63 ปี การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค Digital Grid & Green Energy

ตลอดระยะเวลา 63 ปี การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) มุ่งมั่นให้บริการพลังงานไฟฟ้าและดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจทั้งด้านคุณภาพและบริการ ตอบสนองวิสัยทัศน์    “ไฟฟ้าอัจฉริยะ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน” (SMART ENERGY FOR BETTER LIFE AND SUSTAINABILITY)

ในโอกาสครบรอบสถาปนาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค วันที่ 28 กันยายน 2566 PEA ยังคงเดินหน้าบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพด้วยระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นการเป็นระบบดิจิทัลรองรับพลังงานสะอาด พลังงานแห่งอนาคตสู่ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า ขับเคลื่อนการส่งเสริมพลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ รวมถึงรองรับการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้า ด้วยการใช้ 3 SMART ได้แก่ SMART ENERGY, SMART ENVIRONMENT, SMART MOBILITY ในการขับเคลื่อนไปสู่ DIGITAL GRID & GREEN ENERGY

1.SMART ENERGY PEA มุ่งเน้นให้เกิดนวัตกรรมด้านพลังงานใหม่และส่งเสริมการพัฒนาด้านพลังงาน รวมทั้งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมากยิ่งขึ้น เพื่อมุ่งสู่พลังงานสะอาดและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์

-SMART GRID : ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ นำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับระบบไฟฟ้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบไฟฟ้า โดยประเทศไทยวางแผนระยะยาว 20 ปี ตั้งแต่ปี 2558 – 2579 ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารมาบริหารจัดการควบคุม การผลิต ส่ง และจ่ายพลังงานไฟฟ้า รองรับการเชื่อมต่อระบบผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือกที่กระจายอยู่ทั่วไปมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งให้บริการกับผู้เชื่อมต่อกับโครงข่ายผ่านมิเตอร์อัจฉริยะ (AMI : ADVANCE METERING INFRASTRUCTURE) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มั่นคง ปลอดภัย เชื่อถือได้ มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล

- มิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ : PEA ดำเนินการสับเปลี่ยนทดแทนมิเตอร์จานหมุนให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ จำนวนกว่า 19 ล้านราย ทั่วประเทศ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งมิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์สามารถจดหน่วยในระยะไกลด้วยระบบ Bluetooth รูปลักษณ์ที่ทันสมัย หน้าจอแสดงผลแบบดิจิทัลอ่านค่าง่าย ชัดเจน แม่นยำ เก็บประวัติการใช้ไฟฟ้าได้ รองรับการซื้อขายไฟฟ้าในอนาคต

- PEA SOLAR : PEA ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพตามนโยบายภาครัฐ โดยส่งเสริมการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ช่วยลดค่าไฟฟ้า เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อนที่มีแดดจัดเหมาะกับการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ PEA SOLAR ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (SOLAR ROOFTOP) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน บริการของ PEA มีขั้นตอนที่สะดวก รวดเร็ว ครบวงจร มีผู้เชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้า มีสำนักงาน PEA ครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมให้คำแนะนำทุกขั้นตอน

- PEA WISE ENERGY : ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง ประกอบด้วย ไฮบริดอินเวอร์เตอร์ และลิเธี่ยมแบตเตอรี่ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแปลงพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์มาใช้เป็นไฟฟ้าภายในบ้านได้ตลอด 24 ชั่วโมง

- PEA VOLTA : อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าตามแนวคิด “ครอบคลุมทั่วไทย ชาร์จมั่นใจทุกเส้นทาง” ในปี 2566 จะมีสถานี 413 สถานี ครบ 75 จังหวัดทั่วประเทศ สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า และเปิดบริการเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าพิกัดสูง (EV SUPER CHARGE) ขนาด 360 kW ซึ่งเป็นเครื่องอัดประจุพิกัดสูงที่สุดในประเทศไทย (SUPER CHARGE) ตอบสนองความต้องการของรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ ที่มีสมรรถนะที่สูงขึ้น รองรับการอัดประจุไฟฟ้าด้วยพิกัดกำลังไฟฟ้าสูง ระยะเวลาอัดประจุลดลง นอกจากนี้ PEA ให้บริการ Network Operator กรณีที่ผู้ประกอบการลงทุนในเครื่องอัดประจุ สามารถนำเครื่องอัดประจุดังกล่าวมาให้บริการผ่าน Platform PEA Volta รวมถึง การ Roaming ระหว่างเครือข่าย

- DC Wallcharge : เครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสตรงขนาด 25 kW เชื่อมต่อกับระบบบริหารจัดการ PEA VOLTA Platform เพื่อให้บริการอัดประจุไฟฟ้าให้กับยานยนต์ไฟฟ้าในรูปแบบการใช้งานในครัวเรือน ทำให้ประชาชนเป็นเจ้าของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น มุ่งสู่การให้บริการกลุ่มลูกค้าใหม่หรือธุรกิจใหม่ โดยติดตั้งในพื้นที่สาธารณะ เช่น ส่วนกลางของหมู่บ้าน พื้นที่จอดรถในห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม หรืออาคารธุรกิจขนาดเล็ก เตรียมความพร้อมให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าข้ามโครงข่าย (EV ROAMING) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนใช้งานแอปพลิเคชัน

2.SMART ENVIRONMENT PEA ให้ความสำคัญในการดำเนินการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควบคู่ไปกับการพัฒนาและส่งเสริมโครงการที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมและชุมชน ปัจจุบัน PEA ให้บริการจัดการพลังงานอย่างครบวงจร โดยมีการให้บริการใน 2 รูปแบบคือ

- ESCO MODEL : การบริหารจัดการด้านพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยลดต้นทุนพลังงานส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล รวมทั้งภาคเอกชนต่างๆ  ทั่วประเทศ โดย PEA เป็นผู้ลงทุนดำเนินการในรูปแบบจัดการพลังงาน ESCO MODEL

- EPC MODEL (Engineering Procurement and Construction) : การให้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบเบ็ดเสร็จ ทั้งด้านการออกแบบทางวิศวกรรม การติดตั้งโครงสร้างระบบโซลาร์เซลล์ ซึ่งเจ้าของพื้นที่ลงทุนเอง โดย PEA ดำเนินการสำรวจ ออกแบบ จัดหาและติดตั้งบำรุงรักษา ด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ มีจุดให้บริการกว่า 900 จุดทั่วประเทศ และอำนวยความสะดวกโดยร่วมกับพันธมิตรธนาคารจำนวน 6 แห่ง เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยพิเศษให้กับเจ้าของพื้นที่

3.SMART MOBILITY  PEA พัฒนาช่องทางดิจิทัลสำหรับบริการลูกค้าผ่านช่องทาง PEA Smart Plus และ PEA e-Service ตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป มุ่งเน้นให้บริการที่มีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย สะดวก ง่ายต่อการใช้งาน

- PEA Smart Plus บริการครบจบใน APP เดียว อาทิ ชำระค่าไฟฟ้า ประวัติการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง แจ้งไฟฟ้าขัดข้อง ขอใช้ไฟฟ้า คำนวณค่าไฟฟ้า ตั้งค่าแจ้งเตือนค่าไฟฟ้า ตรวจสอบค่าไฟฟ้า เพิ่มการให้บริการรับชำระเงินผ่าน Application เช่น ค่าเช่าหม้อแปลง ค่าขยายเขต ค่าพาดสายสื่อสาร ค่าตรวจสอบและบำรุงรักษาหม้อแปลง เป็นต้น

- PEA e-Service อำนวยความสะดวกในการให้บริการผ่านเว็บไซต์ www.pea.co.th อาทิ ขอรับใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ชำระค่าไฟฟ้า ขอใช้ไฟฟ้า สอบถามประวัติการใช้ไฟฟ้า

PEA พร้อมขับเคลื่อนสู่องค์กรไฟฟ้าอัจฉริยะ พัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นให้บริการพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจเกี่ยวเนื่องครบวงจรและมีประสิทธิภาพ มั่นคง ปลอดภัย เชื่อถือได้สร้างสังคมสีเขียวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

PEA คว้า 5 รางวัลนวัตกรรม จาก 3 ผลงาน บนเวทีนานาชาติ “Taiwan Innotech Expo 2024” (TIE 2024) ณ กรุงไทเป ไต้หวัน

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) คว้า 5 รางวัลนวัตกรรม จากเวทีนานาชาติ “Taiwan Innotech Expo 2024” (TIE 2024) ณ กรุงไทเป ไต้หวัน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 – 19 ตุลาคม 2567 มีผลงานนวัตกรรมเข้าร่วมการประกวดมากกว่า 1,000 ผลงาน จาก 20 ประเทศ โดย PEA ได้รับรางวัล ดังนี้

ตร.พร้อมรับทำคดี ปม 'ตัดไฟ' ยายป่วยติดเตียงเสียชีวิต

พ.ต.อ.จิรุฏฐ์ พิมพา ผกก. สภ.วังยาง มอบหมายให้ พ.ต.ท.ยงยุทธ ผิวพรรณ์ รอง ผกก.สอบสวน และเจ้าหน้าที่ตำรวจเกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ให้กำลังใจญาติ และร่วมไว้อาลัยศพ

รพ.-ญาติ ถามหามนุษยธรรม เอกชนได้ค่า 'ตัดไฟ' ปมผู้ป่วยติดเตียงเสียชีวิตในบ้าน

กลายเป็นกระแสดราม่าหนัก สำหรับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขา อ.วังยาง จ.นครพนม (กฟภ.อ.วังยาง) หลังพนักงานบริษัทเอกชน ที่ประมูลรับช่วงได้จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

'อนุทิน' สั่งผู้ว่าฯกฟภ. ทำรายงานกรณีจนท.ตัดไฟ ทำหญิงป่วยหนัก เสียชีวิตคาบ้าน

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครพนม ได้ตัดไฟฟ้าบ้านผู้ป่วยติดเตียงที่กำลังใช้

จนท.ตัดไฟ อ้างทำตามหน้าที่ รู้มีคนป่วยหนักต้องใช้ไฟ สุดท้ายหญิงวัย 68 เสียชีวิตคาเตียง

เกิดเรื่องสลดขึ้น เมื่อนางสาวนงลักษณ์ จันทร์ชนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านนาขาม (ผอ.รพ.สต.นาขาม) ต.วังยาง อ.วังยาง จ.นครพนม พร้อมญาติผู้เสียชีวิต ออกมาร้องเรียนผ่านสื่อ

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ครบรอบ 64 ปี “พัฒนาพลังงานเพื่อสังคมไทย สู่อนาคตที่ยั่งยืนด้วยพลังงานสะอาด”

วันที่ 11 กันยายน 2567 นายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แถลงผลการดำเนินงาน เนื่องในโอกาส การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคครบรอบ 64 ปี 28 กันยายน 2567 โดยมีผู้บริหาร และ พนักงาน ร่วมงานแถลงข่าว ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคาร 4 สำนักงานใหญ่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค