วันนี้ (23 สิงหาคม 2566) ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ นายอภิชาติ ชุมนุมมณี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขและพัฒนาสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อจัดทำแผนบูรณาการพัฒนาด้านความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก และลำพูน เป็น"ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านน้ำ รุ่นที่ 1” โดยมีนายจิตะพล รอดพลอย ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดประชุม และบรรยายเรื่อง แนวทางปฏิบัติการเชื่อมโยงแผนบูรณาการพัฒนาด้านความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่ด้งกล่าวภายใต้แผนปฏิบัติการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย
ในการนี้ นายสายเมือง วิรยศิริ รองประธานที่ปรึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติ บรรยายเรื่อง "สถานการณ์และประเด็นปัญหาบนพื้นที่สูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน นางสาวสุนิสา แพรภัทรประสิทธิ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ บรรยายเรื่อง "แนวทางอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม"
รวมทั้งได้มีการเปิดเวทีอภิปรายถึงผลการศึกษาโครงการสร้างการรับรู้ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดย รศ.ดร. เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยและพัฒนาบูรณาการเกษตรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ผลการดำเนินการช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ โดย ดร. สุรพงษ์ วีระศิลป์ชัย นายกสมาคมบุคลากรด้านการท่องเที่ยวไทย โดยมีนายสายเมือง วิรยศิริ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขและพัฒนาสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 มีเป้าหมายเพื่อร่วมกันจัดทำแผนบูรณาการพัฒนาด้านความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก และจังหวัดลำพูน จัดขึ้นโดย สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 กรมชลประทาน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร สำหรับช่วงบ่ายได้แบ่งกลุ่มตามพื้นที่จังหวัด เพื่อ Workshop การจัดทำแผนบูรณาการพัฒนาด้านความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัด มีการสรุปนำเสนอผลงานกลุ่ม มอบแนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป
"การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ เป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินการพัฒนาภายใต้การมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียจากทุกภาคส่วนในการบำบัดทุกข์บำรุงสุข พัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เพื่อประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่โครงการของกรมชลประทาน ตลอดจนสนับสนุนการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงของมนุษย์ ของประชาชนชาวไทย และชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ ให้ได้รับการพัฒนาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่ไปกับการบริหารจัดการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน" ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่กล่าวในท้ายที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชป.เฝ้าจับตาแม่น้ำสายหลัก หลังมีฝนตกเพิ่ม ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้น
วันนี้ (2 ต.ค.66) ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน ถนนสามเสน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน
ชป. จับมือ กฟผ./จังหวัดขอนแก่น รับมือเอลนีโญเมืองหมอแคน
วันนี้ (8 ก.ย.66) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ
ชป.เดินหน้าโครงการชลประทานอัจฉริยะฯ พัฒนาเกษตรกรสู่ความเป็นเลิศ
วันนี้(30 ส.ค.66) ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลบน จังหวัดนครราชสีมา ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน
ชป.ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาด้านการเกษตร “เราทำความดี ด้วยหัวใจ”
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดกิจกรรมโครงการจิตอาสาพัฒนาด้านการเกษตร บริเวณคลองเปรมประชากร (ช่วงหน้าวัดเปรมประชากร) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ "เราทำความดี ด้วยหัวใจ" ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ บริเวณหน้าวัดเปรมประชากร ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชป. เฝ้าระวังน้ำหลาก ภาคตะวันออก/ภาคใต้ ช่วงวันที่ 1-4 ก.ค. นี้
กรมชลประทาน เตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ ประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหล ในช่วงวันที่ 1 - 4 ก.ค. 2566