The Cloud สานพลัง 20 ผู้นำเทรนด์ ร่วมเวทีหนุนแนวคิดสู่ความยั่งยืน สสส. ชูการพัฒนาเทคโนโลยี ขับเคลื่อนไทยสู่การมีสุขภาวะที่ดี ด้าน กทม. เตรียมเสนอแก้กฎหมาย ลดมลพิษกรุงเทพฯ มุ่งเป้าเสริมสร้างความยั่งยืนทุกมิติ
ในงาน Sustrends 2024 I 50 เทรนด์ความยั่งยืนที่กำลังเปลี่ยนโลก ที่พิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ กรุงเทพฯ
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึง Sustainable well-being โดยชี้ถึงแนวโน้มการเคลื่อนตัวของสุขภาวะผ่าน 3 คำสำคัญ 1. Lifestyle well-being สุขภาพคนไทยเปลี่ยนไปจากต้นเหตุโรคติดเชื้อในอดีต มาสู่โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เช่น โรคมะเร็ง หัวใจ เบาหวาน ที่ต้นเหตุหลักเปลี่ยนมาเป็น “พฤติกรรมการใช้ชีวิต” และ “วิถีชีวิต” โดยวิถีชีวิตนี้ ไม่ได้ถูกลิขิตโดยเจ้าของชีวิตเองเท่านั้น แต่ถูกปรับแต่งโดยเงื่อนไขชีวิต การชักจูง กดทับ จากหลากหลายแหล่ง รวมถึงการส่งเสริมการค้าที่ต้องประชันกับการรณรงค์ด้านสุขภาพ
ดร.สุปรีดา กล่าวต่อว่า 2. Precision and De-Intermediarization well-being ที่แนวโน้มจากเทคโนโลยีทำให้การแพทย์และสาธารณสุขเจาะจงเฉพาะเข้าหารายบุคคลได้มาก เช่น เทคโนโลยี จีโนมิกส์ ที่อ่านแผนที่พันธุกรรม นำสู่การรักษาที่ตรงกับพันธุกรรมเฉพาะรายบุคคลอย่างแม่นยำกว่าการให้ยาแบบทั่วไป ไทยเริ่มโครงการสร้างแผนที่นี้ในคนไทย 5 หมื่นคนแรกแล้ว เช่นเดียวกับ Big data ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ ก็ส่งข้อมูลข่าวสารเจาะจงเข้าหารายบุคคลตามประวัติการรับข่าวสารและการใช้จ่าย โดยตัด “คนกลาง” ออก ไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน นักสาธารณสุข หรือแพทย์ ที่โปรแกรมวินิจฉัยโรคและการรักษาเริ่มเข้ามาทดแทน 3. Healthy Planet ที่มนุษย์บนโลกได้เรียนรู้จากความผิดพลาดในศตวรรษที่ผ่านมาว่า สุขภาวะที่ยั่งยืน ต้องคำนึงไม่เฉพาะสุขทุกข์ของมนุษย์ แต่ต้องรวมถึงสัตว์ สิ่งมีชีวิต และสรรพสิ่งในโลกควบคู่กันไป
“กฎบัตรเจนีวา โดยเพิ่งออกมาองค์การอนามัยโลกในปี 2565 ชี้ว่าสุขภาวะยุคใหม่ ต้องก้าวไปเชื่อมโยงกับระบบนิเวศน์โลก การพัฒนาสังคมที่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำทางสุขภาวะ ด้วยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง” ดร.สุปรีดา กล่าว
นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม. มีแนวทางการปรับแก้กฎหมายด้านความยั่งยืนของกรุงเทพฯ ที่จะนำเสนอต่อรัฐบาลใหม่ เพื่อให้ประชาชนใช้ชีวิตในเมืองอย่างมีความสุขมากขึ้น ทั้งการควบคุมการเข้า-ออกของรถบรรทุก จำกัดพื้นที่ควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอน หรือควันดำ สร้างผังเมืองโดยเฉพาะตึกสูงที่มีการอาศัยหลายพันยูนิต ให้มีโรงพยาบาล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอยู่รอบบริเวณ ที่ผ่านมา กทม. ได้ควบคุมการคัดแยกขยะในพื้นที่ ครัวเรือนที่คัดแยกขยะจะเสียค่าบริการน้อยลง ซึ่งทำให้ค่าบริหารจัดการขยะใน กทม. ลดลงกว่า 7 แสนบาท/วัน เป็นผลลัพธ์ความยั่งยืนระดับประเทศที่มาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน
นายทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการบริหาร The Cloud และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Cloud and Ground จำกัด กล่าวว่า การแข่งขันภายใต้กฎเกณฑ์ใหม่ของโลกที่ทุกองค์กรต้องเจอ คือการพัฒนาความยั่งยืน เนื่องจากประชาชน ผู้บริโภคใส่ใจความยั่งยืนมากขึ้น งาน Sustrends 2024 ตั้งเป้าเป็นกิจกรรมต้นแบบที่ใส่ใจความยั่งยืนอย่างแท้จริง สถานที่จัดงานเปิดโล่งไม่ใช้เครื่องปรับอากาศ พลังงานไฟฟ้ามาจากแผงโซลาร์เซลล์ รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มผลิตจากพืช (plant based) ภาชนะที่ใส่สามารถนำไปเพาะพันธุ์กล้าไม้ได้ มีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน ประชาชน และหน่วยงานไม่แสวงหากำไร 20 องค์กร เข้าร่วมถ่ายทอดความรู้ กระตุ้นสังคมสู่ความยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว
"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น
“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.
วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั
สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ
สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ
"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ
เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน
สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้
เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต