สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) จัดกิจกรรม เสวนา “สื่อสร้างสรรค์ภาคีสร้างสุข” by สภส. ภายใต้โครงการความร่วมมือการสื่อสารเพื่อสนับสนุนภาคีสุขภาวะ เพื่อสร้างความร่วมมือกับ 5 สถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนานักสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสื่อสารการขับเคลื่อนงานภาคีเครือข่ายสุขภาวะ
รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) Thai PBS กล่าวว่า หัวใจสำคัญของสื่อในปัจจุบันและอนาคต คือ สื่อต้องสร้างความผูกพัน (Engagement) กับผู้ชมผู้ฟังให้มากที่สุด ซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลแบบ Insight และติดตามผู้ชมผู้ฟังจนเกิดเป็นความสัมพันธ์ที่ดี ดังนั้น คนทำสื่อรุ่นปัจจุบันจึงต้องเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมไปกับการเป็นนักสร้างสรรค์เนื้อหาที่ดีด้วย นอกจากนี้สื่อต้องเป็น สื่อต้องเป็น Fact Checker เป็นที่พึ่งในการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ประชาชน การเป็นนักสื่อสารที่ดีต้องเป็น Meaningful Creator คือการสร้างสรรค์เนื้อหาที่มีเป้าหมายชัดเจนว่าอยากทำให้เกิดความหมายอะไรที่มีผลต่อการยกระดับจิตใจของประชาชน สื่อสารนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมแบบร่วมกันหาทางออกให้สังคม ซึ่งปัจจุบันเครื่องมือสื่อสารใหม่ๆจะช่วยให้สื่อแสดงบทบาทระดมการมีส่วนร่วมได้ง่ายขึ้น
ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) กล่าวว่าโครงการความร่วมมือการสื่อสารเพื่อสนับสนุนภาคีสุขภาวะ มีเป้าหมาย 3 ประเด็นสำคัญ 1. สื่ออย่างไรให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตัวเอง 2. สื่อสารที่นำไปสู่การขับเคลื่อนผลักดันนโยบายที่ดีต่อสุขภาพ 3. สื่อที่ดีต้องสานพลังภาคีเครือข่ายได้ ที่สำคัญเราหวังให้เกิดนักสื่อสารหน้าใหม่ เป็นตัวกลางถ่ายทอดผลงานภาคีเครือข่าย เพื่อให้สังคมเกิดการเห็นคุณค่า “นักสร้างเสริมสุขภาพ” โดยสานพลังคนทำงานสื่อสาร กับภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างนวันตกรรมใหม่ ให้เกิดรูปแบบการสื่อสารสุข นำไปสู่สุขภาพที่ดีใน 4 มิติ คือ กายที่ไม่เป็นโรค สุขภาพจิตที่ดี สุขภาพทางปัญญาที่ก่อให้เกิดการแยกแยะ การตรึกตรองและความรอบรู้ สุดท้ายคือ สุขภาพสังคม ดังนั้น การสื่อสารจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนสังคมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ
นายสุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ ผู้ก่อตั้งเพจ ‘Toolmorrow’ ภาคีด้านเด็ก ครอบครัว และผู้เชี่ยวชาญด้านการทำสื่อ กล่าวว่า แนวทางการทำงานสื่อที่จะตรงกับใจคนต้องมาจากประสบการณ์ร่วม และตั้งคำถาม ขับเคลื่อนสังคม จากประสบการณ์ค้นพบว่าทุกครั้งที่คลิปมีคนดูจำนวนมาก แค่การรับรู้ไม่เพียงพอ จึงต้องขยับมาสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สร้างเนื้อหาให้เกิดความตระหนักรู้ สื่อสารให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคม และถึงกลุ่มเป้าหมาย คุณสมบัติที่นักสื่อสารต้องมี 1.เข้าอกเข้าใจ 2. เอาผู้ชมเป็นศูนย์กลาง 3. สร้างการมีส่วนร่วมในการคิดงาน อย่าด่วนสรุปว่าความคิดของเราเป็นสิ่งที่ดีต่อกลุ่มเป้าหมาย แต่ต้องสื่อสารให้คนกลุ่มนั้นมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ด้วยการขยายผลให้กลุ่มเป้าหมายเห็นผล เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน ต้องหาตรงกลางให้ได้ว่า คนดูอยากดูอะไร แล้วเราจะสื่อสารอย่างไร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชาวเชียงใหม่อุ่นใจ สสส.-มช. เดินหน้าโครงการ "Chiang Mai Greentopia" ช่วยลดสารเคมีตกค้างในเลือดได้สูง ภายใน 2 ปี ลดเหลือ 66% จาก 90%
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 13 ม.ค. 2568 ที่สวนผักฮักร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ตัวแทนเกษตรกร ภาคีเครือข่าย และสื่อมวลชน ติดตามการดำเนินงานโครงการ Chiang Mai Greentopia : ต้นแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร
พลังแห่งการเล่น..พาเด็กก้าวข้ามวิกฤต ไทยเปิดตัว"สมาคมการเล่นนานาชาติ"
การเล่นเพื่อเปลี่ยนโลก!! เชื่อว่าผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ มีปุจฉา และต้องการวิสัชนาว่า ทำไม?!? เรื่องเล่นๆ ถึงจะมาเปลี่ยนโลกได้ และท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ
สสส. สานพลัง พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)-Mappa-กสศ.-กทม. จัดเทศกาล 'Relearn Festival 2025' ชูแนวคิด 'Intergeneration ลดช่องว่างระหว่างวัย สร้างความเข้าใจระหว่างกัน' วันที่ 11 ม.ค.-9 ก.พ.68 นี้
เปิดพื้นที่ชวนครอบครัวเปลี่ยนมุมมอง-สร้างทักษะการเลี้ยงดูเด็กยุคใหม่ ลดช่องว่างระหว่างวัยของเด็ก-ผู้ใหญ่ หลังพบเด็ก 25.6% ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ความรุนแรงในครอบครัวพุ่งสูงขึ้น 2 เท่า ในรอบ 7 ปี
เด็กไทยป่วยซึมเศร้าทะลุ 2,200 คน ต่อประชากรแสนคน เสี่ยงทำร้ายตัวเอง 17.4% ซ้ำเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพจิต
ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน จัดกิจกรรม “ดูแลวัยเด็กด้วยศิลปะด้านใน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568” ภายใต้โครงการโมเดลวิทยากรต้นแบบศิลปะด้านในเชิงลึกเพื่อขยายชุมชนการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะเด็กก่อนวัยรุ่น เปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน พ่อแม่
กรมกิจการเด็กและเยาวชน จับมือ มูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว-สสส. จัดเสวนาสะท้อนปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 68 เสริมแกร่งความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิเด็ก
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 8 ม.ค. 2568 ที่โรงแรมแมนดาริน กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยมูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ชี้คนไทย"พร่อง"กิจกรรมทางกาย สสส.รณรงค์สร้างสุขกระฉับกระเฉง
โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 เฉลี่ย 3 แสนคนต่อปี คิดเป็น 75% ของสาเหตุการตายทั้งหมด ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูง