“รถพยาบาลฉุกเฉินอัจฉริยะ” เพิ่มวินาทีชีวิต ต่อลมหายใจคนห่างไกล

กล่าวที่ว่า ความแน่นอน คือสิ่งที่ไม่แน่นอน ใช้ได้จริงกับวินาทีแห่งชีวิต และแม้จะไม่ได้ประมาท ก็ไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่า เหตุฉุกเฉินจะเกิดขึ้นกับเราเมื่อใด ขณะที่การเข้าถึงการรับบริการสาธารณสุข ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับ

กว่า 10 ปีมาแล้ว ที่ รพ.สต.บ้านไร่สวนลาว จ.ชัยนาท ซึ่งถูกยกฐานะมาจากอดีตอนามัยชุมชน คือความหวังยามเจ็บไข้ของชาวบ้าน ที่มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกรในพื้นที่ อ.หันคา จ.ชัยนาท และผู้อาศัยในเขตพื้นที่รอยต่อ ของ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี เพราะอยู่ใกล้กว่า รพ.หันคา ซึ่งเป็นสถานพยาบาลระดับของอำเภอ แม้จะห่างไกลจากถนนหลักหลายกิโลเมตรก็ตาม

..สุรีรัตน์ อ่อนสะระ พยาบาลวิชาชีพประจำ รพ.สต.บ้านไร่สวนลาว เล่าว่าปั­หาสำคั­อย่างการขาดแคลนรถฉุกเฉินสำหรับรับส่งผู้ป่วย ทำให้เมื่อเกิดเหตุจำเป็น เจ้าหน้าที่ประจำ รพ.สต.แห่งนี้ จะต้องใช้รถส่วนตัวขับออกไปรับผู้ป่วย ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีรถส่วนตัว แต่ต้องรับรักษาอาการต่อเนื่อง ก็ต้องว่าจ้างรถรับส่งมาที่นี่ เสียค่าใช้จ่ายครั้งละหลายร้อยบาท  

“เราเข้าใจดีว่าการส่งต่อผู้ป่วย ผ่านสายด่วน1669 เอง จำนวนรถพยาบาลมีไม่เพียงพอ ทั้งอำเภอหันคามีทั้งหมด 10 รพ.สต. อย่างของเรามีเคสฉุกเฉินหลายครั้ง ตอนนั้นคนไข้ทำไร่แตงโม เกิดอาการเพลียจึงดื่มน้ำแดงเข้าไป เมื่ออาเจียนจนมีเลือดออกมาด้วย และเริ่มมีอาการช็อก แต่เนื่องจากอยู่ไกล เจ้าหน้าที่ไม่มีรถและอุปกรณ์พร้อมมากพอ โทรขอความช่วยเหลือ 1669 ก็ไปติดในพื้นที่ของ อ.เดิมบางนางบวช เพราะเป็นเขตติดกัน จึงต้องช่วยเหลือคนไข้ตามอัตภาพโดยนำคนไข้ขึ้นรถไถออกมาปฐมพยาบาลด้วยความทุลักทุเล” น.ส.สุรีรัตน์กล่าว

ปั­หานี้เรื้อรังมายาวนาน จนกระทั่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดหันคา ประสานมาสอบถามมายังผู้อำนวยการศูนย์ว่า สนใจจะเข้าร่วมเสนอความต้องการไปยังโครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ หรือไม่ เนื่องจากมีเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับสภาพปั­หาที่เกิดขึ้น ทำให้ รพ.สต.บ้านไร่สวนลาว เข้าร่วมเป็นหนึ่งในเป้าหมายโครงการฯ นับตั้งแต่นั้น

รถฉุกเฉินช่วยเหลือผู้ป่วยอัจฉริยะเป็น 1 ใน 6 รูปแบบเทคโนโลยี ที่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สนับสนุนภายใต้โครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่ โดยจะดำเนินการจัดซื้อครุภัณฑ์ รถฉุกเฉินช่วยเหลือผู้ป่วยอัจฉริยะ ปริมาตรกระบอกสูบไม่ต่ำกว่า 2,400 ซีซีหรือกำลังเครื่องยนต์สูงสุดไม่ต่ำกว่า 110 กิโลวัตต์จำนวน 60 คันให้พื้นที่เป้าหมายระยะแรก เพื่อให้การบริการประชาชน ผู้ป่วยฉุกเฉินหรือเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุของโรงพยาบาลภาครัฐ หน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยกู้ชีพต่างๆ มีประสิทธิภาพรวดเร็วและผลลัพธ์เทียบเท่ากับหลักเกณฑ์มาตรฐาน ภายในรถฉุกเฉินช่วยเหลือผู้ป่วยอัจฉริยะว่ามีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย มีระบบติดตามผู้ป่วย เมื่อเกิดเหตุการฉุกเฉินสามารถรายงานสถานการณ์แบบเรียลไทม์ได้ เพื่อให้หน่วยบริการพยาบาลปลายทางสามารถเตรียมพร้อมที่จะรองรับผู้ป่วยได้

 

สำหรับ แผนการบริหารจัดการเมื่อได้รับการสนับสนุน รพ.สต.บ้านไร่สวนลาว ออกแบบไว้อย่างน่าสนใจ น.ส.สุรีรัตน์ กล่าวว่า “เราตั้งใจจะสร้างทีมซึ่งก็คือ อสม.หมู่บ้านเดิม ที่ผ่านการดูแลคนไข้หลักสูตร 70 ชม.มาแล้ว เป็นทีมจัดเวรดูแลคนไข้บนรถฉุกเฉินที่ได้รับ ทั้งผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงสามารถเรียกรถของเรา เพื่อไปช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ส่วนตัวทำงานมา 20 กว่าปีเพิ่งได้มีโอกาสได้รับโครงการดีๆ แบบนี้ อยากขอบพระคุณทางโครงการฯ มากค่ะที่มีโครงการดีๆ แบบนี้ เพราะสำหรับชาวบ้านที่ยังขาดโอกาส มันช่วยลดความเสี่ยง ในการเสียชีวิตและพิการได้มากจริงๆ”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กองทุนหมู่บ้านฯ โชว์ โครงการโรงอัดถ่าน จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เปิดเผยว่า โครงการโรงอัดถ่าน เทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิง จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือขยะ ภ

ข่าวดี! สมาชิกกองทุนหมู่บ้านได้สิทธิ์ประกันอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ฟรี

'สมศักดิ์' แจ้งข่าวดี 'กองทุนหมู่บ้าน' จับมือ 'ทิพยประกันภัย' แจกประกันภัยอุบัติเหตุฟรีช่วงสงกรานต์ ให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ คุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท นาน 30 วัน นับจากวันที่กดรับสิทธิ์

โครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่ ส่งเสริมชุมชนเมืองมีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งต่อเมืองที่ดีกว่าให้คนรุ่นต่อไป ด้วย 6 นวัตกรรม พัฒนาเมืองให้ ดี-งาม-ยั่งยืน ไม่ทำร้ายโลก

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาล เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องความเป็นอยู่ของประชาชนภายใต้เศรษฐกิจฐานราก มุ่งเน้นผลักดันการพัฒนาชีวิตเศรษฐกิจ สังคม เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาสและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริม และสร้างความมั่นคง ปลอดภัย และสะดวกสบายให้แก่สมาชิกในพื้นที่ชุมชน

เปลี่ยนเศษอาหาร สู่ปุ๋ยสูตรเด็ดในแปลงผัก กับโครงการพัฒนาเมืองฯ

ทราบกันหรือไม่? ว่าอาหารเหลือทิ้งจากจานของเรา กลายเป็นขยะจำนวนมหาศาล คิดเป็น 64% ของขยะทั้งหมด และแน่นอนว่า เมื่อเน่าเสียจะสร้างมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม