วิสาหกิจต้นแบบ....สร้างสุของค์กร ปั้น SHAP Agents เพื่อ SMEs ยั่งยืน

เพราะ "คน" เป็นหัวใจในการดำเนินกิจการต่างๆ และเป็นกำลังสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs (วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม)

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้ประกาศความร่วมมือสานพลัง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) อย่างต่อเนื่องอีกครั้ง หลังจากได้ริเริ่มโครงการ SMEs Happy and Productive Workplace (SHAP) มาตั้งแต่ปี 2561 ทั้งนี้เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรควบคู่ไปกับการสร้างความสุขให้แก่บุคลากรในสถานประกอบการ และผลักดันให้ผู้ประกอบการ SMEs เห็นความสำคัญและมีนโยบายสนับสนุนการเพิ่มผลิตภาพและการสร้างสุขภาวะองค์กร

นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า DIPROM ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส.ในโครงการ SHAP มาอย่างต่อเนื่อง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (Productivity) ให้ SMEs จำนวน 223 แห่ง และคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 420 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าพัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ (SHAP Agents) จำนวน 130 คน เพื่อเป็นหน่วยส่งเสริมสุขภาวะองค์กรให้ SMEs โดยมีคนเป็นศูนย์กลาง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตควบคู่กับการสร้างความสุขให้แก่บุคลากรในสถานประกอบการ ดำเนินการใน 34 จังหวัด

DIPROM เร่งสร้างมาตรฐานในการทำงานให้มีความสุข อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยใช้ภูมิปัญญา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมทั้งการสรรค์สร้างสิ่งใหม่ๆ ในธุรกิจเพื่อสร้างความตระหนักให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้เห็นถึงความสำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพที่มีคนเป็นศูนย์กลาง สร้างรูปแบบการดำเนินงานสำหรับการส่งเสริมองค์กรสุขภาวะที่เหมาะสม ในการเพิ่มประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการสร้างความสุขให้แก่บุคลากรในสถานประกอบการ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ SMEs จำเป็นต้องพัฒนาผลิตภาพและผลิตผลอย่างต่อเนื่อง โดยที่คุณภาพชีวิตและความสุขของบุคลากรในองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น การสร้างกลไกที่จะส่งเสริม สนับสนุน ให้คนทำงานมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี อันจะส่งผลดีโดยรวมต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในองค์กร (Productivity)  ทั้งในด้านคุณภาพสินค้า การบริการ การลดความสูญเสียต่างๆ และยังทำให้ต้นทุนลดลง รวมถึงสร้างความปลอดภัยในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ลดจำนวนการลาออก และรักษาพนักงานคุณภาพ เกิดเป็นองค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace) ซึ่งจะสามารถส่งผลให้องค์กรเกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความสามารถและเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง นำพาองค์กรไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

SMEs ของไทยคิดเป็น 99.57% ของจำนวนวิสาหกิจทั้งประเทศ และมีจำนวนการจ้างแรงงานกว่า 17 ล้านคน เป็นกำลังสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย ผลการดำเนินงานช่วยให้เกิดผลลัพธ์และผลตอบแทน ด้านคุณภาพ ต้นทุน การส่งมอบ ความปลอดภัยในการทำงาน ขวัญและกำลังใจของพนักงาน การจัดการสิ่งแวดล้อม จริยธรรมในการทำงาน

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงานโครงการ SHAP  โดยเฉพาะการพัฒนามาตรฐานองค์กรแห่งความสุข (มอส.) ซึ่งจะขยายผลส่งเสริมให้ SMEs ทั่วไทย มีแนวทางการดูแลคุณภาพชีวิตบุคลากรในองค์กรที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน การดำเนินงานที่ผ่านมาเกิดผลลัพธ์ที่สำคัญ ได้แก่ วิสาหกิจเพื่อเป็นองค์กรต้นแบบด้านการสร้างสุขภาวะองค์กรและพัฒนาผลิตภาพ และส่งเสริมให้ SMEs นำหลักการสร้างสุขภาวะองค์กรไปประยุกต์ใช้ มีคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกวิสาหกิจต้นแบบจากภาครัฐและภาคเอกชน โดยใช้ 4 เกณฑ์การคัดเลือก

1.กระบวนการทำงาน 2.คะแนนสุขภาวะองค์กร Happy Workplace วัดจากเครื่องมือ HAPPINOMETER เครื่องมือวัดความสุขด้วยตนเองของคนวัยทำงานทุกภาคส่วน ซึ่งศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำ 3.ศักยภาพในการพัฒนาผลิตภาพ 4.การนำเสนอจำนวน 57 แห่ง แบ่งเป็นระดับเพชร 3 รางวัล แพลทินัม 12 รางวัล ทอง 20 รางวัล ดีเด่น 2 รางวัล และรางวัลวิสาหกิจต้นแบบ สุขสร้างสรรค์ 20 รางวัล” นายใบน้อยเปิดเผย

นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส. แสดงความเห็นว่า ความสุขเกี่ยวข้องกับสัมพันธภาพที่ดีภายในองค์กร สำคัญที่สุดยิ่งกว่ารางวัลใดๆ โดยเฉพาะการทำงานในภาค SMEs เป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ ประเทศไทยมีสถานประกอบการเกือบ 3 ล้านแห่ง กลุ่มใหญ่ที่สุดอยู่ในกลุ่ม SMEs  หรือเกินกว่า 1 ใน 3 ของประเทศ คือ 35% สร้าง GDP ของประเทศ

สสส.มุ่งให้คนทำงานมีความสุขทั้ง 8 มิติ Happy ภายใต้นวัตกรรมแนวคิดองค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace) โดยเฉพาะกลุ่มสถานประกอบการ SMEs ที่มีจำนวนมากทั่วไทย สสส.สานพลัง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และภาคีเครือข่าย ริเริ่มโครงการ SHAP ตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งในระยะที่ 3 นี้มีสถานประกอบการเข้าร่วม 80 แห่งใน 34 จังหวัด ยกระดับเป็นสถานประกอบการวิสาหกิจต้นแบบ 57 แห่ง มีพนักงานรวม 18,689 คน พัฒนาเป็นเจ้าหน้าที่ SHAP Agents แกนนำสร้างสุขภาวะองค์กร 130 คน

“SHAP Agents คือพลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพในองค์กร ร่วมพัฒนากิจกรรมที่ตอบโจทย์คนทำงาน เช่น กิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา ช่วยลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน 8.25 ล้านบาท เลิกเหล้าได้ 154 คน ลด ละ เลิกบุหรี่ 107 คน ออมเงินได้ 37.7 ล้านบาท ที่สำคัญยังพัฒนาศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ Wellness Center อีก 13 แห่งเป็นศูนย์กลางให้คำปรึกษา ส่งผลให้อัตราการลาป่วยลดลง 25.4% ลดค่าใช้จ่ายในการเบิกยา/ค่ารักษาพยาบาล 2.56 ล้านบาท พบค่าความสุขวัดจาก HAPPINOMETER ใน 8 มิติ ก่อนดำเนินงานอยู่ที่ 60.11% เพิ่มขึ้นเป็น 66.42% สำหรับระยะที่ 4 มุ่งพัฒนาศูนย์ Happy Workplace Center ให้บริการด้านวิชาการ แนวทางการสร้างองค์กรแห่งความสุข 5 แห่ง ภายในปี 2569 ผลักดันให้งานส่งเสริมคุณภาพชีวิตวัยทำงานในสถานประกอบการเป็นกลไกปกติที่อยู่คู่กับการสร้างสุขภาวะองค์กรในระยะยาว” นายพงษ์ศักดิ์ชี้แจง.

สถานประกอบรับรางวัลระดับเพชร โรงแรมอ่าวนางปริ้นซ์วิลล์ วิลล่า รีสอร์ท แอนด์ สปา  จ.กระบี่

กุสุมา กิ่งเล็ก  เจ้าของกิจการ

รางวัลที่ได้รับเกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันพัฒนางานบริการอย่างต่อเนื่อง ทำให้ฝังเป็น DNA เพื่อให้เกิดความยั่งยืน สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี การสร้างเป้าหมายร่วมกันในการสร้างรีสอร์ตสุขภาพให้เป็นจริง พนักงานให้บริการอย่างสุภาพ การสร้างสถานประกอบการให้เป็น happy work place ให้ทุกคนรู้สึกได้ พนักงานจำนวน 55 คน แต่หลังจากโควิดพนักงานเหลือ 45 คน เพราะส่วนหนึ่งกลับไปทำงานเปลี่ยนอาชีพที่บ้านเกิดของตัวเอง

"สสส.จัดอบรมเรื่องสุขภาพจิตในการทำงาน บริษัทสร้างทีมทำงาน มีภาคีเครือข่าย ต้องยอมรับว่าคนทำงานโรงแรมมีความเครียดกันทุกคน เป็นความเครียดโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว เป็นเรื่องที่ต้องบริหารจัดการกับความเครียดให้คลายลงได้  การทำสมาธิ การฝึกโยคะ การฝึกออมเงิน" กุสุมาเล่าถึงที่มาในการสร้างความสุขให้พนักงานในองค์กร ที่ผ่านมาบริษัทได้รับรางวัลมาแล้วถึง 23 รางวัล ทั้งรางวัลระดับ Global ระดับอาเซียน และในประเทศ รางวัล GHA Global Health Care A well Hotel เมื่อปี 2024 ทุกๆ 5 ปี รางวัล GBAC  รางวัลกินรี 2023 เป็นรอบที่ 3.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รณรงค์ "กินให้หมดจาน" 50ร้านต้นแบบช่วยลดขยะ

รู้หรือไม่?!?..... มีสถิติระบุว่า ขยะอาหารโลกพุ่งกว่า 1 พันล้านตัน ภาพขยะกองสูงเป็นภูเขาที่รอฝังกลบ กว่าครึ่งคือขยะอาหาร คนไทยเพียงคนเดียวผลิตขยะสูงลิ่ว 146 กก./คน/ปี

“รองนายกฯ ประเสริฐ” สั่งเดินหน้าคุมเข้มลดเจ็บ-ตายปีใหม่ เฝ้าระวัง “นักซิ่งเยาวชน” หลังพบดื่มแล้วขับ “เจ็บ-ตาย” เฉลี่ยชั่วโมงละ 3 คน เล็งเชื่อมข้อมูลทำระบบ “ใบสั่งออนไลน์”

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567