ถอดบทเรียนความสำเร็จ “ขับเคลื่อนเลิกเหล้าโดยชุมชน”

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2564 เกี่ยวกับสถานการณ์การดื่มสุราของคนไทย พบผู้ที่เคยดื่มหนักในรอบ 12 เดือน ประมาณ 5.7 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอดจากร้อยละ 14 ในปี 2557 ในขณะที่ข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานคัดกรองและการบำบัดผู้มีปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2566 พบผู้มีปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้รับการบำบัดในสถานพยาบาลร้อยละ 65 ซึ่งยังมีผู้ที่เข้าไม่ถึงบริการบำบัดรักษาหรือไม่พร้อมจะเดินเข้าสู่ระบบสุขภาพอีกจำนวนมาก

สามารถกล่าวได้ว่า แม้สถานการณ์การดื่มสุราของคนไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ก็ยังคงมีช่องว่างช่องโหว่เปิดโอกาสให้  "แอลกอฮอล์" สร้างผลกระทบในสังคมไทยได้   หากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ "ผู้ดื่ม" ยังขาดความตระหนักรู้ เข้าถึง เข้าใจ ว่าประเทศไทยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล โรคที่เกิดจากการดื่มอย่างหนักเป็นเวลานาน นับเป็นตัวเลขมหาศาล 

ช่วงก่อนเข้าเทศกาลเข้าพรรษา เมื่อวันที่ 20  ก.ค.2566 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. จึงได้ร่วมกับ "สมาคมฮักชุมชน" จัดเวทีการประชุมถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนการดูแลผู้มีปัญหาสุราและสุขภาวะโดยชุมชน ที่โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต ด้วยแนวคิดที่ว่า ช่วงเข้าพรรษานั้น เป็นสถานการณ์และห้วงเวลาที่เหมาะในการรณรงค์ตอกย้ำให้ทุกชุมชนในสังคมไทยได้ตระหนักถึงประโยชน์ของการเลิกเหล้า ทั้งต่อสุขภาพและครอบครัว ตลอดไปจนถึงระบบสาธารณสุขของชาติ

นางสาวรุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก  (สสส.) กล่าวเปิดเวทีว่า ขณะนี้กระแสการดื่มเหล้าหรือไม่ดื่มในสังคมไทยเข้มข้น เพราะเป็นสิทธิของผู้ดื่ม สสส.และภาคีเครือข่ายนำเสนอข้อมูลให้ครบถ้วน เพื่อผู้ดื่มตัดสินใจที่จะเลือกดื่มหรือไม่ดื่มในโอกาสต่างๆ แอลกอฮอล์ส่งผลกระทบเป็นตัวเงินแสนหกหมื่นห้าพันล้านบาท เราต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคที่เกิดจากการดื่มอย่างหนักเป็นเวลานาน ผู้ดื่มกลายเป็นผู้ป่วย

“ผู้ดื่มไม่มีสติเพียงพอ ทำให้เกิดปัญหาที่คาดไม่ถึง ออกจากบ้านไม่ถึง 5 กม. ขี่มอเตอร์ไซค์ออกมาเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นช่วงเข้าพรรษา 3 เดือน มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะหยุดดื่มเหล้า จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของตัวเองและคนรอบข้างพอใจจนเห็นผลได้อย่างดี”

“สสส.ได้ขยายการทำงานสานพลังภาคีเครือข่าย ผ่านสมาคมฮักชุมชน ในโครงการขับเคลื่อนการดูแลผู้มีปัญหาสุราและสุขภาวะโดยชุมชน เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าสู่กระบวนการลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเน้นการทำงานผ่านชุมชนและวัดเป็นสำคัญ เพราะมีความใกล้ชิดกลุ่มเป้าหมายและการป้องกันแก้ไขปัญหาในชุมชนร่วมกัน โดยเตรียมรณรงค์ให้ประชาชน ลด ละ เลิก ในวันช่วงเข้าพรรษา โดยใช้ชื่อว่า ปีนี้ใครๆ ก็งดเหล้าเข้าพรรษา เชื่อว่าหลายคนจะถือเอาช่วงเวลาเข้าพรรษา 3 เดือน เป็นจุดเริ่มต้นตั้งใจที่จะเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” นางสาวรุ่งอรุณเปิดเผย

นางสาวรักชนก จินดาคำ นายกสมาคมฮักชุมชน เปิดเผยถึงที่มาของสมาคมฮักชุมชน ได้ริเริ่มโครงการขับเคลื่อนการดูแลผู้มีปัญหาสุราและสุขภาวะโดยชุมชน ดำเนินการใน 26 พื้นที่จาก 10 จังหวัด โดยมีรูปแบบที่ให้ชุมชนได้วิเคราะห์เลือกและนำไปปฏิบัติในพื้นที่ 2 รูปแบบคือ รูปแบบธรรมนำทาง และรูปแบบกลุ่มฮักครอบครัว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดผลลัพธ์สำคัญ คือ 1.กลไกขับเคลื่อนงาน ที่คนในชุมชนมีส่วนร่วม เป็นเจ้าของปัญหา มีความเข้าใจ และพร้อมดำเนินการในมิติการบำบัดดูแลผู้มีปัญหาสุรา 2.มีความรู้ ทักษะ เครื่องมือในการดูแลผู้มีปัญหาสุรา ที่คณะทำงานในพื้นที่และชุมชนสามารถนำไปใช้ได้และติดตามผลได้ 3.ผู้มีปัญหาสุรา สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิก ดื่มสุรา มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนในครอบครัวและชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นางสาวรักชนกยืนยันว่า รูปแบบธรรมนำทาง มีกิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมอยู่วัดรู้ธรรม 7 วัน 6 คืน และกิจกรรมติดตาม นำ หนุน ใจ มีพระสงฆ์เป็นผู้มอบหลักธรรม สร้างสติ หนุนเสริมปัญญาควบคู่ไปกับบุคลากรสุขภาพให้ความรู้ผลกระทบสุรา การดูแลสุขภาพ โดยมีผู้นำชุมชนและ อสม.ช่วยสร้างแรงจูงใจให้สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม สนับสนุนกระบวนการการติดตามผล ครอบครัวคอยให้ความรักความเข้าใจ ให้โอกาสกับผู้ที่อยากเลิกสุรา และลดการกระตุ้นการกลับไปดื่ม

ขณะที่รูปแบบกลุ่มฮักครอบครัว มีกิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์ชุดทักษะความรู้ 8 ครั้ง 8 สัปดาห์ และกิจกรรมติดตาม นำ หนุน ใจ โดยผู้มีปัญหาสุราและสมาชิกในครอบครัวจะต้องมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง

โดยทั้ง 2 รูปแบบใช้รวมเวลา 12 เดือน โดยมีเครื่องมือสำคัญคือ แบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลการดื่มสุรา ผลกระทบและความสุข แบบประเมิน พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และแบบประเมินคุณภาพชีวิต

“แต่ละชุมชนจะมีการวิเคราะห์เลือกเองจากความเหมาะสม กิจกรรมสำคัญอยู่ที่กลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องของทักษะความรู้ประสบการณ์ในเรื่องของการดื่มสุราและแก้ปัญหาของสมาชิกแต่ละคน หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 2 รูปแบบ จะมีการติดตาม นำ หนุน ใจ จะเป็นลักษณะของการติดตามที่บ้าน ติดตามแบบลักษณะกลุ่ม และมีการฝึกพัฒนาทักษะ ให้อาชีพ สร้างรายได้ เพื่อให้การเลิกสุราเกิดความยั่งยืน ไม่กลับมาดื่มซ้ำ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการติดตามผลทั้งในด้านการปรับพฤติกรรมการดื่มสุราและคุณภาพชีวิต ทั้งต่อผู้มีปัญหาสุรา ครอบครัว และชุมชน” นางสาวรักชนกชี้แจง

นายชุมพล นวลอ่อน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มฮักครอบครัว บ้านสันทราย อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ เล่าถึงประสบการณ์จากการเลิกสุราว่า เริ่มดื่มช่วงอายุ 20 ปี เพราะเพื่อนที่เรียนช่างไฟฟ้าที่กรุงเทพฯ ย่านฝั่งธนฯ ชักชวน ช่วงเลิกเรียนก็ตั้งวงดื่มสุรา และตามมาด้วยการทะเลาะวิวาท ยกพวกตีกันกับโรงเรียนอื่น จนเรียนจบ ปวส.กลับไปอยู่บ้าน ก็ดื่มเหล้าตามงานบุญต่างๆ ได้ทำงานช่วยดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลไชยปราการ ตอนนั้นพ่อเกิดอุบัติเหตุจากการดื่มแล้วกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงนาน 7-8 ปี จึงมีความคิดว่าอยากบวชให้พ่อ ตัดสินใจบวชพระช่วงเข้าพรรษา ลาสิกขามาแล้วก็ตั้งใจอยากเลิกดื่มสุราและเลิกบุหรี่ จึงเข้าร่วมโครงการกลุ่มฮักครอบครัว ร่วมกิจกรรมครบ 8 ครั้ง จนสามารถเลิกเหล้าได้สำเร็จ

“ฝากถึงคนที่อยากเลิก ให้คิดถึงตัวเองเป็นอันดับแรก คิดถึงคนในครอบครัว และลองคิดวิเคราะห์ข้อเสียของการดื่ม และพิจารณาว่าเราดื่มแล้วดีอย่างไร ไม่ดีอย่างไรบ้าง ก็จะเห็นภาพชัดเองว่าเราต้องเลิกดื่ม พอเราเลิกได้แล้ว ได้ไปเชิญชวนคนรอบตัว เพื่อน ครอบครัว คนในชุมชน ให้ลดละเลิก เพราะเราเคยเห็นผลกระทบจากการดื่มมาแล้ว เพื่อขยายกลุ่มไปให้ทั่วพื้นที่ หมู่บ้าน ชุมชน ใกล้เคียง เพื่อให้ทุกคนเลิกสุราได้สำเร็จ” นายชุมพลให้ข้อคิด.

ดร.พระครูวรสุตเขต เจ้าอาวาสวัดสันทราย คณะทำงานกลุ่มฮักครอบครัว บ้านสันทราย อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่

อาตมาทำให้ครอบครัวอบอุ่นด้วยธรรมะ ได้กระแสตอบรับจากเยาวชน ใช้กระบวนการสามประสานการทำงานกลุ่ม บริหารจัดการ อำนวยการ งานฮักครอบครัวยั่งยืน สมาคมฮักชุมชน สะพานไม้ไผ่ไม่ใช่สะพานเหล็ก ต้องถอนออกไป การขยายเครือข่ายสมเตี๊ยะ หมู่บ้านแม่พัลลภ การจัดประชุมกรรมการเพื่องดเหล้าช่วงเข้าพรรษาที่ อ.ไชยปราการ มีนายอำเภอเป็นประธาน เป็นการขยายผลทั้งอำเภอ แต่งตั้งคณะกรรมการทุกภาคส่วนครอบคลุมในทุกพื้นที่ เชื่อมโยงเครือข่ายทำให้งานเดินหน้าต่อไป ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องหาคนแถว 2 แถว 3 เข้ามาทำงาน เดินตามเรา ถ้ามีแค่เราคนเดียว ไม่มีคนเดินตาม ก็ต้องปลุกจิตสำนึกฮักชุมชนสร้างเยาวชน นักรณรงค์ นักเรียนระดับมัธยมเข้าร่วมกิจกรรม ปลูกฝังจิตสำนึกทำงานเพื่อชุมชน ถ้าจะให้เกิดความยั่งยืนต้องสร้างคนแถว 2 แถว 3 ขึ้นมาทำงาน การปลูกฝังจิตสำนึกต้องระเบิดจากข้างในเชื่อมต่อการทำงานด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รณรงค์ "กินให้หมดจาน" 50ร้านต้นแบบช่วยลดขยะ

รู้หรือไม่?!?..... มีสถิติระบุว่า ขยะอาหารโลกพุ่งกว่า 1 พันล้านตัน ภาพขยะกองสูงเป็นภูเขาที่รอฝังกลบ กว่าครึ่งคือขยะอาหาร คนไทยเพียงคนเดียวผลิตขยะสูงลิ่ว 146 กก./คน/ปี

“รองนายกฯ ประเสริฐ” สั่งเดินหน้าคุมเข้มลดเจ็บ-ตายปีใหม่ เฝ้าระวัง “นักซิ่งเยาวชน” หลังพบดื่มแล้วขับ “เจ็บ-ตาย” เฉลี่ยชั่วโมงละ 3 คน เล็งเชื่อมข้อมูลทำระบบ “ใบสั่งออนไลน์”

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567

ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์

ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต