วันนี้ (17 สิงหาคม 2566) ที่กรมชลประทาน สามเสน กรุงเทพฯ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมหารือข้อเสนอแนะมาตรการแก้ไขป้องกันภัยแล้งเร่งด่วนภาคตะวันออก ร่วมกับผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมี ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน นายทินกร เหลือล้น ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 9 นายสุรชัย นำนาผล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานระยอง พร้อมผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้กำหนดมาตรการในการรับมือภัยแล้งจากปรากฎการณ์เอลนีโญ ในพื้นที่ภาคตะวันออก 10 มาตรการ ประกอบด้วยการใช้โครงข่ายน้ำที่มีอยู่ สูบผันน้ำอย่างเต็มศักยภาพสำหรับเก็บกักน้ำและกระจายน้ำ ให้กับพื้นที่ต่าง ๆ อาทิ สูบผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ – อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ – อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนที่อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล สูบผันน้ำกลับคลองสะพาน- อ่างเก็บน้ำประแสร์ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนที่อ่างเก็บน้ำประแสร์ สูบผันน้ำจากคลองพระองค์ไชยานุชิต – อ่างเก็บน้ำบางพระ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนที่อ่างเก็บน้ำบางพระ สูบผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ – อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนที่อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล รวมทั้งขอความร่วมมือผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนในจังหวัดระยองและจังหวัดชลบุรี ลดการใช้น้ำในทุกกิจกรรม และรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนประหยัดน้ำ ลดการใช้น้ำ 10% ลดการใช้น้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงงานเอกชนในจังหวัดระยองและชลบุรี เพื่อลดการใช้น้ำของโรงไฟฟ้า เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะดำเนินการสูบผันน้ำจากลุ่มน้ำวังโตนด จังหวัดจันทบุรี ไปยังอ่างเก็บน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับอ่างเก็บน้ำประแสร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการผันและกระจายน้ำไปยังอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และอ่างเก็บน้ำดอกกราย เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำในทุกภาคส่วน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เดินตามแนวพระราชดำริ...ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมชุมพร
ในช่วงวันที่ 13-15 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมามรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงได้พัดปก คลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคใต้ตอนล่างเคลื่อนลงสู่ทะเลอัน
จับตาการพัฒนาลุ่มน้ำสงคราม “อู่ข้าวอู่น้ำ” ของภาคอีสานตอนบน
ลุ่มน้ำสงคราม สาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี มีพื้นที่ประมาณ 12,700 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7.94 ล้านไร่
รัฐบาลโอ่ผลงานยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออกเชื่อมโยงอีอีซี
รัฐบาลยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออก เพิ่มประสิทธิภาพการจราจร เชื่อมโยงอีอีซี ล่าสุดกรมทางหลวงขยาย 4 ช่องจราจร ทล.3481 ตอน บ้านหัวไผ่ - การเคหะฯ จังหวัดปราจีนบุรี แล้วเสร็จ
ประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความยั่งยืนของการพัฒนาลุ่มน้ำเลย
ลุ่มน้ำเลย เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำเลยเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่มีต้นน้ำอมาจากอำเภอภูหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงลาดชัน
เอาแล้ว! เขื่อนเจ้าพระยากลับมาเพิ่มการระบายน้ำอีกระลอก
เขื่อนเจ้าพระยากลับมาเพิ่มระบายน้ำขึ้นอีกรอบ หลังฝนตกทำให้แม่น้ำเจ้าพระยา-แม่น้ำสะแกกรัง เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ตอนบนของประเทศ ฝนลดลง ชป.เดินหน้าเก็บกักน้ำปลายฤดูฝน สำรองไว้ใช้แล้งหน้าให้มากที่สุด
เมื่อวันนี้ 15 ต.ค. 67 ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (swoc) อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำกู กรมชลประทาน ถนนสามเสน ผศ.ดร.สิตางศ์ พิสัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา