ทราบกันหรือไม่? ว่าอาหารเหลือทิ้งจากจานของเรา กลายเป็นขยะจำนวนมหาศาล คิดเป็น 64% ของขยะทั้งหมด และแน่นอนว่า เมื่อเน่าเสียจะสร้างมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะแก๊สเรือนกระจก เช่น มีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์
ขยะส่วนให่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้น้อย เนื่องจากการแยกขยะจากต้นทางที่ไม่ถูกต้อง ทั้งยังขาดระบบกำจัดที่ถูกสุขาภิบาล กลายเป็นปัหาให่ต่อชุมชนโดยรอบ เนื่องด้วยปริมาณที่มาก รวมถึงองค์ความรู้ในการจัดการเศษอาหารนั้นยังไม่มากพอ ทำให้เกิดการหมักหมม ส่งกลิ่นรบกวน โดยเฉพาะจุดที่มีผู้คนหนาแน่น
หนึ่งในสถานที่ที่พบปัหาการจำกัดเศษขยะเหลือทิ้ง หนีไม่พ้นโรงอาหารของโรงเรียน ที่ต้องอำนวยความสะดวกด้านโภชนาการกับเด็กๆ
หลายร้อยคน อย่างที่โรงเรียนปากเกร็ด จ.นนทบุรี ที่ต้องวางมาตรการเข้มงวดในเรื่องนี้ เพราะหากจะให้เพียงพอรองรับความต้องการทางโภชนาการของเด็กๆ โรงอาหารที่มีร้านค้าไม่ต่ำกว่า 20 ร้าน จะต้องเปิดให้บริการสองช่วงเวลา คือรอบแรกในช่วงเช้าตรู่จนถึงเวลา 07.40 น. และอีกครั้งในช่วงเที่ยง ซึ่งยังต้องแบ่งเป็นสองรอบ คือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เวลา 11.10-12.00 น. และสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเวลา 12.00 -12.50 น. ส่วนช่วงเย็นโรงอาหารที่นี่จะไม่เปิดให้บริการ
นายปิยวัฒน์ อัครพรกุลฉัตร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโรงเรียนปากเกร็ด ให้ข้อมูลว่าที่โรงเรียนจะมีการเก็บข้อมูลเศษอาหาร ซึ่งพบว่าโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 30-40 กิโลกรัมต่อวัน วิธีการจัดการกับขยะเหล่านี้ คือแยกตั้งแต่ต้นทาง นำใส่ถุงดำแล้วนำไปจัดเก็บไว้ในโรงขยะของโรงเรียน รอรถเทศบาลเข้ามาจัดเก็บ แต่ปัหาคือขาดความต่อเนื่องในการนำไปกำจัด เพราะกว่ารถเทศบาลจะเข้ามารับขยะออกไป ก็กินเวลาอย่างน้อย 2-3 วัน ทำให้เกิดการหมักหมมเน่าเสีย ส่งกลิ่นรบกวน ทั้งยังมีหนูไปกัดแทะ กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค
“โรงเรียนเคยมีโครงการที่จะจัดซื้อเครื่องกำจัดเศษอาหาร แต่เนื่องจากงบประมาณค่อนข้างสูง โครงการฯ จึงหยุดชะงักไป ทราบข่าวจากศิษย์เก่าว่า มีโครงการสนับสนุนจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กำลังจะดำเนินการ “โครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่” จึงส่งเรื่องเสนอขอไปยังกองทุนฯ ตั้งใจนำไปติดตั้งด้านหลังจุดชำระล้างภาชนะ และวางแผนไว้ว่าจะนำปุ๋ยที่ได้จากการแปรรูปโดยเครื่องกำจัดขยะตัวนี้ ไปใช้ในแปลงเกษตรหลังโรงเรียน ต่อยอดไปใช้ในวิชาการเกษตรของเรา” นายปิยวัฒน์กล่าว
สำหรับเครื่องกำจัดเศษขยะที่กองทุนหมู่บ้านฯให้การสนับสนุน ผ่าน “โครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่” นี้ จะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนเศษอาหารเป็นสารช่วยการเจริเติบโตของพืชหรือผลผลิตทางการเกษตร ผ่านกระบวนการย่อยสลายเศษอาหารด้วยจุลินทรีย์และเทคโนโลยีภายใน 24 ชม. สามารถกำจัดเศษอาหารได้ไม่น้อยกว่า 100 กิโลกรัม/วัน และผลิตสารช่วยการเจริเติบโตของพืชไม่น้อยกว่า 30 กิโลกรัม/วัน ใช้ระบบไฟฟ้าแรงดัน 220-380 โวลต์ อัตราการใช้ไฟฟ้าสูงสุด 7.8 กิโลวัตต์ มีระบบเซนเซอร์อัตโนมัติรักษาความปลอดภัย และมีระบบเผาไหม้อากาศที่ช่วยกำจัดก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะเรือนกระจกได้
นายปิยวัฒน์ ยังกล่าวถึงแนวทางการต่อยอดเทคโนโลยีว่า ในอนาคตโรงเรียนจะมีการอบรมครู นักเรียน และชาวบ้านในชุมชนทั่วไป ให้เกิดการเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยีและการกระจายองค์ความรู้ด้านการจัดการขยะอาหารอย่างทั่วถึง ครอบคลุมบริบทแวดล้อมโดยรอบ รวมถึงเกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างสร้างสรรค์ ผ่านการบูรณาการร่วมกันทุกฝ่าย ซึ่งจะทำให้ทุกคนรู้สึกว่า ตัวเองเป็นเจ้าของเทคโนโลยี ได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน
“ต้องขอขอบคุณกองทุนหมู่บ้านฯ ที่ทำโครงการดีๆ แบบนี้ เพราะเป็นการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักมาหนุนเสริมให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น ทางโรงเรียนก็จะนำเทคโนโลยีนี้ไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไปครับ”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กองทุนหมู่บ้านฯ โชว์ โครงการโรงอัดถ่าน จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เปิดเผยว่า โครงการโรงอัดถ่าน เทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิง จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือขยะ ภ
ข่าวดี! สมาชิกกองทุนหมู่บ้านได้สิทธิ์ประกันอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ฟรี
'สมศักดิ์' แจ้งข่าวดี 'กองทุนหมู่บ้าน' จับมือ 'ทิพยประกันภัย' แจกประกันภัยอุบัติเหตุฟรีช่วงสงกรานต์ ให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ คุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท นาน 30 วัน นับจากวันที่กดรับสิทธิ์
โครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่ ส่งเสริมชุมชนเมืองมีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งต่อเมืองที่ดีกว่าให้คนรุ่นต่อไป ด้วย 6 นวัตกรรม พัฒนาเมืองให้ ดี-งาม-ยั่งยืน ไม่ทำร้ายโลก
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาล เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องความเป็นอยู่ของประชาชนภายใต้เศรษฐกิจฐานราก มุ่งเน้นผลักดันการพัฒนาชีวิตเศรษฐกิจ สังคม เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาสและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริม และสร้างความมั่นคง ปลอดภัย และสะดวกสบายให้แก่สมาชิกในพื้นที่ชุมชน
'รมช.กษ' แย้มจ่อใช้งบกลาง พักหนี้เกษตรกร
'ไชยา' เผย กษ. เตรียมฐานข้อมูลเกษตรกร สนับสนุนคลังพักหนี้ 3 ปี หนุนยืนบนขาตัวเองได้ เล็งใช้งบกลางก่อน เร่งบูรณาการทุกกระทรวงลดราคาปุ๋ย
“รถพยาบาลฉุกเฉินอัจฉริยะ” เพิ่มวินาทีชีวิต ต่อลมหายใจคนห่างไกล
คำกล่าวที่ว่า “ความแน่นอน คือสิ่งที่ไม่แน่นอน” ใช้ได้จริงกับวินาทีแห่งชีวิต และแม้จะไม่ได้ประมาท ก็ไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่า เหตุฉุกเฉินจะเกิดขึ้นกับเราเมื่อใด ขณะที่การเข้าถึงการรับบริการสาธารณสุข