กองทุนพัฒนาสื่อฯ คว้านักเขียนบทเกาหลีแนะเคล็ดลับนักเขียนบทละครไทย

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ สมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ จัดงานเปิดตัว กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักเขียนบทละครโทรทัศน์ ร่วมกับ นักเขียนบ ทละครจากสาธารณรัฐเกาหลี “Storyteller intensive program with Korean professional screenwriter 2023”

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ สมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ จัดงานกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักเขียนบทละครโทรทัศน์ ร่วมกับ นักเขียนบทละครจากสาธารณรัฐเกาหลี “Storyteller intensive program with Korean professional screenwriter 2023” โดยมี ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมด้วยนายคฑาหัสต์ บุษปะเกศ นายกสมาคมนักเขียนบทโทรทัศน์ และนายเทินพันธ์ แพนสมบัติ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์สำหรับประชาชน ร่วมด้วย โดยจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน คือวันที่ 5-6 กันยายน 2566 เวลา 09.00 -17.00 น. ณ ห้องซาลอน เอ ชั้น 2 โรงแรม สวิสโซเทล กรุงเทพฯ รัชดา

โดยงานนี้ได้รับความร่วมมือจาก นักเขียนจากสาธารณรัฐเกาหลี ส่งนักเขียนบทละครมืออาชีพจากเกาหลี 3 ท่าน ได้แก่ Yoonjung Jung นักเขียนบทละครเจ้าของเรื่อง Idol - The Coup / The Bride of Habaek 2017 / Misaeng / Monstar / Arang and the Magistrate / Joseon Scientific Investigation Unit - Byulsungum รวมถึง Hyejin Park นักเขียนบทละครเจ้าของเรื่อง Sword and Flower / The Emperor: Owner of the Mask / Café MINAMDANG และ Jaeeun Kim นักเขียนบทละครเจ้าของเรื่อง The Forbidden Legend / Iris / Bad Guy / Iris for Movie / R2B: Return to Base มาเป็นวิทยากรในหลักสูตรเข้มข้นเกี่ยวกับการสร้างสรรค์บทโทรทัศน์ และการสร้างแนวความคิดของการเล่าเรื่องที่น่าสนใจ โดดเด่น จนได้รับการชื่นชอบติดตามจากผู้ชม เป็นเวลา 2 วัน โดยมีนักเขียนบทละครโทรทัศน์มืออาชีพของไทย เข้าร่วมการอบรม

การจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักเขียนบทโทรทัศน์ในระดับมืออาชีพ ในฐานะผู้คิดสร้างสรรค์งานเล่าเรื่องให้มีทักษะสร้างสรรค์สื่อปลอดภัยและเหมาะสมกับบริบทของสังคม ทั้งยังส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้การเล่าเรื่องและการเขียนบทละครโทรทัศน์ที่สามารถนำมาพัฒนาทักษะการออกแบบและการสร้างสรรค์สื่อที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมส่วนรวม นอกจากนี้ยังส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกระบวนการคิดและผลิตสื่อที่มีเนื้อหาปลอดภัยและสร้างสรรค์ ด้วยองค์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยุ่ ภูมิปัญญา สภาพปัญหา ตลอดจนอัตลักษณ์ท้องถิ่นอันนำไปสู่แนวทางการสร้างสรรค์เนื้อหา (Content) และการคิดโครงเรื่อง (Plot) และศิลปะของการเล่าเรื่อง (Storytelling) สำหรับผลิตเป็นบทละครโทรทัศน์ หรือสื่อในมิติอื่นๆ ที่แปลกใหม่และน่าสนใจต่อไปในอนาคต

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า เราสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตในประเทศไทย ซึ่งมีหลายโครงการที่จะดำเนินการ สำหรับโครงการในวันนี้ตั้งเป้าผลิตนักเขียนหน้าใหม่ปีละ 25 คน และจะผลักดันให้เกิดผลงานจริงๆ ปีละ 5 คน และเพิ่มเป็น 10-15 คนไปเรื่อย ๆ เราต้องการให้คนสามารถทำสื่อเป็นอาชีพได้ มีการต่อยอดเป็นหนังสั้น เป็นต้น

“เกาหลีมีการวางพลอตเรื่องแบบเดายากมาก หักมุมแบบไม่น่าเชื่อ ซึ่งเขาเก่งมาก จริงๆ คนไทยก็ทำได้ แต่อาจต้องการทริคบางอย่าง ที่ต้องการการเรียนรู้จากต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ ถือเป็นทางลัด ไม่สามารถก็อปปี้ได้แต่เรียนรู้ได้” ดร.ธนกร กล่าว

นายคฑาหัสต์ บุษปะเกศ นายกสมาคมนักเขียนบทโทรทัศน์ กล่าวว่า เราได้รับความอนุเคราะห์จากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่จัดงบประมาณในการนำนักเขียนเกาหลีมาร่วมแบ่งปันเทคนิคให้กับนักเขียนไทยที่เป็นสมาชิกสมาคมฯ เราให้ความสำคัญกับ soft power เพื่อให้ประเทศไทยที่จะพัฒนาไปสู่นานาชาติได้ ส่วนหนึ่งเราต้องศึกษาจากผู้ที่ประสบความสำเร็จคือ เกาหลี ซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุดของเกาหลีคือ content ที่มีความโดดเด่นมาก

นายเทินพันธ์ แพนสมบัติ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์สำหรับประชาชน กล่าวว่า เป็นโอกาสดีที่นักเขียนบทไทยจะได้รับความรู้และเทคนิคใหม่ ๆ เพื่อก้าวสู่นานาชาติมากขึ้น เป็นมิติที่จะทำให้เกิดการพัฒนาของคนในแวดวงสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะคนทำงานด้านละคร โดยเฉพาะบทหรือการเล่าเรื่อง นี่คือต้นทางที่จะทำให้งานออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สภาผู้แทนฯ รับทราบรายงานประจำปี 2566 ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

(25 ก.ค.67 ) สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา รับทราบรายงานประจำปี 2566 ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ชี้แจงสรุปรายงานประจำปี 2566 โดย

ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ชี้แจงกองทุนพัฒนาสื่อฯ มีกระบวนการและพิจารณาทุนโปร่งใส มีธรรมาภิบาล พร้อมร่วมมือตรวจสอบ

(3 กรกฎาคม 2567) ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ชี้แจงกรณีตามที่มีข่าวผู้รับทุนยื่นหนังสือต่อ ป.ป.ช. และ ป.ป.ท.

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ มูลนิธินักศึกษาสถาบันพระปกเกล้าเพื่อสังคม ลงนามความร่วมมือเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเครือข่ายให้ความรู้ และพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

(20 มิถุนายน 2567) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ลงนามความร่วมมือกับ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดผลการดำเนินงานเฝ้าระวังภัยออนไลน์ จาก 5 ภูมิภาคของไทย

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เผยผลสรุปเสวนาการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อจาก 5 ภูมิภาค ของคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่

“มนต์รักกันตรึม เฟสติวัล” ผลักดัน Soft Power อาหาร การเเต่งกาย เเละวงดนตรีกันตรึมของดีประจำจังหวัดบุรีรัมย์

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยเเละสร้างสรรค์ ร่วมกับ ช่องวัน31 เเละจังหวัดบุรีรัมย์ จัดงาน “มนต์รักกันตรึม เฟสติวัล” เพื่อสนับสนุนเเละส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งการท่องเที่ยวชุมชน

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัด “โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อ (บ่มเพาะ) ปีที่ 2”

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดอบรม “โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อ (บ่มเพาะ) ปีที่ 2” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือรอบพิเศษ