เดินหน้าพัฒนา ต้นน้ำ กลางน้ำ และ ปลายน้ำ โครงการฝายคลองลิพังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

คณะกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้สนองพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลายโครงการ หนึ่งในนั้นก็มี โครงการฝายคลองลิพังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมู่ที่ 5 ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ในการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ด้วยการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบริเวณแหล่งต้นน้ำ ให้มีความอุดมสมบูรณ์และมีความสมดุลทางระบบนิเวศ พร้อมขยายพื้นที่รับประโยชน์ และจัดทำแหล่งเรียนรู้ชุมชนในการพัฒนาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือนให้แก่ราษฎร

นายสุเมธา สมแสง ราษฎรหมู่ที่ 5 ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง เปิดเผยว่า อดีตที่นี่จะขาดแคลนน้ำ แต่ปัจจุบันมีน้ำสมบูรณ์ ทำให้การประกอบอาชีพสะดวกสบายไม่ขัดสน ราษฎรส่วนใหญ่จะปลูกพืชผักแบบผสมผสาน ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน ลองกอง มังคุด ทุเรียน มีน้ำเพียงพอไม่ขาดแคลน ทำให้ได้รับผลผลิตที่ดีและสมบูรณ์ นอกจากนี้คนที่อาศัยอยู่ริมคลองส่งน้ำจะสามารถเลี้ยงปลาในกระชังทำให้มีกิน มีรายได้อีกทางหนึ่งอีกด้วย

“ตอนนี้น้ำไม่ขาดแคลน พระองค์พระราชทานโครงการฝายมาให้ ทำให้เก็บกักน้ำและยกระดับน้ำขึ้นมาสูงขึ้น จึงมีน้ำสำรองใช้ได้ตลอดปี แม้ในหน้าแล้งสามารถส่งน้ำให้ประชาชนได้อย่างทั่วถึง แต่พวกเราก็ช่วยกันประหยัดน้ำเพื่อป้องกันการขาดแคลน ให้ประชาชนที่อยู่อาศัยทางปลายน้ำได้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอด้วย” นายสุเมธา สมแสง กล่าว

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการฝายคลองลิพังฯ หมู่ที่ 5 ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามที่นายจิตร หนูหมาด ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลลิพัง ได้ขอพระราชทานโครงการระบบประปาภูเขา เพื่อส่งน้ำไปช่วยเหลือราษฎร รวม 6 หมู่บ้าน ซึ่งประสบความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค เนื่องจากสภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปจะเป็นที่ราบเนินเขา สลับกับเทือกเขาสูง สภาพลุ่มน้ำมีความลาดเทจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ได้แก่ สวนปาล์มน้ำมัน สวนยางพารา พืชผักสวนครัว สวนผลไม้ ปลูกบ้านพักอาศัยกระจายอยู่ทั่วไปบริเวณที่ราบสองฝั่งถนนภายในหมู่บ้าน ปัจจุบันโครงการสามารถช่วยเหลือราษฎรในตำบลลิพัง จำนวน 800 ครัวเรือน ประชากร 4,000 คน มีน้ำใช้สำหรับการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี นอกจากนี้ราษฎรได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มบริหารการใช้น้ำ เพื่อให้การใช้น้ำเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกครัวเรือน

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566 พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ภาคใต้ พร้อมด้วย นางสุพร ตรีนรินทร์ รองเลขาธิการ กปร. และคณะอนุกรรมการฯ เดินทางไปยังศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งปาหนัน หมู่ที่ 2 ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง เพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการ โดยรับฟังสรุปผลการดำเนินงานและการต่อยอดโครงการ จากผู้แทนกรมชลประทานและจังหวัดตรัง พร้อมพบปะราษฎรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

การนี้ นายมณี รักดี หนึ่งในราษฎรผู้ใช้น้ำ และเป็นผู้ดูแลศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ เปิดเผยว่าภายในศูนย์จะมีแปลงปลูกมะละกอ กล้วย มะพร้าว ดาหลา มะม่วง สตอ โดยปลูกแบบผสมผสาน มีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาให้คำแนะนำและช่วยดูแลอย่างต่อเนื่อง “ภายในศูนย์มีการสาธิตการบำรุงรักษาต้นพืชที่ปลูกอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันรักษาโรค พืช เช่นเชื้อรา ป้องกันแมลง โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การใช้ฮอร์โมนบำรุงต้นพืชชนิดต่างๆ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามาศึกษาดูงานแล้วนำกลับไปใช้ที่บ้านของตนเองต่อไป ” นายมณี รักดี กล่าว

ทั้งนี้มติที่ประชุมคณะกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันอังคารที่ 20 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมหนุมาน 1 สำนักงาน กปร. โดยมี นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นประธานการประชุม ได้มีมติให้ความเห็นชอบในหลักการโครงการฯ ที่เสนอเป็นโครงการต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในเขตพื้นที่ภาคใต้ จำนวนทั้งสิ้น 8 โครงการ โดยในเขตพื้นที่จังหวัดตรัง มีโครงการฝายคลองลิพังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมอยู่ด้วย โดยจะฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบริเวณแหล่งต้นน้ำ ให้มีความอุดมสมบูรณ์เกิดความสมดุลทางระบบนิเวศเพื่อให้ราษฎรใน ตำบลลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ได้รับน้ำอย่างเต็มประสิทธิภาพสำหรับการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร รวมทั้งมีแหล่งเรียนรู้ชุมชนเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ

โดยพื้นที่ต้นน้ำจะก่อสร้างฝายต้นน้ำ พื้นที่กลางน้ำ ฟื้นฟูกลุ่มผู้ใช้น้ำและพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำเพิ่มเติม พื้นที่ปลายน้ำก่อสร้างท่อส่งน้ำ สายที่ 6.1 และ 7 ก่อสร้างระบบกรองน้ำผิวดิน จำนวน 1 แห่ง ก่อสร้างถังน้ำใส จำนวน 1 แห่ง ก่อสร้างถังเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง และก่อสร้างถังแชมเปญ จำนวน 1 แห่ง พร้อมสนับสนุนแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน จัดทำแปลงศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ (เกษตร ประมง ปศุสัตว์) ในพื้นที่สาธารณประโยชน์ ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ถ่ายทอดองค์ความรู้และศึกษาดูงานของเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อนำไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่ของตนเอง เป็นการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน รวมทั้งมีแหล่งเรียนรู้ชุมชนเกี่ยวกับการพัฒนาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่อีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

SAWAD ยกระดับสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมทางการเงิน เปิดตัวแอป “ศรีสวัสดิ์” “แอปดีชีวิตคล่อง” ตอบโจทย์ครบจบทั้งสินเชื่อและประกัน

บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD ยกระดับก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมทางการเงิน ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัล เปิดตัวแอปพลิเคชัน “ศรีสวัสดิ์” ภายใต้สโลแกน “แอปดีชีวิตคล่อง ที่ต้องมีติดเครื่อง” มุ่งเน้นให้บริการทางการเงินที่

OR ตอกย้ำผู้นำธุรกิจยั่งยืน ในฐานะหุ้นยั่งยืนระดับ AAA คว้ารางวัล Highly Commended Sustainability Awards จาก SET Awards 2024 ขับเคลื่อนแนวคิด OR SDG สร้างการเติบโตจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ

OR คว้ารางวัล Sustainability Awards ในระดับ Highly Commended Sustainability Awards จาก SET Awards 2024 ตอกย้ำความสำเร็จการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างการเติบโตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

“พิพัฒน์” ย้ำ ในเวทีรัฐมนตรีอาเซียน แรงงานไทยรุ่นใหม่ มีทักษะ รองรับงานท่องเที่ยว เทคโนโลยี เกษตรอัจฉริยะ พร้อมเป็นเจ้าภาพ ปี 69 ต่อจากสิงคโปร์

วันที่ 31 ตุลาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายศักดินาถ สนธิศักดิ์โยธิน

“เผ่าภูมิ” เปิดงานวันออมแห่งชาติ พร้อมมอบรางวัลส่งเสริมการออมยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๖๗ ปลุกคนไทย ใส่ใจการออมกับ กอช. รับเงินสบทบ

วันที่ ๓๑ ตุลาคม ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) จัดกิจกรรม งาน วันออมแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๗ ในงานได้รับเกียรติจาก ตร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงการคลัง เป็นประธานในพิธี พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ

IRPC และ ปตท. ร่วมรับมอบท่อ HDPE จากพันธมิตรการค้า สร้างระบบส่งน้ำพัฒนาพื้นที่สีเขียวคุ้งบางกะเจ้า

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2567 นางสาวชนิดา สัณหกร ผู้จัดการอาวุโส บริหารชื่อเสียงองค์กรและกิจการสัมพันธ์ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) และนายคมกฤษณ์ ผิวทอง

เทพรัตน์ เทพพิทักษ์ คว้ารางวัลสุดยอด CEO รัฐวิสาหกิจดีเด่นสาขา Environment ตอกย้ำการขับเคลื่อนภารกิจองค์กรด้วยความตระหนักและใส่ใจสิ่งแวดล้อม

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับรางวัลสุดยอดซีอีโอรัฐวิสาหกิจ สาขา Environment จากนางสาวแพทองธาร ชินวัตร