ายบ้านมั่นคง  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ฯลฯ ร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อรณรงค์ให้มีการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวชุมชนที่มีรายได้น้อยทั่วประเทศ  เนื่องในโอกาส ‘วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2566’ หรือ ‘World Habitat  Day 2023’

โดยมีการจัดงานแถลงข่าวและจัดเวทีเสวนาการแก้ไขปัญหาชุมชนในที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทยไปแล้วเมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา (ดูรายละเอียดที่  https://web.codi.or.th/index.php/20230915-48239/) 

การแก้ไขปัญหาชุมชนในที่ดินสาธารณะ  

ล่าสุดวันนี้ (18 กันยายน 2566) ตั้งแต่เวลา 9.00 น. ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ ถนนนวมินทร์  เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  มีการจัดเวทีเสวนา  เรื่อง “การแก้ไขปัญหาชุมชนในที่ดินสาธารณะ  ริมคลองย่อยและคลองสาขาต่างๆ”  โดยมีผู้แทนชาวชุมชน  ผู้แทนหน่วยงานภาคี  เข้าร่วมงานกว่า 150 คน   รวมทั้งนายศานนท์  หวังสร้างบุญ  รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  ที่มารับฟังข้อเสนอจากประชาชนในช่วงบ่าย

นางจุติอร รัตนอมรเวช ผู้แทนชุมชนในที่ดินสาธารณะ  กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดงานครั้งนี้ว่า  1.เพื่อรวบรวมบทเรียนประสบการณ์ การแก้ปัญหาที่ดินริมคลอง ที่ดินสาธารณะ  2.ระดมความคิดและประมวลข้อเสนอ แนวทางในการรับรองสิทธิที่อยู่อาศัยอย่างถูกกฎหมายนำเสนอต่อรัฐบาล  3.เพื่อเชื่อมร้อยขบวนชุมชนริมคลอง เครือข่ายความร่วมมือ ทุกชุมชนให้มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง ได้รับรองสิทธิ์ที่อยู่อาศัยตามกฎหมาย

นายกฤษดา  ผอ.พอช.

นายกฤษดา สมประสงค์  ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  กล่าวเปิดสัมมนา  มีใจความว่า  แนวทางการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ริมคลองมีความสำคัญ ควบคู่กับพื้นที่อื่นๆ เช่น ชุมชนรายได้น้อย ชุมชนที่อยู่ในที่ดินการรถไฟ รัฐบาลเห็นชอบให้ทำให้เสร็จภายใน 5 ปี   พอช. ใช้งบบ้านมั่นคงทำไปก่อน สิ่งสำคัญคือความร่วมมือกัน ชุมชนริมคลองได้รับความสำคัญ พี่น้องจากอยู่ในคลองขึ้นมาอยู่ข้างบน จากที่มีเศษขยะลอยมา น้ำเน่าน้ำเสีย เราขึ้นมาอยู่ข้างบน คุณภาพชีวิตดีขึ้น น้ำไฟถูกลง ก่อนหน้านั้นอยู่แบบไม่ถูกกฎหมาย เราต้องไปต่อน้ำต่อไฟจากที่อื่น ต้นทุนชีวิตกลับสูงกว่าคนอื่น เราอยู่อย่างถูกต้อง ทำให้เรามีเงินเหลือไปทำอย่างอื่น ให้ลูกเรียน ลูกได้รับการศึกษา  เขาอาจจะพาเราไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น

เมื่อพัฒนาไปแล้ว ดีสวยงาม บางแหล่งพัฒนาต่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น คลองลาดพร้าว คลองเปรมประชากร สิ่งสำคัญคือเราต้องรักษาไว้ให้อยู่กับเรา อยู่กับชุมชน  บางพื้นที่พอพัฒนาแล้วเริ่มเปลี่ยนมือ กลุ่มทุนเริ่มเข้ามาใช้พื้นที่สร้างรายได้ เราต้องรักษาไว้ให้ได้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม ทำอย่างไรจะมีระบบที่ดี การพัฒนาเด็กเล็ก ค่อยๆ ตามไป คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ต้องได้รับการดูแล

“ขอบคุณที่พวกเรารวมกันเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งและแข็งแรง เชื่อมร้อยกันเป็นเครือข่ายในเมือง เมืองอื่นๆ ทั่วประเทศ ทำให้เราไปถึงจุดหมายที่เราต้องการ พอช. มีหน้าที่ดูแลพี่น้องโดยตรง ทุกคนของ พอช. 300 ชีวิต พร้อมสนับสนุนพี่น้องให้ดีขึ้น เราพร้อมที่จะเกี่ยวแขน ก้าวขาเดินพร้อมไปกับพี่น้อง เพื่อดูแลคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น”   ผอ.พอช.  กล่าวเปิดประชุม

เวทีเสวนาแก้ปัญหาชุมชนในที่ดินสาธารณะ

ประสบการณ์จาก ‘หนองเตาเหล็ก จ.อุดรธานี’

ป้าสำรวย จ่ายกระโทก  ผู้นำชุมชนหนองเตาเหล็ก เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี  เล่าประสบการณ์ว่า  เดิมชาวบ้านอยู่ในที่บุกรุก เป็นที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ กลางใจเมืองอุดรธานี มี 98 ครัวเรือน  พื้นที่ประมาณ 17 ไร่  มีหนองใหญ่ 7 ไร่ ไม่รู้ว่าที่ดินของใคร  

ปี 2547 มีโครงการบ้านมั่นคงที่ จ.อุดรธานี   จึงอยากสร้างที่อยู่อาศัยให้มั่นคง ตอนนั้นคิดถึงบ้าน ไม่ได้คิดถึงที่ดิน  นายกเทศมนตรีช่วยสืบว่าใครเป็นเจ้าของที่ดิน  หลังจากนั้นรู้ว่าเป็นของที่ดินสาธารณะ  กรมที่ดินดูแล   เราติดต่อผ่านท้องถิ่น ซึ่งให้ความร่วมมือดีมาก เริ่มแรกทำประชาคม พี่น้องไม่เข้าใจว่าประชาคมคืออะไร อยากอยู่ แต่ไม่อยากเช่า

“พี่น้องไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเสียเงิน ก็ต้องทำความเข้าใจสองรอบ 4 เดือน ทำประชาคมอีกรอบ เกินครึ่งพร้อมจะเดินไปกับเรา  เพราะไม่ทั้งหมดที่เห็นด้วย ใช้เวลาประชาคมอีก 1 ปี นายอำเภอ  ผู้ว่าฯ ออกมาช่วย ตอนประชาคมมีคนคัดค้านไม่เห็นด้วย ตั้งคำถามว่าจะให้เช่าอย่างไรเพราะเราจน คนจนเข้าใจว่าไม่ต้องเช่า ทางท่านนายกฯ บอกว่าท้องถิ่นเป็นคนกลางที่จะให้เช่าและท้องถิ่นจะไปเช่ากับกรมที่ดินอีกที”   ป้าสำรวยบอก

แม้การสร้างความเข้าใจจะยากสำหรับคนที่ไม่อยากจะเสียเงินค่าเช่าที่ดิน  แต่เพื่อความมั่นคงในการอยู่อาศัย  ชาวบ้านส่วนใหญ๋จึงเห็นด้วย  จนได้เช่าที่ดินกับกรมที่ดินในอัตราตารางวาละ 2.50 บาทต่อปี    และมีเงื่อนไขให้ชาวชุมชนช่วยกันดูแลหนองเตาเหล็กให้สะอาด  รวมทั้งทำข้อตกลงร่วมกันกับชาวบ้านเพื่อไม่ให้ขายสิทธิ์   โดยชาวบ้านร่วมกันทำโครงการบ้านมั่นคง  ขอสินเชื่อจาก พอช.  98 ครัวเรือน  รวม 12 ล้านบาท  เพื่อก่อสร้างบ้านใหม่  (ตอนนี้เหลือเงินที่ต้องผ่อนชำระ พอช.อีกประมาณ 1 ล้านบาทเศษ)

ช่วงแรกก็คุยกันทุกวัน มีปัญหาต้องแก้ด้วยชุมชนเอง ต้องมีเป้าหมายร่วม สร้างความเข้าใจร่วมกัน มีการสำรวจข้อมูล ใช้กระบวนการบ้านมั่นคง”  ป้าสนองบอกถึงปัจจัยสำคัญในการทำโครงการบ้านมั่นคง

นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างพี่น้องคนจนในเมืองอุดรธานี  เช่น  การสร้างกองทุนที่อยู่อาศัยและพัฒนาคุณภาพชีวิต  ในอุดรมี 105 ชุมชน มี 4 เขต คุณภาพชีวิตที่ดีต้องมีทุน  เงิน คน งาน เริ่มจากการออมวันละ 10 บาท  ตอนนี้มีเงินกองทุนรวมประมาณ 5 ล้านบาท   สามารถช่วยปลดหนี้นอกระบบให้สมาชิก  โดยกองทุนจะชำระหนี้นอกระบบให้ก่อน เพื่อไม่ให้ดอกเบี้ยพอกพูน  แล้วสมาชิกผ่อนชำระกับกองทุน   ต้องคุย มีเทคนิคการทำ  ต้องบอกท้องถิ่น มีคณะกรรมการเมืองมารับทราบ เพราะเจ้าหนี้จะมองว่าเราขัดผลประโยชน์

ผู้แทนชาวชุมชนริมคลองแม่ข่า จ.เชียงใหม่ (เสื้อสีดำแถวหน้า) ร่วมงาน

‘คลองแม่ข่า จ.เชียงใหม่’  เทศบาลให้ใช้ที่ดินสาธารณะสร้างบ้าน

อุมาทิพย์ ศรีจันทร์ ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคมเทศบาลนครเชียงใหม่  บอกว่า  หน่วยงานท้องถิ่นกับ พอช. ได้ทำงานร่วมกัน  3-4 ปีที่ผ่านมาในการทำงานร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา เป็นไปไม่ได้ที่ท้องถิ่นจะทิ้งประชาชน โชคดีที่มี พอช.ในจังหวัดเชียงใหม่  เรื่องที่อยู่อาศัยเราบรรจุลงไปในแผน พื้นที่ตรงลำน้ำคลองแม่ข่ายาว 35 กิโลเมตร  ไหลผ่าน อบต.ต่างๆ เทศบาลนครเชียงใหม่อยู่ตรงกลางน้ำ ต้องมาแกะทีละชิ้นว่าทำตรงไหนได้ก่อน

“พี่น้องอยู่ตรงกำแพงเมืองเก่า เป็นกำแพงดิน เป็นโบราณสถาน มีเจ้าของหลายส่วน ทั้งธนารักษ์ มีสัญญาเช่า กรมศิลป์   มีเทศบาล  มี พอช.ช่วยกันแก้ปัญหา ที่ดินตรงนี้เป็นที่ดินสาธารณะ  กรรมสิทธิ์เป็นของเทศบาลนครเชียงใหม่ มี 7 ไร่ นำผู้มีปัญหาส่วนนี้ลงมาก่อน  เราทำประชาคม ในเรื่องการทำข้อมูล หาความสมัครใจที่จะไปต่อกับเรา ให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล เดิมมี 25 หลัง ประสงค์มาหมด อีกโซนหนึ่งชุมชนกำแพงงาม มีบ้านที่ต้องออก 33 หลัง  มากับเรา 16 หลัง ที่เหลือเขาบอกเขามีที่ไป  ได้ผู้เข้าร่วมทั้งสองโซน 41 หลังนำร่อง เดินไปด้วยกัน”  ผู้แทนเทศบาลนครเชียงใหม่บอก

โดยทำในรูปแบบการให้เช่าที่ดิน  พอช.เช่าที่ดินจากเทศบาล เราดูในข้อกฎหมาย ถ้ามีปัญหาแก้บางจุด ถ้าเดินไปเจอปัญหาก็แก้ ในระหว่างทางมีปัญหาก็แก้ ทำ mou กับหน่วยงาน ทำสัญญา ดูรูปแบบสัญญา  นอกเหนือจากที่รัฐกำหนด ต้องให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้กำหนด

ส่วนรูปแบบการทำงาน  มีการตั้งคณะทำงาน ประชุมทุกเดือน และรายงานความก้าวหน้า แก้ในที่ประชุมให้จบในที่ประชุมเลย มีอะไรบอกกันมาให้หมด ทางชุมชนก็จะบอกว่าเป็นอย่างไร พี่น้องไม่ออก เพราะมั่นใจว่าไม่โดนไล่ เราก็จะบอกวิธีแก้เลย  รวดเร็ว ปรึกษาส่วนที่เกี่ยวข้องและหาทางออกให้ได้ การทำงานช้าไม่ได้ ต้องมีคำตอบให้ที่ประชุมทุกภาคส่วน

ตามแผนงานการพัฒนาที่อยู่อาศัย  เดือนเมษายน 2567  จะทำสัญญาทุกหลังคาเรือน  เดือนพฤษภาคมจะเริ่มก่อสร้างบ้าน  ใช้เวลา 6 เดือน กันยายน 2567 พี่น้องจะมีบ้านใหม่ เราวาง time line ชัดและทำให้ได้   มีชาวบ้านร่วมเป็นกรรมการดำเนินงาน  มีสัดส่วนมากกว่าหน่วยงานอื่นๆ   ขอเชิญพี่น้องไปเยี่ยมชมจะได้เป็นแนวในการแก้ไขปัญหา  และต่อไปจะพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ รายได้ของชาวชุมชน

นอกจากนี้  ผู้แทนเทศบาลนครเชียงใหม่ได้ให้คำแนะนำแก่ชุมชนอื่นๆ ในการขอใช้ที่ดินจากหน่วยงานในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยว่า  ต้องเตรียมตัวเองให้พร้อม เราจะเดินก้าวไปหาหน่วยงานอย่างไร ตัวเองพร้อมแล้วก็รวมกลุ่ม  มีแกนนำ มีเครือข่าย  คนๆ เดียวไม่มีน้ำหนักพอ เสนอปัญหาความต้องการไปยัง อปท. ถ้าเกินอำนาจหน้าที่ อปท.จะประสานต่อให้ หน่วยงานรับแล้วทำได้กี่ข้อ เกินอำนาจตัวเองกี่ข้อ ส่งตัวไปให้หน่วยงานไหนบ้าง ?

“การมีส่วนร่วมข้อมูลสำคัญมาก การให้ความร่วมมือ ถ้าเสนอไปแล้วไม่ได้รับความร่วมมือ เราจริงใจและมีความพร้อมที่จะเดินไปกับหน่วยงานแค่ไหน เรามาประสานพี่น้องให้เดินไปด้วยกันได้มากน้อยแค่ไหน เราต้องดูทั้งตัวเราเองและคนรอบข้าง”  ผู้แทนเทศบาลนครเชียงใหม่ให้คำแนะนำ

ชุมชนริมคลองแม่ข่าส่วนหนึ่งที่เทศบาลนครเชียงใหม่เริ่มปรับปรุงภูมิทัศน์แล้ว  มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชม

บทบาท พอช. ‘ช่างเชื่อม’ :  ‘บ้านมั่นคงในที่ดินสาธารณะ’

นางสาวสุมล ยางสูง ผู้อำนวยการภาคกรุงเทพปริมณฑลและตะวันออก พอช. กล่าวว่า พอช.เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้องค์กรชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถพัฒนาตนเองได้ พอช.สนับสนุนผลักดัน ‘แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20ปี’  (พ.ศ.2560-2579)  ให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยทั่วหน้าในปี 2579 ต้องมีข้อมูลจากข้างล่างขึ้นมา  ลำดับแรกคือสำรวจข้อมูลที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ ในทุกเมือง ใน กทม. 50 เขต

“ต้องทำข้อมูลก่อน ต้องทราบก่อนว่าพี่น้องอยู่ตรงไหน มีปัญหาเรื่องอะไร อยู่ตรงไหนบ้างของเมือง ข้อมูลจึงสำคัญ  สองต้องทราบว่าที่ดินเป็นของใคร ประเภทไหน ใครเป็นเจ้าของ พอช.สนับสนุนการจัดตั้งกลไกสำคัญ จะผลักดันการแก้ปัญหาต้องมีกรรมการเมือง เป็นกลไกสำคัญ พวกเราต้องเข้าไปร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เป็นกลไกร่วมระหว่างหน่วยงานต่างๆ พูดคุยกัน พอช.ไปสนับสนุนการทำผังบ้าน  ผังเมือง ทำงานกับท้องถิ่น ชวนท้องถิ่นมาเป็นเจ้าภาพ  ทำผังชุมชน ถ้าเราจะทำโครงการ ใครจะอยู่ตรงไหน บ้านในอนาคตคือความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พอช.อยากให้ทุกคนออกแบบบ้านให้ถูกสุขลักษณะ  มีความมั่นคง”  นางสาวสุมล บอก

นอกจากนี้  พอช. ยังสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาชุมชนด้านกายภาพ มีถนน  พอช.เป็นแหล่งทุนอีกหนึ่งแห่ง  ดอกเบี้ยต่ำ   มีสินเชื่อที่อยู่อาศัย ให้พี่น้องได้สร้างบ้าน

พอช. มีบทบาทเป็น ‘ช่างเชื่อม’  เชื่อมท้องถิ่น หน่วยงานที่ดูแลที่ดิน เราเดินไปด้วยกัน พูดคุยหารือท้องถิ่น ไปเจรจาช่วยกัน ขอให้ชุมชนได้เช่า ที่ดิน  ได้อยู่อย่างถูกต้อง พอช.เป็นหน่วยงานกลาง โซ่ข้อกลางระหว่างชุมชนและหน่วยงาน

“บทบาทของ พอช. เราโยงเครือข่ายพี่น้องที่ทำเรื่องที่อยู่อาศัยด้วยกัน ดูว่าสิ่งที่พี่น้องทำอยู่มีข้อติดขัดอะไร ที่เราจะมาแก้ด้วยกัน ต้องดูว่าอะไรที่ทำได้ เช่น กระบวนการออมทรัพย์ กระบวนการหาที่ดิน เราต้องศึกษาขั้นตอนการขอใช้  ขอเช่า การโยงเครือข่ายกัน เรามาดูด้วยกันว่าอะไรชุมชนทำได้ อะไรทำไม่ได้ เราจะไปเสนอหน่วยงานไหน  ขั้นตอนการขอใช้ขอเช่า การทำประชาคม  ถ้าท้องถิ่นที่มีความเข้าใจ  

ขบวนองค์กรชุมชนหรือเครือข่ายต้องมาทำข้อเสนอ หาทางออกร่วมกัน ที่ดินแต่ละประเภทมีข้อจำกัดแตกต่างกัน กระบวนการในชุมชนมีความสำคัญในการสร้างความเข้าใจที่จะเดินไปด้วยกัน ชุมชนต้องเป็นหนึ่งเดียวก่อน จึงจะไปขอให้ท้องถิ่น ท้องที่ช่วยเรา”  นางสาวสุมลกล่าว  และบอกว่า  พอช.มีเจ้าหน้าที่น้อย เราทำงานกับเครือข่าย ใช้เครือข่ายให้เป็น ทำแผนการพัฒนาในระดับพื้นที่

ข้อเสนอจากชุมชนถึงกรุงเทพมหานคร

เนืองนิช ชิดนอก ผู้แทนชุมชนในที่ดินสาธารณะ  บอกว่า  ปัจจุบันพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีชุมชนที่ปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ริมคลอง หรือลำรางสาธารณะเป็นจำนวนมาก  ยังไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ประกอบกับแนวทางการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนในที่ดินสาธารณะของกรุงเทพมหานคร  ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการสร้างหลักประกันในที่ดินเพื่อรับรองการอยู่อาศัยอย่างมั่นคงของชุมชน  สถานะของชุมชนจึงยังคงเป็นชุมชนนอกระบบ ผิดกฎหมาย เข้าไม่ถึงการพัฒนาใด ๆ จากหน่วยงาน ทั้งด้านสาธารณูปโภค ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐาน

“เครือข่ายสลัม 4 ภาค และภาคีองค์กรชุมชนในกรุงเทพมหานคร ได้เรียนรู้ตัวอย่างการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของเทศบาลใน 2 พื้นที่ คือ เทศบาลนครอุดรธานี  จังหวัดอุดรธานี เทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ที่เทศบาลเป็นกลไกสำคัญในการจัดหาที่ดิน กรณีเป็นที่เป็นดินสาธารณะ เทศบาลจะดำเนินการออกเทศบัญญัติ และทำบันทึกความร่วมมือกับชุมชนเพื่อนำที่ดินมาแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย หรือกรณีที่เป็นที่ดินของท้องถิ่น ท้องถิ่นจะนำมาแก้ปัญหาให้กับชุมชน และอนุญาตให้ชุมชนได้อยู่อาศัยได้ถูกต้องตามกฎหมาย 

ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ชุมชนคลองลำไผ่ สมาชิกเครือข่ายสลัม 4 ภาค ได้นำร่องการแก้ปัญหาโดยเสนอขั้นตอนการรับรองสิทธิในที่ดินตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แต่ก็มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ใช้เวลายาวนาน ไม่สามารถสร้างชุมชนที่มั่นคงได้โดยง่าย  และยังมีชุมชนริมคลอง และริมรางสาธารณะอีกจำนวนมาก ที่ต้องการการแก้ปัญหาให้ชุมชนมีหลักประกันที่มั่นคงในการอยู่อาศัย”   

เนืองนิชบอกความเป็นมาของปัญหา  และว่า  บทเรียนเหล่านี้ นำมาซึ่งการเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชนริมคลอง ต่อกรุงเทพมหานคร โดยมีแนวทางสำคัญ และรูปธรรมที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ดังนี้

1.ให้กรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานในการขอใช้ที่ดินสาธารณะ และนำมาให้ชุมชนจัดสร้างที่อยู่อาศัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย  โดยมีโครงการบ้านมั่นคงของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ เข้ามาสนับสนุน  2.ให้มีมาตรการที่ชัดเจนให้ชุมชนสามารถปรับปรุงสร้างความมั่นคงการอยู่อาศัยในที่เดิมได้ ในกรณีชุมชนที่ไม่ปลูกบ้านเรือนรุกล้ำลำคลอง หรือสภาพพื้นที่ที่ไม่สามารถใช้ระบายน้ำได้ ให้ชุมชนใช้พื้นที่ในการขยับปรับผัง  เพื่อแก้ปัญหาและรองรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยได้

3.กรณีชุมชนที่ไม่สามารถอยู่ที่เดิมได้ ให้กรุงเทพมหานครขอใช้ที่ดินสาธารณะในเมือง รองรับการสร้างชุมชนใหม่  4.ให้มีกลไกของกรุงเทพหานครที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ประสานงานร่วมกับองค์กรชุมชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันผลักดันขับเคลื่อนการทำงานด้านที่อยู่อาศัย 

รูปธรรมที่ต้องการให้มีการเร่งรัดดำเนินการ  1.ชุมชนคลองลำไผ่ เขตคลองสามวา พื้นที่นำร่องตามมาตรา 9    ประมาลกฎหมายที่ดิน การทำเนินการถึงขั้นตอนการสำรวจบันทึกถ้อยคำรับรองสิทธิ์ของผู้อยู่อาศัยในที่ดินที่ขอใช้ประโยชน์ แต่ยังมีขั้นตอนการดำเนินการของหน่วยงานอีกหลายขั้นตอนที่ต้องดำเนินการ และยังไม่มีระยะเวลาที่ชัดเจนว่าชุมชนจะดำเนินการเข้าพื้นที่ และสร้างบ้านได้เมื่อไหร่  จึงขอให้กรุงเทพมหานครนัดหมายการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งทำแผน และขั้นตอนการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้มีความชัดเจน

2.ให้กรุงเทพมหานครดำเนินการกันพื้นที่สาธารณะบริเวณคลองลำไผ่เพิ่มเติม เพื่อรองรับชุมชนที่จะรื้อย้ายเข้าอยู่อาศัย โดยใช้แนวทางตามหลักการที่ได้นำเสนอ และพื้นที่สาธารณะอื่น  3.ให้กรุงเทพมหานคร สนับสนุน และร่วมสำรวจชุมชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่สาธารณะริมคลอง ในเขตกรุงเทพมหานคร กับภาคีองค์กรชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  4.ให้มีการแก้ไขระเบียบการจดแจ้งชุมชน เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครทุกพื้นที่เข้าถึงการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน

นายศานนท์ (ซ้าย) รองผู้ว่าฯ กทม. รับข้อเสนอจากตัวแทนประชาชนที่อาศัยอยู่ในที่ดินสาธารณะ

นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร  กล่าวในตอนท้ายว่า  กรุงเทพมหานครมีนโยบายที่อยู่อาศัยหลายข้อ แต่การทำงานของ กทม.ยังมีความล่าช้า  ทางออกคือต้องทำงานร่วมกัน วิธีการให้ชาวบ้านรวมกลุ่มกันคือทางออกที่ดีที่สุด  กทม.มีที่ดินเพียงพอที่จะดูแลทุกคนได้ แต่จะบริหารจัดการอย่างไร ?  ในบึงลำไผ่มอบไปแล้วบางส่วน  แต่มีอีกหลายส่วน  และจะตั้งคณะทำงานพิเศษขึ้นมาเพราะว่าตอนนี้การทำงานช้ามาก

***************

เรื่องและภาพ : สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นายศานนท์ รองผู้ว่า กทม. (กลาง) ร่วมงาน ‘การแก้ไขปัญหาชุมชนในที่ดินสาธารณะ’ ที่ พอช. (18 กันยายน)

พอช. / เครือข่ายสลัม 4 ภาค- พอช.-ชาวชุมชน  ร่วมจัดเวที “การแก้ไขปัญหาชุมชนในที่ดินสาธารณะ  ริมคลองย่อยและคลองสาขาต่างๆ  เนื่องในช่วงรณรงค์ ‘วันที่อยู่อาศัยโลก 2566’ โดยมีนายศานนท์ รองผู้ว่า ฯ กทม.ร่วมงาน  รับฟังและรับมอบข้อเสนอจากภาคประชาชน

ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2566 นี้  เครือข่ายชุมชน  หน่วยงานภาคี  และองค์กรที่ทำงานด้านการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยในประเทศไทย  เช่น  เครือข่ายสลัม 4 ภาค  เครือข่ายบ้านมั่นคง  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ฯลฯ ร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อรณรงค์ให้มีการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวชุมชนที่มีรายได้น้อยทั่วประเทศ  เนื่องในโอกาส ‘วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2566’ หรือ ‘World Habitat  Day 2023’

โดยมีการจัดงานแถลงข่าวและจัดเวทีเสวนาการแก้ไขปัญหาชุมชนในที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทยไปแล้วเมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา (ดูรายละเอียดที่  https://web.codi.or.th/index.php/20230915-48239/) 

การแก้ไขปัญหาชุมชนในที่ดินสาธารณะ  

ล่าสุดวันนี้ (18 กันยายน 2566) ตั้งแต่เวลา 9.00 น. ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ ถนนนวมินทร์  เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  มีการจัดเวทีเสวนา  เรื่อง “การแก้ไขปัญหาชุมชนในที่ดินสาธารณะ  ริมคลองย่อยและคลองสาขาต่างๆ”  โดยมีผู้แทนชาวชุมชน  ผู้แทนหน่วยงานภาคี  เข้าร่วมงานกว่า 150 คน   รวมทั้งนายศานนท์  หวังสร้างบุญ  รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  ที่มารับฟังข้อเสนอจากประชาชนในช่วงบ่าย

นางจุติอร รัตนอมรเวช ผู้แทนชุมชนในที่ดินสาธารณะ  กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดงานครั้งนี้ว่า  1.เพื่อรวบรวมบทเรียนประสบการณ์ การแก้ปัญหาที่ดินริมคลอง ที่ดินสาธารณะ  2.ระดมความคิดและประมวลข้อเสนอ แนวทางในการรับรองสิทธิที่อยู่อาศัยอย่างถูกกฎหมายนำเสนอต่อรัฐบาล  3.เพื่อเชื่อมร้อยขบวนชุมชนริมคลอง เครือข่ายความร่วมมือ ทุกชุมชนให้มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง ได้รับรองสิทธิ์ที่อยู่อาศัยตามกฎหมาย

นายกฤษดา  ผอ.พอช.

นายกฤษดา สมประสงค์  ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  กล่าวเปิดสัมมนา  มีใจความว่า  แนวทางการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ริมคลองมีความสำคัญ ควบคู่กับพื้นที่อื่นๆ เช่น ชุมชนรายได้น้อย ชุมชนที่อยู่ในที่ดินการรถไฟ รัฐบาลเห็นชอบให้ทำให้เสร็จภายใน 5 ปี   พอช. ใช้งบบ้านมั่นคงทำไปก่อน สิ่งสำคัญคือความร่วมมือกัน ชุมชนริมคลองได้รับความสำคัญ พี่น้องจากอยู่ในคลองขึ้นมาอยู่ข้างบน จากที่มีเศษขยะลอยมา น้ำเน่าน้ำเสีย เราขึ้นมาอยู่ข้างบน คุณภาพชีวิตดีขึ้น น้ำไฟถูกลง ก่อนหน้านั้นอยู่แบบไม่ถูกกฎหมาย เราต้องไปต่อน้ำต่อไฟจากที่อื่น ต้นทุนชีวิตกลับสูงกว่าคนอื่น เราอยู่อย่างถูกต้อง ทำให้เรามีเงินเหลือไปทำอย่างอื่น ให้ลูกเรียน ลูกได้รับการศึกษา  เขาอาจจะพาเราไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น

เมื่อพัฒนาไปแล้ว ดีสวยงาม บางแหล่งพัฒนาต่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น คลองลาดพร้าว คลองเปรมประชากร สิ่งสำคัญคือเราต้องรักษาไว้ให้อยู่กับเรา อยู่กับชุมชน  บางพื้นที่พอพัฒนาแล้วเริ่มเปลี่ยนมือ กลุ่มทุนเริ่มเข้ามาใช้พื้นที่สร้างรายได้ เราต้องรักษาไว้ให้ได้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม ทำอย่างไรจะมีระบบที่ดี การพัฒนาเด็กเล็ก ค่อยๆ ตามไป คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ต้องได้รับการดูแล

“ขอบคุณที่พวกเรารวมกันเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งและแข็งแรง เชื่อมร้อยกันเป็นเครือข่ายในเมือง เมืองอื่นๆ ทั่วประเทศ ทำให้เราไปถึงจุดหมายที่เราต้องการ พอช. มีหน้าที่ดูแลพี่น้องโดยตรง ทุกคนของ พอช. 300 ชีวิต พร้อมสนับสนุนพี่น้องให้ดีขึ้น เราพร้อมที่จะเกี่ยวแขน ก้าวขาเดินพร้อมไปกับพี่น้อง เพื่อดูแลคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น”   ผอ.พอช.  กล่าวเปิดประชุม

เวทีเสวนาแก้ปัญหาชุมชนในที่ดินสาธารณะ

ประสบการณ์จาก ‘หนองเตาเหล็ก จ.อุดรธานี’

ป้าสำรวย จ่ายกระโทก  ผู้นำชุมชนหนองเตาเหล็ก เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี  เล่าประสบการณ์ว่า  เดิมชาวบ้านอยู่ในที่บุกรุก เป็นที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ กลางใจเมืองอุดรธานี มี 98 ครัวเรือน  พื้นที่ประมาณ 17 ไร่  มีหนองใหญ่ 7 ไร่ ไม่รู้ว่าที่ดินของใคร  

ปี 2547 มีโครงการบ้านมั่นคงที่ จ.อุดรธานี   จึงอยากสร้างที่อยู่อาศัยให้มั่นคง ตอนนั้นคิดถึงบ้าน ไม่ได้คิดถึงที่ดิน  นายกเทศมนตรีช่วยสืบว่าใครเป็นเจ้าของที่ดิน  หลังจากนั้นรู้ว่าเป็นของที่ดินสาธารณะ  กรมที่ดินดูแล   เราติดต่อผ่านท้องถิ่น ซึ่งให้ความร่วมมือดีมาก เริ่มแรกทำประชาคม พี่น้องไม่เข้าใจว่าประชาคมคืออะไร อยากอยู่ แต่ไม่อยากเช่า

“พี่น้องไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเสียเงิน ก็ต้องทำความเข้าใจสองรอบ 4 เดือน ทำประชาคมอีกรอบ เกินครึ่งพร้อมจะเดินไปกับเรา  เพราะไม่ทั้งหมดที่เห็นด้วย ใช้เวลาประชาคมอีก 1 ปี นายอำเภอ  ผู้ว่าฯ ออกมาช่วย ตอนประชาคมมีคนคัดค้านไม่เห็นด้วย ตั้งคำถามว่าจะให้เช่าอย่างไรเพราะเราจน คนจนเข้าใจว่าไม่ต้องเช่า ทางท่านนายกฯ บอกว่าท้องถิ่นเป็นคนกลางที่จะให้เช่าและท้องถิ่นจะไปเช่ากับกรมที่ดินอีกที”   ป้าสำรวยบอก

แม้การสร้างความเข้าใจจะยากสำหรับคนที่ไม่อยากจะเสียเงินค่าเช่าที่ดิน  แต่เพื่อความมั่นคงในการอยู่อาศัย  ชาวบ้านส่วนใหญ๋จึงเห็นด้วย  จนได้เช่าที่ดินกับกรมที่ดินในอัตราตารางวาละ 2.50 บาทต่อปี    และมีเงื่อนไขให้ชาวชุมชนช่วยกันดูแลหนองเตาเหล็กให้สะอาด  รวมทั้งทำข้อตกลงร่วมกันกับชาวบ้านเพื่อไม่ให้ขายสิทธิ์   โดยชาวบ้านร่วมกันทำโครงการบ้านมั่นคง  ขอสินเชื่อจาก พอช.  98 ครัวเรือน  รวม 12 ล้านบาท  เพื่อก่อสร้างบ้านใหม่  (ตอนนี้เหลือเงินที่ต้องผ่อนชำระ พอช.อีกประมาณ 1 ล้านบาทเศษ)

ช่วงแรกก็คุยกันทุกวัน มีปัญหาต้องแก้ด้วยชุมชนเอง ต้องมีเป้าหมายร่วม สร้างความเข้าใจร่วมกัน มีการสำรวจข้อมูล ใช้กระบวนการบ้านมั่นคง”  ป้าสนองบอกถึงปัจจัยสำคัญในการทำโครงการบ้านมั่นคง

นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างพี่น้องคนจนในเมืองอุดรธานี  เช่น  การสร้างกองทุนที่อยู่อาศัยและพัฒนาคุณภาพชีวิต  ในอุดรมี 105 ชุมชน มี 4 เขต คุณภาพชีวิตที่ดีต้องมีทุน  เงิน คน งาน เริ่มจากการออมวันละ 10 บาท  ตอนนี้มีเงินกองทุนรวมประมาณ 5 ล้านบาท   สามารถช่วยปลดหนี้นอกระบบให้สมาชิก  โดยกองทุนจะชำระหนี้นอกระบบให้ก่อน เพื่อไม่ให้ดอกเบี้ยพอกพูน  แล้วสมาชิกผ่อนชำระกับกองทุน   ต้องคุย มีเทคนิคการทำ  ต้องบอกท้องถิ่น มีคณะกรรมการเมืองมารับทราบ เพราะเจ้าหนี้จะมองว่าเราขัดผลประโยชน์

ผู้แทนชาวชุมชนริมคลองแม่ข่า จ.เชียงใหม่ (เสื้อสีดำแถวหน้า) ร่วมงาน

‘คลองแม่ข่า จ.เชียงใหม่’  เทศบาลให้ใช้ที่ดินสาธารณะสร้างบ้าน

อุมาทิพย์ ศรีจันทร์ ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคมเทศบาลนครเชียงใหม่  บอกว่า  หน่วยงานท้องถิ่นกับ พอช. ได้ทำงานร่วมกัน  3-4 ปีที่ผ่านมาในการทำงานร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา เป็นไปไม่ได้ที่ท้องถิ่นจะทิ้งประชาชน โชคดีที่มี พอช.ในจังหวัดเชียงใหม่  เรื่องที่อยู่อาศัยเราบรรจุลงไปในแผน พื้นที่ตรงลำน้ำคลองแม่ข่ายาว 35 กิโลเมตร  ไหลผ่าน อบต.ต่างๆ เทศบาลนครเชียงใหม่อยู่ตรงกลางน้ำ ต้องมาแกะทีละชิ้นว่าทำตรงไหนได้ก่อน

“พี่น้องอยู่ตรงกำแพงเมืองเก่า เป็นกำแพงดิน เป็นโบราณสถาน มีเจ้าของหลายส่วน ทั้งธนารักษ์ มีสัญญาเช่า กรมศิลป์   มีเทศบาล  มี พอช.ช่วยกันแก้ปัญหา ที่ดินตรงนี้เป็นที่ดินสาธารณะ  กรรมสิทธิ์เป็นของเทศบาลนครเชียงใหม่ มี 7 ไร่ นำผู้มีปัญหาส่วนนี้ลงมาก่อน  เราทำประชาคม ในเรื่องการทำข้อมูล หาความสมัครใจที่จะไปต่อกับเรา ให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล เดิมมี 25 หลัง ประสงค์มาหมด อีกโซนหนึ่งชุมชนกำแพงงาม มีบ้านที่ต้องออก 33 หลัง  มากับเรา 16 หลัง ที่เหลือเขาบอกเขามีที่ไป  ได้ผู้เข้าร่วมทั้งสองโซน 41 หลังนำร่อง เดินไปด้วยกัน”  ผู้แทนเทศบาลนครเชียงใหม่บอก

โดยทำในรูปแบบการให้เช่าที่ดิน  พอช.เช่าที่ดินจากเทศบาล เราดูในข้อกฎหมาย ถ้ามีปัญหาแก้บางจุด ถ้าเดินไปเจอปัญหาก็แก้ ในระหว่างทางมีปัญหาก็แก้ ทำ mou กับหน่วยงาน ทำสัญญา ดูรูปแบบสัญญา  นอกเหนือจากที่รัฐกำหนด ต้องให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้กำหนด

ส่วนรูปแบบการทำงาน  มีการตั้งคณะทำงาน ประชุมทุกเดือน และรายงานความก้าวหน้า แก้ในที่ประชุมให้จบในที่ประชุมเลย มีอะไรบอกกันมาให้หมด ทางชุมชนก็จะบอกว่าเป็นอย่างไร พี่น้องไม่ออก เพราะมั่นใจว่าไม่โดนไล่ เราก็จะบอกวิธีแก้เลย  รวดเร็ว ปรึกษาส่วนที่เกี่ยวข้องและหาทางออกให้ได้ การทำงานช้าไม่ได้ ต้องมีคำตอบให้ที่ประชุมทุกภาคส่วน

ตามแผนงานการพัฒนาที่อยู่อาศัย  เดือนเมษายน 2567  จะทำสัญญาทุกหลังคาเรือน  เดือนพฤษภาคมจะเริ่มก่อสร้างบ้าน  ใช้เวลา 6 เดือน กันยายน 2567 พี่น้องจะมีบ้านใหม่ เราวาง time line ชัดและทำให้ได้   มีชาวบ้านร่วมเป็นกรรมการดำเนินงาน  มีสัดส่วนมากกว่าหน่วยงานอื่นๆ   ขอเชิญพี่น้องไปเยี่ยมชมจะได้เป็นแนวในการแก้ไขปัญหา  และต่อไปจะพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ รายได้ของชาวชุมชน

นอกจากนี้  ผู้แทนเทศบาลนครเชียงใหม่ได้ให้คำแนะนำแก่ชุมชนอื่นๆ ในการขอใช้ที่ดินจากหน่วยงานในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยว่า  ต้องเตรียมตัวเองให้พร้อม เราจะเดินก้าวไปหาหน่วยงานอย่างไร ตัวเองพร้อมแล้วก็รวมกลุ่ม  มีแกนนำ มีเครือข่าย  คนๆ เดียวไม่มีน้ำหนักพอ เสนอปัญหาความต้องการไปยัง อปท. ถ้าเกินอำนาจหน้าที่ อปท.จะประสานต่อให้ หน่วยงานรับแล้วทำได้กี่ข้อ เกินอำนาจตัวเองกี่ข้อ ส่งตัวไปให้หน่วยงานไหนบ้าง ?

“การมีส่วนร่วมข้อมูลสำคัญมาก การให้ความร่วมมือ ถ้าเสนอไปแล้วไม่ได้รับความร่วมมือ เราจริงใจและมีความพร้อมที่จะเดินไปกับหน่วยงานแค่ไหน เรามาประสานพี่น้องให้เดินไปด้วยกันได้มากน้อยแค่ไหน เราต้องดูทั้งตัวเราเองและคนรอบข้าง”  ผู้แทนเทศบาลนครเชียงใหม่ให้คำแนะนำ

ชุมชนริมคลองแม่ข่าส่วนหนึ่งที่เทศบาลนครเชียงใหม่เริ่มปรับปรุงภูมิทัศน์แล้ว  มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชม

บทบาท พอช. ‘ช่างเชื่อม’ :  ‘บ้านมั่นคงในที่ดินสาธารณะ’

นางสาวสุมล ยางสูง ผู้อำนวยการภาคกรุงเทพปริมณฑลและตะวันออก พอช. กล่าวว่า พอช.เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้องค์กรชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถพัฒนาตนเองได้ พอช.สนับสนุนผลักดัน ‘แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20ปี’  (พ.ศ.2560-2579)  ให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยทั่วหน้าในปี 2579 ต้องมีข้อมูลจากข้างล่างขึ้นมา  ลำดับแรกคือสำรวจข้อมูลที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ ในทุกเมือง ใน กทม. 50 เขต

“ต้องทำข้อมูลก่อน ต้องทราบก่อนว่าพี่น้องอยู่ตรงไหน มีปัญหาเรื่องอะไร อยู่ตรงไหนบ้างของเมือง ข้อมูลจึงสำคัญ  สองต้องทราบว่าที่ดินเป็นของใคร ประเภทไหน ใครเป็นเจ้าของ พอช.สนับสนุนการจัดตั้งกลไกสำคัญ จะผลักดันการแก้ปัญหาต้องมีกรรมการเมือง เป็นกลไกสำคัญ พวกเราต้องเข้าไปร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เป็นกลไกร่วมระหว่างหน่วยงานต่างๆ พูดคุยกัน พอช.ไปสนับสนุนการทำผังบ้าน  ผังเมือง ทำงานกับท้องถิ่น ชวนท้องถิ่นมาเป็นเจ้าภาพ  ทำผังชุมชน ถ้าเราจะทำโครงการ ใครจะอยู่ตรงไหน บ้านในอนาคตคือความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พอช.อยากให้ทุกคนออกแบบบ้านให้ถูกสุขลักษณะ  มีความมั่นคง”  นางสาวสุมล บอก

นอกจากนี้  พอช. ยังสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาชุมชนด้านกายภาพ มีถนน  พอช.เป็นแหล่งทุนอีกหนึ่งแห่ง  ดอกเบี้ยต่ำ   มีสินเชื่อที่อยู่อาศัย ให้พี่น้องได้สร้างบ้าน

พอช. มีบทบาทเป็น ‘ช่างเชื่อม’  เชื่อมท้องถิ่น หน่วยงานที่ดูแลที่ดิน เราเดินไปด้วยกัน พูดคุยหารือท้องถิ่น ไปเจรจาช่วยกัน ขอให้ชุมชนได้เช่า ที่ดิน  ได้อยู่อย่างถูกต้อง พอช.เป็นหน่วยงานกลาง โซ่ข้อกลางระหว่างชุมชนและหน่วยงาน

“บทบาทของ พอช. เราโยงเครือข่ายพี่น้องที่ทำเรื่องที่อยู่อาศัยด้วยกัน ดูว่าสิ่งที่พี่น้องทำอยู่มีข้อติดขัดอะไร ที่เราจะมาแก้ด้วยกัน ต้องดูว่าอะไรที่ทำได้ เช่น กระบวนการออมทรัพย์ กระบวนการหาที่ดิน เราต้องศึกษาขั้นตอนการขอใช้  ขอเช่า การโยงเครือข่ายกัน เรามาดูด้วยกันว่าอะไรชุมชนทำได้ อะไรทำไม่ได้ เราจะไปเสนอหน่วยงานไหน  ขั้นตอนการขอใช้ขอเช่า การทำประชาคม  ถ้าท้องถิ่นที่มีความเข้าใจ  

ขบวนองค์กรชุมชนหรือเครือข่ายต้องมาทำข้อเสนอ หาทางออกร่วมกัน ที่ดินแต่ละประเภทมีข้อจำกัดแตกต่างกัน กระบวนการในชุมชนมีความสำคัญในการสร้างความเข้าใจที่จะเดินไปด้วยกัน ชุมชนต้องเป็นหนึ่งเดียวก่อน จึงจะไปขอให้ท้องถิ่น ท้องที่ช่วยเรา”  นางสาวสุมลกล่าว  และบอกว่า  พอช.มีเจ้าหน้าที่น้อย เราทำงานกับเครือข่าย ใช้เครือข่ายให้เป็น ทำแผนการพัฒนาในระดับพื้นที่

ข้อเสนอจากชุมชนถึงกรุงเทพมหานคร

เนืองนิช ชิดนอก ผู้แทนชุมชนในที่ดินสาธารณะ  บอกว่า  ปัจจุบันพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีชุมชนที่ปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ริมคลอง หรือลำรางสาธารณะเป็นจำนวนมาก  ยังไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ประกอบกับแนวทางการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนในที่ดินสาธารณะของกรุงเทพมหานคร  ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการสร้างหลักประกันในที่ดินเพื่อรับรองการอยู่อาศัยอย่างมั่นคงของชุมชน  สถานะของชุมชนจึงยังคงเป็นชุมชนนอกระบบ ผิดกฎหมาย เข้าไม่ถึงการพัฒนาใด ๆ จากหน่วยงาน ทั้งด้านสาธารณูปโภค ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐาน

“เครือข่ายสลัม 4 ภาค และภาคีองค์กรชุมชนในกรุงเทพมหานคร ได้เรียนรู้ตัวอย่างการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของเทศบาลใน 2 พื้นที่ คือ เทศบาลนครอุดรธานี  จังหวัดอุดรธานี เทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ที่เทศบาลเป็นกลไกสำคัญในการจัดหาที่ดิน กรณีเป็นที่เป็นดินสาธารณะ เทศบาลจะดำเนินการออกเทศบัญญัติ และทำบันทึกความร่วมมือกับชุมชนเพื่อนำที่ดินมาแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย หรือกรณีที่เป็นที่ดินของท้องถิ่น ท้องถิ่นจะนำมาแก้ปัญหาให้กับชุมชน และอนุญาตให้ชุมชนได้อยู่อาศัยได้ถูกต้องตามกฎหมาย 

ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ชุมชนคลองลำไผ่ สมาชิกเครือข่ายสลัม 4 ภาค ได้นำร่องการแก้ปัญหาโดยเสนอขั้นตอนการรับรองสิทธิในที่ดินตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แต่ก็มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ใช้เวลายาวนาน ไม่สามารถสร้างชุมชนที่มั่นคงได้โดยง่าย  และยังมีชุมชนริมคลอง และริมรางสาธารณะอีกจำนวนมาก ที่ต้องการการแก้ปัญหาให้ชุมชนมีหลักประกันที่มั่นคงในการอยู่อาศัย”   

เนืองนิชบอกความเป็นมาของปัญหา  และว่า  บทเรียนเหล่านี้ นำมาซึ่งการเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชนริมคลอง ต่อกรุงเทพมหานคร โดยมีแนวทางสำคัญ และรูปธรรมที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ดังนี้

1.ให้กรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานในการขอใช้ที่ดินสาธารณะ และนำมาให้ชุมชนจัดสร้างที่อยู่อาศัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย  โดยมีโครงการบ้านมั่นคงของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ เข้ามาสนับสนุน  2.ให้มีมาตรการที่ชัดเจนให้ชุมชนสามารถปรับปรุงสร้างความมั่นคงการอยู่อาศัยในที่เดิมได้ ในกรณีชุมชนที่ไม่ปลูกบ้านเรือนรุกล้ำลำคลอง หรือสภาพพื้นที่ที่ไม่สามารถใช้ระบายน้ำได้ ให้ชุมชนใช้พื้นที่ในการขยับปรับผัง  เพื่อแก้ปัญหาและรองรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยได้

3.กรณีชุมชนที่ไม่สามารถอยู่ที่เดิมได้ ให้กรุงเทพมหานครขอใช้ที่ดินสาธารณะในเมือง รองรับการสร้างชุมชนใหม่  4.ให้มีกลไกของกรุงเทพหานครที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ประสานงานร่วมกับองค์กรชุมชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันผลักดันขับเคลื่อนการทำงานด้านที่อยู่อาศัย 

รูปธรรมที่ต้องการให้มีการเร่งรัดดำเนินการ  1.ชุมชนคลองลำไผ่ เขตคลองสามวา พื้นที่นำร่องตามมาตรา 9    ประมาลกฎหมายที่ดิน การทำเนินการถึงขั้นตอนการสำรวจบันทึกถ้อยคำรับรองสิทธิ์ของผู้อยู่อาศัยในที่ดินที่ขอใช้ประโยชน์ แต่ยังมีขั้นตอนการดำเนินการของหน่วยงานอีกหลายขั้นตอนที่ต้องดำเนินการ และยังไม่มีระยะเวลาที่ชัดเจนว่าชุมชนจะดำเนินการเข้าพื้นที่ และสร้างบ้านได้เมื่อไหร่  จึงขอให้กรุงเทพมหานครนัดหมายการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งทำแผน และขั้นตอนการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้มีความชัดเจน

2.ให้กรุงเทพมหานครดำเนินการกันพื้นที่สาธารณะบริเวณคลองลำไผ่เพิ่มเติม เพื่อรองรับชุมชนที่จะรื้อย้ายเข้าอยู่อาศัย โดยใช้แนวทางตามหลักการที่ได้นำเสนอ และพื้นที่สาธารณะอื่น  3.ให้กรุงเทพมหานคร สนับสนุน และร่วมสำรวจชุมชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่สาธารณะริมคลอง ในเขตกรุงเทพมหานคร กับภาคีองค์กรชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  4.ให้มีการแก้ไขระเบียบการจดแจ้งชุมชน เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครทุกพื้นที่เข้าถึงการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน

นายศานนท์ (ซ้าย) รองผู้ว่าฯ กทม. รับข้อเสนอจากตัวแทนประชาชนที่อาศัยอยู่ในที่ดินสาธารณะ

นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร  กล่าวในตอนท้ายว่า  กรุงเทพมหานครมีนโยบายที่อยู่อาศัยหลายข้อ แต่การทำงานของ กทม.ยังมีความล่าช้า  ทางออกคือต้องทำงานร่วมกัน วิธีการให้ชาวบ้านรวมกลุ่มกันคือทางออกที่ดีที่สุด  กทม.มีที่ดินเพียงพอที่จะดูแลทุกคนได้ แต่จะบริหารจัดการอย่างไร ?  ในบึงลำไผ่มอบไปแล้วบางส่วน  แต่มีอีกหลายส่วน  และจะตั้งคณะทำงานพิเศษขึ้นมาเพราะว่าตอนนี้การทำงานช้ามาก

***************

เรื่องและภาพ : สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เครือข่ายพัฒนาที่อยู่อาศัย 17 ประเทศในระดับเอเชียและนานาประเทศ ผนึกพลังทุกภาคส่วนสร้างบ้านเพื่อทุกคน เสนอรัฐหนุนเสริมบ้านโดยชุมชน ปลดล๊อกสิทธิที่ดินและระบบการเงิน สู่ความยั่งยืนมั่นคง

กทม. : วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ภาคีขับเคลื่อนและพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชนจาก 17 ประเทศในระดับเอเชียและนานาประเทศ ร่วมเสนอแนวทางการการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชนในระดับเอเชียและนานาประเทศ

ภาคีขับเคลื่อนและพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชน เปิดวงแลกเปลี่ยนบทเรียนการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชนในระดับเอเชียและนานาประเทศ

วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2567 ภาคีขับเคลื่อนและพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชน หน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน ประชาสังคม นักวิชาการ สถาบันการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ

วราวุธ รมว.พม. เยี่ยมบ้านมั่นคงเมืองย่าโม ย้ำนอกจากมีบ้านแล้วต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกครัวเรือน

วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการบ้านมั่นคง

กระทรวง พม. เปิดปฏิบัติการ “พม.ร่วมใจ สานสายใยพี่น้องเปราะบาง ชุมชนริมคลองเปรมประชากร”

กรุงเทพฯ/29 มิถุนายน 2567 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดโครงการ “พม.ร่วมใจ สานสายใยพี่น้องเปราะบาง ชุมชนริมคลองเปรมประชากร”