วันที่ 8 กันยายน 2566 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานพร้อมด้วยคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา ลงพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เพื่อประชุมและรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านแรงงานทั่วไปและการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานกลุ่มต่าง ๆ ภายหลังสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง โดยมี นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอเบตง หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดยะลา และเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเบตง จังหวัดยะลา
พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า ในวันนี้คณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา ได้ลงพื้นที่มายังอำเภอเบตง เพื่อศึกษาและรับฟังในประเด็นเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ด้านแรงงานทั่วไป การบริหารจัดการการทำงานของแรงงานกลุ่มต่าง ๆ ภายหลังสถานการณ์การระบาดของโควิด -19 คลี่คลายลง และแรงงานต่างด้าวรวมทั้งผู้ประกอบการ ตลอดจนสถานการณ์ผู้ประกันตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกรณีศึกษาด้านแรงงานที่สมควรถูกหยิบยกมาเพื่อพิจารณาความสำเร็จที่เกิดขึ้น แนวทางที่กำลังเป็นอยู่ รวมถึงการเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่ต้องดำเนินการให้ลุล่วง เพื่อการพัฒนาภาคแรงงานเป็นเบื้องต้น จนนำไปสู่การปฏิรูปประเทศให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในที่สุด สำหรับจังหวัดยะลาเป็นจังหวัดใต้สุดของไทย โดยเฉพาะอำเภอเบตง มีศักยภาพด้านพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุน ชายแดนมีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ภาคท่องเที่ยวรวมทั้งภาคการผลิตมีแนวโน้มฟื้นตัว โดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพารารูปแบบใหม่ๆ เนื่องจากมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ยางพาราภายในประเทศของรัฐบาล
สำหรับสถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดยะลา มีผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 260,794 คน ผู้มีงานทำ 258,369 คน ผู้ว่างงาน 2,163 คน ผู้รอฤดูกาล 262 คน ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 121,300 คน แรงงานนอกระบบ 133,433 คน สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม 1,639 แห่ง ผู้ประกันตนทั้งสิ้น 242,217 คน แรงงานต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตทำงาน 3,369คน สถานประกอบการต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรม 3 อันดับแรก คือ โรงแรมและบริการด้านอาหาร รองลงมา คือ การบริหารและบริการสนับสนุน และการศึกษา ตามลำดับ
“ผลพวงจากการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานกลุ่มต่าง ๆ ภายหลังสถานการณ์การระบาดของโควิด -19 คลี่คลายลง ทำให้ปัจจุบันเมืองเบตงเติบโตในเรื่องของการท่องเที่ยวแบบก้าวกระโดด ที่สำคัญกลายเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนที่สำคัญของจังหวัดยะลา ถือเป็นสัญญาณที่ดีทำให้เกิดการจ้างงานและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ที่สำคัญจะเป็นการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านให้เกิดความมั่นคงและความสงบสุขของคนในพื้นที่ตามมาอีกด้วย” พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวท้ายสุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พล.ต.อ.อดุลย์ ปธ.กมธ.แรงงาน วุฒิสภา นำคณะดูงานสถาบันพัฒนาผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์ หวังสร้างผู้ประกอบการยุคใหม่ พัฒนาทุนมนุษย์รองรับศตวรรษที่ 21
วันที่ 24 มิถุนายน 2567 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา นำคณะลงพื้นที่ศึกษาดูงานเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ การจัดสวัสดิการสังคมแก่แรงงานผู้ประกันตน
พล.ต.อ.อดุลย์ ปธ.กมธ.แรงงาน วุฒิสภา ลงพื้นที่โคราช ติดตามความก้าวหน้าดูแลสุขภาพผู้ประกันตนเชิงรุกในสถานประกอบการ
พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา นำคณะลงพื้นที่ศึกษาดูงานในสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการดูแลสุขภาพผู้ประกันตนเชิงรุก
พล.ต.อ.อดุลย์ ปธ.กมธ.แรงงาน วุฒิสภา จับมือภาคเอกชน มอบเงิน สิ่งของ เป็นสวัสดิการสร้างขวัญกำลังใจชาวนครพนม
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว สมาชิกวุฒิสภา ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา เป็นประธานมอบเงินและสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อเป็นสวัสดิการและขวัญกำลังใจให้แก่ข้าราชการ ลูกจ้าง ผู้สูงอายุ และประชาชนผู้ยากไร้ในจังหวัดนครพนม
อีกแล้ว! กมธ.แรงงานแฉมีกลุ่มคนอ้างชื่อ สส.ก้าวไกลตบทรัพย์ไซต์งาน
'กมธ.การแรงงาน' ยัน ไม่เคยแต่งตั้งหน่วยลับลงพื้นตบทรัพย์ หลังพบกลุ่มคนอ้าง 'สุเทพ ก้าวไกล' เรียกรับเงินหลักหมื่นคาไซต์งานก่อสร้างปราจีนบุรี ย้ำต้องจัดการ ทำสภาเสื่อมเสีย
กมธ.แรงงาน วุฒิสภา ลงพื้นที่สกลนคร เยี่ยมสวนเกษตรอินทรีย์ ตัวอย่างแรงงานไทยย้ายถิ่น นำองค์ความรู้ต่อยอด สร้างอาชีพ รายได้งาม
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา มอบหมายให้ นายจรินทร์ จักกะพาก รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปประเทศด้านแรงงาน
พล.ต.อ.อดุลย์ นำคณะกรรมาธิการลงพื้นที่เชียงใหม่ เยี่ยมศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค3
พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานวุฒิสภา นำคณะอนุกรรมาธิการด้านการจัดหางานและพัฒนาฝีมือแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เยี่นมศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 3 เพื่อชมความพร้อมของศูนย์และผลักดันแนวทางด้านประกันสังคม