สานเครือข่ายโลก สสส. ไทยเจ้าภาพสานพลัง สสส. นานาประเทศ ขับเคลื่อนการประชุมกองทุนสร้างเสริมสุขภาพระดับนานาชาติ ประกาศจุดยืนขับเคลื่อนนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพมุ่งสู่สุขภาวะที่เป็นธรรม
นพ.ซานโดร ดีเมโย ประธานเครือข่ายกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ (The International Network of Health Promotion Foundations – INHPF) และผู้จัดการกองทุน สสส. แห่งรัฐวิคตอเรีย ออสเตรเลีย แถลงถึงการประชุมสำคัญในปีนี้ของเครือข่าย ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2543 มีพันธกิจเสริมสร้างศักยภาพการสร้างเสริมสุขภาพในประเทศต่างๆ ผ่านการดำเนินงานของกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ และสนับสนุนประเทศที่ต้องการก่อตั้งกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ กับหน่วยงานพันธมิตรระดับสากล อาทิ องค์การอนามัยโลก (WHO) มูลนิธิเพื่อสังคมอาเซียนปลอดบุหรี่ (SEATCA) สมาพันธ์นานาชาติด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการศึกษา (IUHPE) และในแต่ละปีเครือข่ายฯ มีการจัดประชุมประจำปีของเครือข่ายองค์กรสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ (INHPF Annual Meeting) เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสานพันธกิจร่วมกัน
“ปัจจุบันเครือข่ายกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ มีสมาชิก 7 องค์กรจาก 6 ประเทศ คือ 1. สสส. แห่งรัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย เป็นประธานเครือข่ายฯ 2. สสส. ไทย เป็นเลขาธิการเครือข่ายฯ 3. สสส. แห่งรัฐออสเตรเลียตะวันตก ประเทศออสเตรเลีย 4. สสส. แห่งสาธารณรัฐเกาหลี 5. สถาบันการสร้างเสริมสุขภาพไต้หวัน 6. สสส. แห่ง ราชอาณาจักรตองงา เป็นเหรัญญิกเครือข่ายฯ และ 7. สำนักงานคณะกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ร่วมกันขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพระดับนานาชาติ” นพ.ซานโดร กล่า
ดร. สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส. ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย INHPF มาตั้งแต่ช่วงก่อตั้ง และได้แสดงบทบาทสำคัญร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานของเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง อาทิ การสนับสนุนการจัดตั้งกลไกนวัตกรรมการเงินการคลังที่ยั่งยืนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในประเทศต่างๆ ผ่านการร่วมขับเคลื่อนโครงการ ProLEAD ที่เสริมศักยภาพให้ประเทศในหลายภูมิภาคของโลก การรับคณะศึกษาดูงานจากหลายสิบประเทศ ทั่วโลก การถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ของ สสส.สู่เวทีสากล อาทิ WHO Global Conference on Health Promotion และ IUHPE World Conference on Health Promotion ทั้งนี้ ในแต่ละปีเครือข่ายฯ มีการจัดประชุมประจำปีของเครือข่ายองค์กรสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ (INHPF Annual Meeting)
ในปี 2566 นี้ สสส. ไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของเครือข่ายฯ ครั้งที่ 20 มีกำหนดจัดระหว่างวันที่ 7-10 พ.ย. 2566 ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. ซอยงามดูพลี ทุ่งมหาเมฆ สาทร กรุงเทพมหานคร ภายใต้หัวข้อหลัก “ก้าวต่อไปของเครือข่าย สสส. โลก : ขับเคลื่อนนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพสู่สุขภาวะที่เป็นธรรม” (“The Next Step of INHPF: Accelerating Health Promotion Innovations towards Equitable Well-being”) เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่าย INHPF ผ่านการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ และร่วมประกาศจุดยืน ความมุ่งมั่นของเครือข่าย ในการยกระดับงานสร้างเสริมสุขภาพสู่วาระสุขภาพระดับโลก ตลอดจนนำเสนอนวัตกรรมและต้นแบบการดำเนินงานอันดีของ’งานสร้างเสริมสุขภาพของไทยสู่ระดับสากล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รณรงค์ "กินให้หมดจาน" 50ร้านต้นแบบช่วยลดขยะ
รู้หรือไม่?!?..... มีสถิติระบุว่า ขยะอาหารโลกพุ่งกว่า 1 พันล้านตัน ภาพขยะกองสูงเป็นภูเขาที่รอฝังกลบ กว่าครึ่งคือขยะอาหาร คนไทยเพียงคนเดียวผลิตขยะสูงลิ่ว 146 กก./คน/ปี
“รองนายกฯ ประเสริฐ” สั่งเดินหน้าคุมเข้มลดเจ็บ-ตายปีใหม่ เฝ้าระวัง “นักซิ่งเยาวชน” หลังพบดื่มแล้วขับ “เจ็บ-ตาย” เฉลี่ยชั่วโมงละ 3 คน เล็งเชื่อมข้อมูลทำระบบ “ใบสั่งออนไลน์”
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร
สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”
น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567
ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์
ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต