วันนี้ (1 กันยายน 2566) นางพัทธ์ธีรา สายประทุมทิพย์ รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) นำคณะเจ้าหน้าที่และสื่อมวลชน เข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตเอทานอล บริษัท บีบีจีไอ ไบโอเอทานอล จำกัด (มหาชน) อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเอทานอลเพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง มีกำลังการผลิต 300,000 ลิตรต่อวัน ใช้วัตถุดิบหลักในการผลิตจากกากน้ำตาล โดยได้เยี่ยมชมตั้งแต่คลังจัดเก็บวัตถุดิบหลัก ตลอดจนกระบวนการหมัก กระบวนการกลั่น และการควบคุมคุณภาพการผลิตเอทานอล ซึ่งนอกจากจะได้พลังงานทดแทนสำหรับน้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์แล้ว เกษตรกรก็ได้รับประโยชน์จากการขายอ้อยให้กับโรงงานน้ำตาล และโรงงานน้ำตาลก็ได้ขายกากน้ำตาลให้โรงงานผลิตเอทานอลต่อไป
นางพัทธ์ธีรา สายประทุมทิพย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานผลิตเอทานอล 28 โรง มีกำลังการผลิตเอทานอลรวม 6.72 ล้านลิตรต่อวัน มีปริมาณการใช้ในช่วง 8 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2566 (ม.ค.-ส.ค.) เฉลี่ยอยู่ที่ 3.6 ล้านลิตรต่อวัน ลดลงเมื่อเทียบกับ 2 ปีก่อน เป็นผลสำคัญมาจากปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์ E85 ที่ลดลงเนื่องจากไม่มีการอุดหนุนราคาจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จึงส่งผลให้การใช้เอทานอลในภาคขนส่งลดลง สำหรับทิศทางในระยะยาวตาม (ร่าง) แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2566-2570 (Oil Plan 2023) กรมธุรกิจพลังงานได้คาดการณ์ว่า เอทานอลในภาคขนส่งจะมีปริมาณการใช้สูงสุดที่ 6 ล้านลิตรต่อวัน และจะเริ่มลดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเข้ามาทดแทนการใช้รถยนต์สันดาปภายใน โดยเฉพาะในกลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ซึ่งคาดว่าจะเห็นผลกระทบในระยะ 10 ปีข้างหน้า
ดังนั้น ตาม (ร่าง) แผน Oil Plan 2023 กรมธุรกิจพลังงานจึงได้กำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจใหม่ โดยมีการพิจารณาโอกาสและทิศทางของเชื้อเพลิงชนิดใหม่ร่วมกับ (ร่าง) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2566-2570 (AEDP 2023) ดำเนินการโดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ที่มีความเห็นร่วมกันว่า เชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF) ถือเป็นพลังงานสะอาดชนิดใหม่ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคการบิน ประกอบกับประเทศไทยมีศักยภาพวัตถุดิบทางการเกษตรหลากหลายและเพียงพอ ในขณะที่เทคโนโลยีการผลิต SAF ด้วยวิธี Alcohol to Jet (AtJ) ที่ใช้วัตถุดิบประเภทที่มีแอลกอฮอล์เป็นองค์ประกอบหลัก หรือ Alcohol-based Feedstock ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความพร้อมในเชิงพาณิชย์ และสามารถผสม SAF ลงในน้ำมัน Jet A1 ได้สูงสุดถึงร้อยละ 50 ในขณะที่ประเทศไทยมีวัตถุดิบสำหรับเทคโนโลยี AtJ เช่น กากน้ำตาล และน้ำอ้อย ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านพลังงานในระยะยาวต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลยันน้ำมันไม่มีขาดแคลนแน่แม้โรงกลั่นหยุดซ่อมบำรุง!
'รัดเกล้า' เผยกระทรวงพลังงานติดตามสถานการณ์น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่องไม่ให้ขาด ชี้รัฐบาลมีแผนรองรับ ปี 2567 สำรองน้ำมันดิบเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
'กรมธุรกิจพลังงาน' จับมือ 5 หน่วยงาน ลุยตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้า
'รัดเกล้า' เผยกรมธุรกิจพลังงาน เตรียมจับมือ 5 หน่วยงาน ติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า ให้ได้มาตรฐาน รองรับผู้ใช้รถ EV
รัฐบาลย้ำมีผลบังคับใช้แล้วร้านค้าก๊าซตามโครงการบัตรสวัสดิการรายใหม่
บังคับใช้แล้วหลักเกณฑ์การเข้าร่วมเป็นร้านค้าก๊าซตามโครงการบัตรสวัสดิการรายใหม่ พร้อมเงื่อนไขที่ร้านค้าก๊าซทุกแห่งทั้งรายเก่า-รายใหม่ต้องถือปฏิบัติ หากฝ่าฝืนถูกเพิกถอนสิทธิและห้ามเข้าร่วมโครงการอีก
ธพ.เผย 9 เดือนยอดใช้น้ำมันยังโต
ธพ. เผย 9 เดือนสถานการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น 15.5% กลุ่มอากาศยานดาวเด่นเพิ่มขึ้น 84% ด้าน กกพ.สั่งหยุดเดินเครื่องกังหันลมที่ชัยภูมิ พร้อมตรวจสอบความเสียหายและเหตุขัดข้อง
พลังงานเผยยอดใช้น้ำมันในประเทศ 9 เดือนยังหดตัว 5.2%
ธพ.เผยยอดใช้น้ำมันยังหด 9 เดือนลดลง 5.2% น้ำมันอากาศยานยังเป็นปัญหาใหญ่ หวังโควิดคลายช่วยกระตุ้น ชี้คลายล็อกดาวน์หนุนการใช้เบนซินโต