กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหมั่นสำรวจไร่ เฝ้าระวังหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด

นายเข้มแข็ง  ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ข้าวโพดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย โดยขณะนี้เป็นช่วงฤดูฝน แต่ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ปริมาณและการกระจายของฝนลดลงในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้เกิดฝนทิ้งช่วง หรือไม่มีฝนตกเลย เป็นสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการแพร่กระจายของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ประกอบกับฤดูกาลนี้เป็นช่วงเริ่มปลูกข้าวโพด กรมส่งเสริมการเกษตร จึงขอเตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดจันทบุรี ยะลา และพัทลุง ควรหมั่นสำรวจแปลงเพาะปลูกอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ทันต่อสถานการณ์และไม่ให้เกิดความเสียหายตามมา โดยเฉพาะหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดซึ่งนอกจากจะทำลายข้าวโพดแล้ว ยังเป็นศัตรูของพืชอีกมากกว่า 80 ชนิด เช่น ข้าว ข้าวฟ่าง อ้อย ฝ้าย ทานตะวัน ถั่วเหลือง หญ้า และพืชผักอีกด้วย โดยหนอนจะกัดกินผิวใบ ยอด ทำให้ใบข้าวโพดขาดเป็นรู เว้าแหว่ง ยอดกุด ในระยะก่อนที่ดอกตัวผู้จะโผล่หนอนจะกัดกินเกสรตัวผู้ หลังจากดอกตัวผู้โผล่พ้นใบที่หุ้มอยู่ หนอนจะย้ายไปที่ฝัก กัดกินไหม และเจาะเปลือกหุ้มฝักเข้าไปกัดกินภายในฝัก ดังนั้น หากเกษตรกรสำรวจพบการทำลาย ขอให้เร่งดำเนินการควบคุมและป้องกันกำจัดก่อนสร้างความเสียหายในวงกว้าง

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับวงจรชีวิตของผีเสื้อหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด จะเริ่มวางไข่บนต้นข้าวโพดตั้งแต่ข้าวโพดงอกอายุ 3 - 4 วัน ซึ่งสามารถสังเกตพบกลุ่มไข่ได้ทั้งด้านบนใบ ใต้ใบ และที่ลำต้น เมื่อฟักเป็นหนอนขนาดเล็กจะรวมกลุ่มกัดกินผิวใบ จนเริ่มเห็นรอยทำลายเป็นจุดหรือแถบสีขาวที่ผิวใบเมื่อข้าวโพด มีอายุ 10 - 11 วันหลังเริ่มเพาะปลูก วิธีการกำจัดให้เก็บไข่หรือหนอนไปทำลาย ปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียนไตรโคแกรมม่า แมลงหางหนีบ มวนพิฆาต เป็นต้น หรือฉีดพ่นด้วยชีวภัณฑ์ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส สายพันธุ์ไอซาไว หรือสายพันธุ์เคอร์สตากี้ อัตรา 80 กรัมหรือมิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร แต่หากพบการระบาดรุนแรงให้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ได้แก่ สไปนีโทแรม 12 % SC อัตรา 20 มิลลิลิตร หรือ 25 % WG อัตรา 10 กรัม หรืออีมาเมกตินเบนโซเอท 5% WG อัตรา 10 กรัม หรือ 1.92 % EC อัตรา 20 มิลลิลิตร หรือคลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตร หรือเมทอกซีฟีโนไซด์ + สไปนีโทแรม 30+6 % SC อัตรา 30 มิลลิลิตร หรืออินดอกซาคาร์บ 15% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร หรือคลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 30 มิลลิลิตร หรือฟลูเบนไดอะไมด์ 20% WG อัตรา 10 กรัม โดยเลือกสารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่ง ตามคำแนะนำผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นทางใบ เน้นบริเวณกรวยยอดของต้นข้าวโพด 2 – 4 ครั้ง ทุก 7 วัน หรือเว้นระยะห่างตามการระบาด ทั้งนี้ ให้ใช้หัวฉีดรูปกรวยฉีดพ่นในตอนเย็น และสลับกลุ่มสารเคมีทุก 30 วัน เพื่อป้องกันการดื้อยา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แปลงใหญ่กล้วยน้ำว้า เพชรบุรี วางแผนกู้วิกฤต

นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่นเดียวกับเกษตรกรแปลงใหญ่กล้วย หมู่ 2,3,6

“สุชาติ” ชี้แจงชัดกระทู้ สส. นโยบายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สร้างสมดุล ผู้บริโภค เกษตรกร ผู้ประกอบการ

เมื่อวันที่ .... นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดเผยว่า “ผมได้รับมอบหมายจากท่านพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

กรมส่งเสริมการเกษตร ยกชุมพร “เมืองมะพร้าวคุณภาพ” สร้างมาตรฐานเกิดทั้งจังหวัด

มะพร้าว ยังคงเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ มีพื้นที่ปลูกโดยรวมทั้งประเทศ 862,718 ไร่ โดยให้ผลผลิตแล้วเนื้อที่ 834,000 ไร่ ผลผลิตออกสู่ตลาด 842,306 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,010 กิโลกรัมต่อไร่ สร้างมูลค่ากว่า 6,887 ล้านบาท

กรมส่งเสริมการเกษตร ดัน 'กาแฟบ้านมณีพฤกษ์' สู่แปลงใหญ่ เพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมส่งเสริมการเกษตร เข้าพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกาแฟบ้านมณีพฤกษ์ สู่แปลงใหญ่กาแฟบ้านมณีพฤกษ์ และมุ่งเป้าพัฒนาสู่เกษตรมูลค่าสูง ภายใต้แนวคิด ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม

แปลงใหญ่ผักบ้านบางท่าข้าม สุราษฎร์ธานี ผลิตพืชผักคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน สร้างรายได้สู่ชุมชนกว่า 4 ล้านบาทต่อปี

นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายสำคัญในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร

กรมส่งเสริมการเกษตรดันฉะเชิงเทราเป็นแหล่งผลิตมะม่วงคุณภาพดี ส่งเสริมการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ พัฒนาเป็นผลไม้อัตลักษณ์ ก้าวสู่สินค้า GI

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า มะม่วงเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา เนื่องจากมีรสชาติดี