พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา โดยกฎหมายดังกล่าวมีประชาชนให้ความสนใจและได้รับการกล่าวถึงอย่างมากมาย เนื่องจากแต่เดิมนั้นการกระทำความผิดเพียงเล็กน้อยก็อาจเป็นโทษทางอาญา โดยในการกระทำความผิดเล็กน้อยที่ต้องโทษปรับ หากไม่มีเงินค่าปรับก็จะต้องถูกกักขังแทนการจ่ายค่าปรับ จึงเกิดคำพูดที่ว่า “คุกมีไว้ขังคนจน” ซึ่งต่อจากนี้ไปกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัยจะมาสร้างความเป็นธรรม ขจัดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และลบล้างคำพูดดังกล่าวให้เหลือเพียง “คุกมีไว้ขังคนที่กระทำความผิดร้ายแรง”
“การปรับเป็นพินัย” คือ การสั่งให้ผู้กระทำความผิดทางพินัย (ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย) ต้องชำระค่าปรับเป็นพินัย โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าปรับที่ต้องชำระให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการกระทำความผิดและฐานะของผู้กระทำผิด และในกรณีที่ไม่มีเงินชำระค่าปรับ อาจขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนการชำระค่าปรับได้ โดยไม่มีการกักขังแทนค่าปรับดังเช่นที่เป็นอยู่ในคดีอาญา ไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการทางอาญา และไม่มีประวัติอาชญากรรมติดตัวอีกต่อไป โดยกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้มีคณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัยคอยให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งเสนอแนะการออกกฎกระทรวงและกำหนดแนวทางการออกระเบียบหรือประกาศที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของหน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ ได้รับความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 และกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติดังกล่าว รวมถึงการดำเนินคดีพินัยอย่างครบถ้วนทุกขั้นตอน ทั้งการดำเนินการในชั้นเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานอัยการ และศาล สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงได้จัดโครงการสัมมนาเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัยและโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัย โดยมีการอภิปรายและการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายอย่างแท้จริง
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมรับชมการถ่ายทอดสดการสัมมนาดังกล่าว โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัยร่วมเป็นวิทยากร จำนวน 4 ครั้ง ประกอบด้วย
ครั้งที่ 1 วันศุกร์ ที่ 1 กันยายน 2566
ครั้งที่ 2 วันจันทร์ ที่ 11 กันยายน 2566 โดยมีศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัย และผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัย ร่วมเป็นวิทยากร
ครั้งที่ 3 วันจันทร์ ที่ 18 กันยายน 2566
และครั้งที่ 4 วันจันทร์ ที่ 25 กันยายน 2566
ตั้งแต่เวลา 9.00 น. ถึง 16.00 น.
ผ่าน Facebook Live สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา Better Regulation for Better Life : โอกาสและความท้าทายในยุคเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)”
การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กับบทบาทในเวทีการประชุม APEC Good Regulatory Practice Conference ครั้งที่ 17
Asia-Pacific Economic Cooperation หรือ APEC เป็นการประชุมความร่วมมือของเขตเศรษฐกิจซึ่งจัดขึ้นในทุกปี มีเนื้อหาครอบคลุมเกือบทุกมิติในทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ความเห็นของคณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัยที่น่าสนใจ เรื่อง การแจ้งคำสั่งปรับเป็นพินัย กรณีผู้กระทำความผิดปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของรัฐและยินยอมชำระค่าปรับเป็นพินัย
ตั้งแต่พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. ๒๕๖๕ มีผลใช้บังคับ คณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัยซึ่งมีหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัยฯ
บทบาทภารกิจของกองกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กองกฎหมายต่างประเทศเป็นหน่วยงานภายในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ดำเนินภารกิจภายใต้วิสัยทัศน์ Better Regulation for Better Life
ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในการยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น
กฎหมายคือเครื่องมือของรัฐในการกำหนดกฎเกณฑ์และแนวทางในการอยู่ร่วมกันของบุคคลในสังคม เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม
นายกฯ นัดถก ก.ตร. หารือปมกฤษฎีกาตีความคำสั่ง 'บิ๊กโจ๊ก' ออกจากราชการ
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ นัดประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)ครั้งที่ 4/2567 ณ ห้องประชุมศรียานนท์ ชั้น 2 อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ