ผู้ว่า กยท. ปลื้ม จัดโครงการ “Rubber Start up " ปีที่ 3 ตอบโจทย์สร้างแรงบันดาลใจคนรุ่นใหม่ ผลักดันยางไทยสู่ระดับโลก

ผู้ว่าการ กยท. ปลื้ม ความสำเร็จโครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3 ปี 2566 ตอบโจทย์สร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่พัฒนาอุตสาหกรรมยางไทยก้าวไกลในตลาดโลก พร้อมทุ่มเทเดินหน้าต่อ เพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ ดึงนักลงทุนนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริม และพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง การพัฒนาด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยาง (Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3) ประจำปี 2566 ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 6 ชั้น 5 โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ว่า โครงการนี้ กยท. ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ซึ่งตอบโจทย์อย่างมากในการสร้างแรงบันดาลใจ และแสวงหานวัตกรรมใหม่มาใช้ในการพัฒนายกระดับยางพารา และอุตสาหกรรม จากฝีมือการพัฒนาโดยคนรุ่นใหม่

“โครงการนี้ ถือเป็นการตอกย้ำบทบาทตามภารกิจที่สำคัญของ กยท. ตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ในด้านการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา และเผยแพร่ข้อมูล และที่สำคัญยังเป็นการตอบโจทย์การพัฒนา ด้วยในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทยให้ก้าวหน้าและเติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาช่วยพัฒนา ดังนั้น โครงการนี้ จึงเป็นก้าวสำคัญของการส่งเสริม สนับสนุนคนที่มีแนวคิดต้องการสิ่งใหม่ ให้ได้มีเวทีในการนำเสนอ และสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้น และที่สำคัญ โครงการในครั้งที่ 3 นี้ ได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก เหมือนกับการจัดใน 2 ครั้งที่ผ่านมา จึงถือว่าประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้เป็นอย่างดี” ผู้ว่าการ กยท. กล่าว    

ผู้ว่าการ กยท. กล่าวต่อไปว่า กยท. พร้อมที่จะให้การสนับสนุนคนรุ่นใหม่อย่างเต็มที่ในการขับเคลื่อนการสร้างธุรกิจ Ecosystem ได้อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมกันนี้ ทาง กยท. ยังคงมุ่งมั่นกับการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการทำวิจัย ที่จะช่วยต่อยอดผลิตภัณฑ์ยางให้เพิ่มมากขึ้น

“Natural Rubber Startup Acceleration Program ถือเป็นโครงการที่ กยท. มุ่งมั่นตั้งใจอย่างเต็มที่ในการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะการเชิญผู้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ มาเป็นวิทยากรแบ่งปันความรู้ แนวคิด เพื่อสร้างแรงบันดาลให้กับคนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงการเชิญชวนนักลงทุนที่สนใจ ให้ได้เข้ามาร่วมขยายผล นำผลงานนวัตกรรมใหม่ๆ ที่คิดค้นขึ้นไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เพื่อนำมาซึ่งประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทย”  ผู้ว่าการ กยท. กล่าวในตอนท้าย

อนึ่ง โครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3 ประจำปี 2566 มีกำหนดที่จะจัดกิจกรรมอีกครั้งในวันที่ 29 ก.ย.2566 ภายใต้กิจกรรม RUBBER INNOVATION MACTHING DAY เพื่อนำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และการจับคู่ธุรกิจ พร้อมเปิดรับสมัครนักลงทุนที่สนใจเข้าร่วมลงทุนธุรกิจด้านยางพารา ซึ่งนักลงทุน และประชาชนที่สนใจ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ facebook page : P-seda  หรือ Line : @pseda  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กยท.เดินหน้าเพิ่มปริมาณยางEUDR 2ล้านตัน/ปี เปิดไฟเขียวMOUกับเอกชนเพิ่มมูลค่ายาง6,000 ล้านบาท

กยท.เดินหน้าส่งเสริมสวนยางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มปริมาณยางEUDR 2 ล้านตัน/ปี รองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เปิดไฟเขียวขยาย MOUความร่วมมือทางด้านธุรกิจกับภาคเอกชน

กยท. ขยายตลาดยาง EUDR ต่อเนื่อง จับมือ ไทยรับเบอร์ฯ เซ็น MOU ซื้อขายน้ำยางสด 5 พันตันต่อเดือน

กยท. ทำได้จริงเปิดดีลซื้อขายน้ำยาง EUDR ต่อเนื่อง จับมือเอกชนรายแรก ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป เซ็น MOU ซื้อยางในราคาพรีเมี่ยม

กยท. มั่นใจก่อนสิ้นปีนี้ราคายางทะลุ 100 บาท/กก. ทุ่ม400ล. เปิดโรงงานยางแท่ง STR20 รองรับEUDRตรวจสอบย้อนกลับ100%

กยท.มั่นใจก่อนสิ้นปีนี้ราคายางทะลุ 100 บาท/กก.อย่างแน่นอน ย้ำชัดครั้งนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ ประกาศเดินหน้าเอาจริงปราบยางเถื่อนตรวจสอบเส้นทางด้านการเงิน

กยท.ดีเดย์ซื้อปลาหมอคางดำ 1 ล้านกก. ผลิตน้ำหมักชีวภาพเพิ่มผลผลิตให้ยางพารา

กยท.ดีเดย์ เริ่มรับซื้อปลาหมอคางดำแล้วเป็นวันนี้เป็นวันแรก ตั้งเป้าหมาย 1 ล้านกก. นำร่องในพื้นที่การระบาด 16 จังหวัด ราคา 15 บาท/กก.

ครบรอบ 9 ปี กยท. จัดใหญ่ “Thai Rubber, The Next Chapter” พร้อมผ่าผลงาน 4 ปี "ณกรณ์ ตรรกวิรพัท"

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จัดงานใหญ่ครบรอบปีที่ 9 โชว์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

จับตา...ราคายางครึ่งปีหลังสดใส ประเทศไทยประกาศพร้อมรับมือกฎเหล็ก EUDR

ภายหลังจากรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศ โดยมีร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์