กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดแถลงข่าวเปิดรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรม ประจำปี 2567 มุ่งหวังให้ผู้รับทุนสร้างผลกระทบเชิงบวกให้สังคม ณ ห้องอารีย์ โรงแรม ควอเตอร์ อารีย์
ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ดำเนินการจัดสรรทุนเพื่อรณรงค์ส่งเสริมการพัฒนาสื่อ นับตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบันกว่า 8 ปี เราได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ความตั้งใจของกองทุน คือเราต้องการผู้รับทุนที่มีความคิดหลากหลาย แตกต่าง และสร้างสรรค์ โดยในปี 2567 กองทุนได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรทุน โดยแบ่งประเภทของทุนออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
ทุนประเภทเปิดรับทั่วไป วงเงิน 80 ล้านบาท ซึ่งเป็นการสร้างพื้นที่ เปิดโอกาสสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และ กลุ่มประชาชนทั่วไป ซึ่งเปิดกว้างในการผลิตเนื้อหา รวมถึงรูปแบบในการนำเสนอให้เป็นไปตามความคิดสร้างสรรค์ของผู้ขอทุน
ทุนประเภทยุทธศาสตร์ วงเงิน 180 ล้านบาท การสร้างผลงานที่สร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคม
ที่ทางกองทุนให้ความสำคัญและต้องการให้เกิดขึ้น โดยกำหนดประเด็นเนื้อหาการผลิตที่มีเป้าหมายสำคัญ 6 ประเด็นด้วยกัน คือ
1.พหุวัฒนธรรมและความหลากหลายทางสังคม
2.ทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ รวมถึงการรับมือกับข้อมูลบิดเบือน ประทุษวาจา และการระรานในโลกออนไลน์
3.การสร้างมูลค่าจากประเด็นเชิงวัฒนธรรม (Soft Power)
4.ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชน
5.ผลิตละครชุดเพื่อส่งเสริมศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม และความมั่นคง
6.ผลิตภาพยนตร์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามัคคี และสามารถใช้ชีวิตในสังคมที่มีความหลากหลายได้อย่างเป็นสุข
และสุดท้าย ทุนประเภทความร่วมมือ 40 ล้านบาท ที่ต้องการให้ภาคีเครือข่ายเข้ามาสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับกองทุน ‘กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เราเป็นหน่วยงานเล็ก ๆ ที่มีภารกิจที่ยิ่งใหญ่ เราต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในสังคม จึงต้องขอความร่วมมือกับประชาชนทุกภาคส่วนทั่วประเทศ ในการสนับสนุน ผลักดันให้เกิดระบบนิเวศสื่อที่ดีต่อสังคมไทย’
โดยในปีนี้ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ต้องการที่จะเน้นในเรื่องของ การสร้างผลลัพธ์ โดยต้องการสร้างสื่อที่มีผลผลิตที่สร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคม ทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ เพื่อให้ประชาชนได้ช่วยกันรับมือสื่อร้าย ขยายสื่อดี รวมถึงส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามัคคี และสามารถใช้ชีวิตในสังคมที่มีความหลากหลายได้อย่างเป็นสุข
‘สุดท้ายนี้ฝากถึงผู้ยื่นขอรับทุนประจำปี 2567 ในการยื่นขอรับทุน ให้มีการเตรียมความพร้อมและหลีกเลี่ยงการยื่นในช่วง 5 วันสุดท้าย เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากระบบ และหวังว่าจะได้ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานดีๆออกสู่สังคมร่วมกับทุกคนครับ’
ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวถึงไทม์ไลน์ และ กระบวนการในการจัดสรรทุน ว่า หลังจากการจัดงานแถลงข่าวเปิดรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรม ประจำปี 2567 จะมีการจัดอบรมการเขียนข้อเสนอโครงการให้กับผู้ขอรับการสนับสนุน ประจำปี 2567 ในวันที่ 26 กันยายน 2566 ขอให้ทุกท่านที่สนใจติดตามรายละเอียดการจัดงานเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊ก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
โดยในเดือนกันยายนนี้ เรามีการปรับระบบ PM เพื่อเตรียมรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรมฯ ประจำปี 2567 พร้อมทั้งปรับคู่มือกลั่นกรองโครงการ ประจำปี 2567
เดือนตุลาคม วันที่ 1 ต.ค. 66 เราจะทำการเปิดรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรมฯ ประจำปี 2567 โดยสามารถยื่นสมัครได้ผ่าน www.thaimediafund.or.th ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2566 เวลา 16.30 น. ภายในเดือนตุลาคมนี้ จะมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ คณะทำงานพิจารณาและพัฒนาข้อเสนอโครงการฯ
เดือนพฤศจิกายน สำนักงานตรวจสอบเอกสารหลักฐานเบื้องต้น และจัดทำข้อมูลสรุป
เดือนธันวาคม 66 – กุมภาพันธ์ 67 พิจารณาข้อเสนอโครงการ โดยมีคณะทำงานพิจารณาและพัฒนาข้อเสนอโครงการฯ พิจารณากลั่นกรองโครงการเบื้องต้น ต่อมาจะมีคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ พิจารณากลั่นกรองโครงการ และสุดท้ายคณะอนุกรรมการบริหารฯ พิจารณาอนุมัติโครงการ
เดือนมีนาคม 67 คณะกรรมการกองทุนฯ รับทราบผลการอนุมัติโครงการ และทำการประกาศผลการพิจารณาอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมฯ ประจำปี 2567 และทำสัญญาภายในเดือนนี้
ทั้งนี้ เรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ประเด็นหลักเกณฑ์การพิจารณาและคัดเลือกโครงการเพื่อรับทุนสนับสนุน ประจำปี 2567 โดยมีทั้งสิ้น 5 ข้อ ได้แก่
1.ความสอดคล้องกับโจทย์และภารกิจของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะต้องสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งกองทุน ตามมาตรา 5 ของ พระราชบัญญัติกองทุน พัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558
-มีการแจกแจงขอบเขตงาน พร้อมรายละเอียด และวิธีการดำเนินงาน โดยมี วิธีการดำเนินงานที่สอดคล้องตามข้อกำหนดขอบเขตของงาน มีการจำแนกตัวชี้วัดที่เหมาะสม โดยให้ ความสำคัญจากการแสดงถึงรายละเอียดที่ชัดเจน สามารถดำเนินการได้จริงจำแนกเป็นขั้นตอน ครอบคลุมทุก กิจกรรม
2.คุณภาพของข้อเสนอโครงการ
-คุณภาพของข้อเสนอโครงการ,แผนการดำเนินงาน และการบริหารจัดการโครงการ รวมถึงความสำคัญและความน่าสนใจ โดยจะต้องมีกิจกรรมที่ออกแบบได้น่าสนใจ มีความหลากหลายในวิธีการดำเนินการ มีความแตกต่าง โดดเด่นจากโครงการอื่น สามารถสร้างผลกระทบ (Impact) ได้ในวงกว้าง
3.ผลกระทบเชิงบวกที่คาดว่าจะได้รับ ว่าโครงการดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกได้ในระดับต่าง ๆ ได้อย่างไร
-ผลกระทบเชิงบวกระดับที่ 1 : สามารถเห็นผลกระทบเชิงบวกกับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ในทันที ตั้งแต่ช่วงระหว่างการดำเนินโครงการ
-ผลกระทบเชิงบวกระดับที่ 2 : สามารถเห็นผลกระทบเชิงบวกที่อาจต่อเนื่องถึง 1 ปีหลังจากส่งมอบผลงาน และสามารถนำผลงานไปต่อยอดเพื่อขยายผลกระทบเชิงบวกในวงกว้างขึ้นกว่ากลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้
-ผลกระทบเชิงบวกระดับ 3 : สามารถเห็นผลกระทบเชิงบวกที่มีความต่อเนื่องมากกว่า 1 ปีหลังจากส่ง มอบผลงาน และสามารถนำผลงานไปต่อยอดเพื่อขยายผลกระทบเชิงบวกในระดับประเทศหรือระดับนานาชาติ
4.ความเหมาะสมของงบประมาณที่ขอสนับสนุน
-มีลักษณะและจำนวนของกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด ทั้งขอบเขตการดำเนินงาน/กิจกรรม ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนด รวมถึงขนาดของพื้นที่ในการดำเนินการ และ ความคุ้มค่าของงบประมาณเมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตที่ได้รับ
5.ความน่าเชื่อถือของผู้ขอรับการสนับสนุนและความเป็นไปได้ของโครงการ
-ประวัติ และจำนวนของบุคลากรของผู้ขอรับการสนับสนุนทุนตรงกับขอบเขตของงานที่กำหนดไว้ใน ข้อเสนอโครงการ
-ผลงานที่ผ่านมาของผู้ขอรับการสนับสนุนทุนมีความสอดคล้องกับขอบเขตของงานที่กำหนดไว้ในข้อเสนอโครงการ
นางสาว พัชรพร พงษ์ทัดศิริกุล ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ
ร่วมตอบคำถามในประเด็น“ขอทุนกับกองทุนสื่อ แบบไหน? อย่างไร? ให้ได้รับทุน”
โดยแนะนำ ถึงหลักในการเขียนโครงการขอทุนกับกองทุนสื่อ ว่าควรสรุปรายละเอียดของทั้งโครงการให้กระชับ เข้าใจ และครบถ้วน ตอบโจทย์กับวัตถุประสงค์ของกองทุน มีความคิดสร้างสรรค์ มีความน่าเชื่อถือ และมีความเป็นไปได้
โดยยึดหลัก 5 W 1 H =Who-What-When-Where-Why + How โดยเขียนให้สอดคล้องกับโจทย์ของผู้ให้ทุน คำนึงถึงความคุ้มค่า ค่าเหมาะสมกับงบประมาณ เพราะมีการแข่งขันที่สูง เราต้องเขียนให้ชัดเจน ตอบโจทย์ ครบประเด็น
ทั้งนี้กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้เปิดรับข้อเสนอตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – วันที่ 31 ตุลาคม 2566 ภายในเวลา 16.30 น.
ผู้สนใจสามารถยื่นข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรมได้ทางเว็บไซต์กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ www.thaimediafund.or.th และติดตามข้อมูลข่าวสารทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โทรศัพท์ 02-273-0116-9
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ บุกนครพนม ชวนเครือข่ายอีสานขับเคลื่อนสังคมด้วยสื่อน้ำดี เปิดเวทีสัมมนา 4 ภาคฯ ปีที่ 2 โชว์เคสตัวอย่าง นครเรืองแสง พนมนครรามา เครือข่ายชุมชนลุ่มน้ำโขง
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เดินหน้าจัดเวทีสัมมนา 4 ภาค “ขับเคลื่อนเครือข่ายสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สู่ชุมชน สร้างสังคมเข้มแข็ง” ปีที่ 2
“กองทุนพัฒนาสื่อฯ” สัญจร จัดเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาค ปี 2567 ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ ผู้แทนทุกเครือข่ายร่วมเสวนาเพียบ
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้าจัด กิจกรรมเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาค ประจำปี 2567 ครั้งที่ 2 สัญจรภาคเหนือ จ.พิษณุโลก วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดตัวโครงการพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปี 3 “สื่อ เตือน สติ” หวังสร้างสื่อดีเตือนสติให้ประชาชน
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปี 3 “สื่อ เตือน สติ” โดยการจัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข
เชิญชวนน้องๆ กลุ่มมัธยมศึกษา (เทียบเท่า) ร่วมประกวดสื่อสร้างสรรค์ "Digi Camp ค่ายเยาวชนไทยรู้เท่าทันสื่อ" ปี 2
ถ้าคุณเป็นเยาวชนที่สนใจ...การใช้สื่อโซเชียลมีเดียบนโลกอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การโพสต์ และการแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งในฐานะผู้รับสาร ผู้ส่งต่อ
“กองทุนพัฒนาสื่อฯ จัดเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาค ปี 2567 หวังสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยสื่อสร้างสรรค์ เริ่มต้นบุกอีสาน จ.ร้อยเอ็ด”
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้าจัด กิจกรรมเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทั่ว 5 ภูมิภาค ประจำปี 2567 มุ่งเน้นให้คนในสังคมรวมพลัง
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ขอเชิญชวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวด คลิปสั้นการให้ข้อคิด ธรรมะในชีวิตประจำวัน ในโครงการ "หนูได้ธรรม" ความยาวไม่เกิน 1.30 นาที
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ขอเชิญชวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวดคลิปสั้นการให้ข้อคิด ธรรมะในชีวิตประจำวัน ในโครงการ "หนูได้ธรรม" ความยาวไม่เกิน 1.30 นาที ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 90,000 บาท