สวธ.อัดฉีดงบฯ สภาวัฒนธรรม-เครือข่ายวัฒนธรรมในประเทศและต่างประเทศ พัฒนางานส่งเสริมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น

การขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมของสภาวัฒนธรรมจังหวัดใน 4 ภาค ของไทย รวมถึงเครือข่ายวัฒนธรรมไทยในต่างแดนจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้เป็นที่ประจักษ์

นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า ปีงบประมาณ 2566 มีสภาวัฒนธรรมจังหวัดต่าง ๆ รวมถึงเครือข่ายวัฒนธรรมในประเทศและต่างประเทศ ได้จัดทำโครงการกิจกรรมเพื่อส่งเสริม สืบสาน สร้างสรรค์งานศิลปะและวัฒนธรรมในท้องถิ่น และได้ยื่นขอรับเงินอุดหนุนงบประมาณเพื่อใช้ในการดำเนินการโครงการจำนวนมากกว่า 100 โครงการ ซึ่งมีโครงการที่ตรงตามหลักเกณฑ์และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนทั่วไป ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (ครั้งที่ 3/2566) จำนวนรวม 78 โครงการ ทั้งนี้ เพื่อให้งานวัฒนธรรมของชาติในทุกระดับ ตั้งแต่ท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ ได้รับการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม สวธ.จึงได้อนุมัติเงินอุดหนุนรวมวงเงินทั้งสิ้นกว่า 12 ล้านบาท  ให้สภาวัฒนธรรมและเครือข่าย ได้ดำเนินงานโครงการที่ได้รับการสนับสนุนนี้ ให้ประชาชนได้รับการส่งเสริมค่านิยม สืบทอดประเพณีและมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นให้บรรลุวัตถุประสงค์ เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อไป

สำหรับโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับเงินอุดหนุน ในครั้งนี้ อธิบดี สวธ. ยกตัวอย่างว่า 1.โครงการ Moi & Mon Petit Prince 80 ปี เจ้าชายน้อย กิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นจังหวัดปัตตานี ภายใต้การบูรณาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำราชอาณาจักรไทย ของสภาวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี

2. โครงการสืบสานและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สีละ ในพื้นที่จังหวัดปัตตานีของสภาวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี

3. โครงการเกมเมอร์พิชิตฝัน (School Tour) ของมูลนิธิประดิษฐ์ - สมสุข กัลย์จาฤก

4. โครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำว่าวเขตหลักสี่ของสภาวัฒนธรรมเขตหลักสี่

5. โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและสร้างวินัยในการเล่นวีดิทัศน์ (เกม) ของสภาวัฒนธรรมเมืองพัทยา

6.โครงการสืบสาน พัฒนา ต่อยอด มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคมผ่านวัฒนธรรมเชิงสัญลักษณ์ 5F จังหวัดเชียงราย (เชียงราย เลอค่า) ของสภาวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย

7. โครงการวัฒนธรรมสัญจรค้นหาสุดยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น กำลังจะสูญหายและแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ของสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่

8.โครงการส่งเสริม สืบสานอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และพัฒนาต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 5F ในงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง จังหวัดตาก ของสภาวัฒนธรรมจังหวัดตาก

9. โครงการกิจกรรมเยาวชน ฮักวัฒนธรรมเมืองน่าน ของสภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน

10. โครงการอนุรักษ์ สืบสาน เผยแพร่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กิจกรรม : อนุรักษ์สืบสานและเผยแพร่การตีกลองปู่จา จังหวัดพะเยา ของสภาวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา

11. โครงการอาหารและผ้าทอพื้นถิ่นจังหวัดพิจิตรของสภาวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร

12. โครงการประกวดโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธมหาธรรมราชา งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ จังหวัดเพชรบูรณ์ประจำปีพุทธศักราช 2566 ของสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์

ทั้งนี้ สภาวัฒนธรรมและเครือข่ายทางวัฒนธรรม สามารถตรวจสอบโครงการที่ได้รับงบประมาณอุดหนุนได้ทาง www.culture.go.th (ข่าวประกาศ) หรือติดต่อกลุ่มสนับสนุนกิจการพิเศษ 0 2 247 0028 ต่อ 1414

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บอร์ด ICH ขึ้นบัญชี 10 มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม ‘งานนมัสการพระธาตุพนม-เสื่อกกจันทบูร-ผ้าหม้อห้อม-ตำนานสุบินกุมาร‘

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมครั้งที่ 3/2567 พิจารณาเห็นชอบให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

อาลัย ‘สันติ ลุนเผ่’ ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลังอมตะ ผู้ขับร้องเพลงปลุกใจรักชาติ

10 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พ.ศ.2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม

สิ้น'สันติ ลุนเผ่' ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลัง

นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) โดยกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2558  ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10  ธันวาคม 2567

ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม

โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List

ลุ้น'ต้มยำกุ้ง'ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม

3 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก จะประชุมพิจารณาประกาศขึ้นทะเบียนอาหาร “ต้มยำกุ้ง” ของประเทศไทย และชุด “เคบายา” เสนอโดยสิงคโปร์ ร่วมกับไทย มาเลเซีย อินโ