แปลงใหญ่ข้าวศรีดอนมูลเตรียมยกระดับเป็นศูนย์ผลผลิตและจำหน่ายเมล็ดข้าวคุณภาพครบวงจร

กรมส่งเสริมการเกษตร หนุนแปลงใหญ่ข้าวศูนย์ข้าวชุมชนตำบลศรีดอนมูล จังหวัดเชียงราย ใช้เครื่องจักรการเกษตรลดต้นทุน พัฒนาคุณภาพ แปรรูป และลดเวลาทำงาน พร้อมอัดฟางก้อนขาย และใช้ประโยชน์ด้านเกษตร ปศุสัตว์ และพลังงาน ตามนโยบาย Chiang Rai Zero Burn Model ให้เกษตรยุคใหม่ ร่วมใจหยุดเผา เดินหน้ายกระดับเป็นศูนย์ผลผลิตและจำหน่ายเมล็ดข้าวคุณภาพครบวงจร

"ข้าว"ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย นอกจากจำเป็นและสำคัญต่อการดำรงชีวิตแล้ว ข้าวยังเป็นแหล่งสร้างรายได้แก่เกษตรกรไทยปีละจำนวนมาก แต่หลายพื้นประสบปัญหาด้านการตลาดและราคาตกต่ำ รวมถึงไปภัยธรรมชาติและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร จึงเข้าดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นแปลงใหญ่ข้าว เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการแปลง เทคโนโลยีลดต้นทุน แก้ปัญหาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดีและต่อยอดแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับความต้องการของตลอด และยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวให้มีการวางแผนการผลิต การเก็บรักษา การจำหน่าย และแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับภาวะการตลาดในแต่ละฤดูกาล

แปลงใหญ่ข้าวศูนย์ข้าวชุมชนตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นอีกกลุ่มเกษตรกรที่กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย และสำนักงานเกษตรอำเภอเชียงแสน สนับสนุนให้มีการรวมตัวกันและจัดตั้งเป็นศูนย์ข้าวชุมชน ตั้งแต่ปี 2556 มีสมาชิกแรกเริ่มจำนวน 32 ราย เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีและต้องการยกระดับเป็นการทำนาข้าวปลอดภัย ลดการใช้สารเคมี และในปี 2560 จึงจัดตั้งเป็นแปลงใหญ่ เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี  ปัจจุบันมีนายธนาณุวัฒน์  จันฟอง  เป็นผู้จัดการแปลงใหญ่ข้าวศูนย์ข้าวชุมชนตำบลศรีดอนมูล มีสมาชิก 38 ราย พื้นที่เพาะปลูกรวม 898 ไร่

ว่าที่ร้อยตรี ดุจเดี่ยว วงศ์ภักดิ์ เกษตรจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า แปลงใหญ่ข้าวศูนย์ข้าวชุมชนตำบลศรีดอนมูล เป็นการต่อยอดจากความสำเร็จของแปลงใหญ่ข้าวกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวคุณภาพบ้านสันหลวงอำเภอแม่จัน ได้รับการสนับสุนนจากภาคเอกชน โดยเฉพาะบริษัทคูโบต้า ที่สนับสุนนงบประมาณและเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตทั้งหมด ตั้งแต่การเพาะต้นกล้า การใช้รถดำนา การใช้โดรนพ่นน้ำหมักชีวภาพและน้ำยาต่าง ๆ การใช้รถเกี่ยวข้าว และการใช้รถอัดฟางก้อน เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้พื้นที่แปลงนาหลังเก็บเกี่ยวปลูกพืชใช้น้ำน้อยได้ต่อไป และไม่ให้เกิดการเผาตอซังข้าวเหมือนเมื่อก่อน อันเป็นไปตามนโยบาย Chiang Rai Zero Burn Model ที่รณรงค์ให้เกษตรยุคใหม่ ร่วมใจหยุดเผา หรือหยุดเผาได้ 5 ดี ประกอบด้วย อากาศดี ดินดี รายได้ สุขภาพดี และสิ่งแวดล้อมดี ดังนั้นการทำนาสมัยใหม่ จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรควบคู่ไปกับแรงงานคน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มความคล่องตัว ความสะดวกสบาย ลดระยะเวลาในการผลิต และนำไปวัสดุเหลือใช้ไปต่อยอดด้านอื่น ๆ ได้

“แปลงใหญ่ข้าวศูนย์ข้าวชุมชนตำบลศรีดอนมูล นอกจากมีความโดดเด่นด้านเมล็ดพันธุ์ดีมีคุณภาพแล้ว ยังโดดเด่นเรื่องการแปรรูปผลผลิตด้วย โดยมีการนำข้าวที่เหลือจากการจำหน่ายทั่วไปหรือนำข้าวที่ไม่ผ่านคุณภาพไปผลิตเป็นคราฟต์เบียร์(Craft Beer) ส่วนฟางข้าว ก็นำไปใช้ด้านปศุสัตว์ เช่น เป็นอาหารให้โค กระบือ และอัดเป็นฟางก้อน จำหน่ายก้อนละ 35-60 บาท ส่วนพื้นที่ที่ไม่มีปศุสัตว์ นำไปใช้เพาะเห็ดฟาง ทำปุ๋ยหมัก และใช้คลุมหน้าดิน นอกจากนี้ฟางยังใช้ผลิตชีวมวล เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตภาคอุตสาหกรรม และใช้ผลิตถ่านชีวภาพ(ไบโอซาร์)ได้ด้วย” เกษตรจังหวัดเชียงราย กล่าว

ด้านนายธนาณุวัฒน์ จันฟอง ผู้จัดการแปลงใหญ่ข้าวศูนย์ข้าวชุมชนตำบลศรีดอนมูล กล่าวว่า ดำเนินการตามนโยบายแปลงใหญ่ 5 ด้าน มาตลอด นั่นคือ การลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพ บริหารจัดการแปลง และจัดการด้านตลาด หลังเข้าร่วมโครงการระบบส่งเริมเกษตรแปลงใหญ่ ในปี 2560-2561 สามารถลดต้นทุนรวมในการผลิตข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ได้ร้อยละ 14 และในปี 2562-2565 สามารถลดต้นทุนรวมการผลิตได้ถึงร้อยละ 34 จากต้นทุนเดิมในห้วงปี 2559 ขณะเดียวกันยังสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวเจ้าได้ถึงร้อยละ 8.7 และเพิ่มผลผลิตข้าวเหนียวได้ร้อยละ 2.8 อีกด้วย โดยสมาชิกบางรายได้สามารถผลิตข้าวได้จำนวน 600-700 กิโลกรัมต่อไร่ จากเดิมผลิตได้เพียง 500 กิโลกรัมต่อไร่

ในปี 2565 สมาชิกแปลงใหญ่ได้พัฒนาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวและผลิตข้าวได้มาตรฐาน GAP จนได้รับรางวัลการประกวดข้าวหอมมะลิ ประเภทรายบุคคลและสถาบันเกษตร  นอกจากนี้ยังมีการต่อยอด โดยการแปรรูปเป็นข้าวกึ่งสำเร็จรูป ข้าวแพ็คสุญญากาศขนาดเล็ก เพื่อทำเป็นของขวัญหรือของชำร่วย  มีการนำข้าวไปผลิตเครื่องดื่มมอลต์  และสาโท จากข้าวกข.6(ข้าวพันธุ์ดีศรีดอนมูล)ส่วนฟาง ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ทำเป็นก้อนอิฐจากฟางข้าว  หรือก้อนเห็ด นอกจากนี้เมื่อสีข้าวแล้ว ยังได้รำหยาบ รำละเอียด ปลายข้าว และแกลบ สามารถใช้ประโยชน์หรือขายได้ทุกส่วนไม่มีเหลือทิ้งเป็นขยะแต่อย่างใด(Zero Waste)

ส่วนการตลาด ผู้จัดการแปลงใหญ่ข้าวศูนย์ข้าวชุมชนตำบลศรีดอนมูล กล่าวว่า ได้จับมือกับภาคเอกชน ทำโครงการตลาดนำการผลิต มีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ไปจำหน่ายตามความต้องการของตลาด ทั้งข้าวจ้าวและเข้าเหนียว ซึ่งทำให้ได้ราคาดีและผลผลิตไม่ล้นตลาด เป็นการวางแผนการตลาดล่วงหน้า เพื่อให้สมาชิกแปลงใหญ่มั่นใจว่า เมื่อถึงเวลาขายข้าวจะได้ราคาที่ตกลงกันไว้อย่างแน่นอน โดยคุณภาพข้าวและเงื่อนอื่น ๆ ต้องเป็นไปตามข้อตกลงและสัญญาซื้อขาย 

"สำหรับทางรอดและทางออกของชาวนาในปัจจุบันและอนาคตนั้น ได้ร่วมกับภาครัฐและเอกชนที่เป็นเครือข่าย ร่วมกันผลักดันแปลงใหญ่ข้าวศูนย์ข้าวชุมชนตำบลศรีดอนมูล เป็นศูนย์เพาะพันธุ์กล้า เพื่อจำหน่ายให้กับเครือข่ายและเกษตรกรทั่วไป โดยเริ่มมีคำสั่งซื้อจากภาคเอกชนมาบ้างแล้ว ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ชุมชนมีช่องทางจำหน่ายข้าวได้ดียิ่งขึ้น และในอนาคตทางกลุ่มมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้เป็นศูนย์ผลผลิตและจำหน่ายเมล็ดข้าวข้าวคุณภาพแบบครบวงจรในอนาคต”ผู้จัดการแปลงใหญ่ข้าวศูนย์ข้าวชุมชนตำบลศรีดอนมูล กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แปลงใหญ่กล้วยน้ำว้า เพชรบุรี วางแผนกู้วิกฤต

นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่นเดียวกับเกษตรกรแปลงใหญ่กล้วย หมู่ 2,3,6

กรมส่งเสริมการเกษตร ยกชุมพร “เมืองมะพร้าวคุณภาพ” สร้างมาตรฐานเกิดทั้งจังหวัด

มะพร้าว ยังคงเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ มีพื้นที่ปลูกโดยรวมทั้งประเทศ 862,718 ไร่ โดยให้ผลผลิตแล้วเนื้อที่ 834,000 ไร่ ผลผลิตออกสู่ตลาด 842,306 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,010 กิโลกรัมต่อไร่ สร้างมูลค่ากว่า 6,887 ล้านบาท

กรมส่งเสริมการเกษตร ดัน 'กาแฟบ้านมณีพฤกษ์' สู่แปลงใหญ่ เพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมส่งเสริมการเกษตร เข้าพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกาแฟบ้านมณีพฤกษ์ สู่แปลงใหญ่กาแฟบ้านมณีพฤกษ์ และมุ่งเป้าพัฒนาสู่เกษตรมูลค่าสูง ภายใต้แนวคิด ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม

แปลงใหญ่ผักบ้านบางท่าข้าม สุราษฎร์ธานี ผลิตพืชผักคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน สร้างรายได้สู่ชุมชนกว่า 4 ล้านบาทต่อปี

นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายสำคัญในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร

กรมส่งเสริมการเกษตรดันฉะเชิงเทราเป็นแหล่งผลิตมะม่วงคุณภาพดี ส่งเสริมการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ พัฒนาเป็นผลไม้อัตลักษณ์ ก้าวสู่สินค้า GI

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า มะม่วงเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา เนื่องจากมีรสชาติดี

กรมส่งเสริมการเกษตรสนับสนุนต้นพันธุ์เบญจมาศสะอาด ส่งเสริมสมาชิกแปลงใหญ่ จ.อุบลฯ

แปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านตาติด จ.อุบลราชธานี ขยายพื้นที่ปลูกเบญจมาศมากขึ้น หลังตลาดอีสานขยายตัว ทำให้ต้องการต้นพันธุ์ดีจำนวนมาก ด้านกรมส่งเสริมการเกษตรโดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5