สวธ.เตรียมเปิดบ้านศิลปินแห่งชาติ ‘ครูช่าง’ ตั้งเป้าศูนย์เรียนรู้บ้านเรียนละครมรดกใหม่สืบทอดมรดกภูมิปัญญาชาติ

ศูนย์การเรียนรู้บ้านเรียนละครมรดกใหม่ ซึ่ง”ครูช่าง” ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ก่อตั้งขึ้น ปัจจุบันกลายเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ศิลปะการแสดง ตั้งแต่การรำ, โขน, ดนตรีไทย, ดนตรีสากล เช่น แจ๊ส, บลูส์, แรปส์, ฮิปฮอป ไปจนถึงการละครไทยและละครร่วมสมัย เพื่อให้คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงศิลปวัฒนธรรมไทย และรังสรรค์ผลงานต่างๆ สู่สายตาชาวโลก เป็นบ้านศิลปินแห่งชาติแห่งที่ 33 ซึ่งกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ตั้งเป้าเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่ยั่งยืน

นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า นายชนประคัลภ์ จันทร์เรือง หรือที่หลาย ๆ คนรู้จักในนาม “ครูช่าง” ได้สั่งสมประสบการณ์และสร้างสรรค์ผลงานตลอดเวลากว่า 40 ปี โดยเป็นนักแสดงที่มีความสามารถสูง ในทุกบทบาท ทั้งละครโทรทัศน์ ละครเวทีและภาพยนตร์ เป็นผู้กำกับการแสดงที่มีรูปแบบการเล่าเรื่องเฉพาะตัว รวมถึงเป็นนักเขียนบทในรูปแบบการสอนเขียนบท คือ เล่นก่อนเขียน ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับการเขียนบทของประเทศไทย โดยให้นักแสดงร่วมเขียนบทไปด้วย จึงเป็นศิลปินที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติมาอย่างต่อเนื่อง

“ ครูช่างได้เปิดพื้นที่บ้านเป็นศูนย์การเรียนรู้บ้านเรียนละครมรดกใหม่ โดยได้จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับวิถีชีวิตและกลุ่มสาระการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการให้แก่เด็กและเยาวชน มุ่งเน้นการนำศาสตร์ด้านการแสดงมาใช้ในการสร้างสรรค์สังคม ประสานสังคม และบ่มเพาะเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและมีคุณภาพต่อไป สวธ,ตั้งเป้าแหล่งเรียนรู้บ้านศิลปินแห่งชาติ นายชนประคัลภ์ จันทร์เรือง แห่งนี้ จะเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่ยั่งยืน และเป็นประโยชน์สำหรับเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และประชาชนที่สนใจ “ อธิบดี สวธ. กล่าว

ด้าน นางนวลพรรณ ล่ำซำ ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กล่าวว่า โครงการเปิดบ้านศิลปินแห่งชาติในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นพื้นที่แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่สามารถเข้ามาแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และศึกษาแนวทางในการพัฒนาต่อยอดการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ที่จะสืบทอดภูมิปัญญาของศิลปินแห่งชาติให้เป็นมรดกอันล้ำค่าของชาติต่อไป

สำหรับ “ศูนย์การเรียนรู้บ้านเรียนละครมรดกใหม่”นี้ เริ่มต้นจากคณะละครมรดกใหม่ ซึ่งเป็นการรวบรวมลูกศิษย์ลูกหาในขณะนั้น ก่อตั้งเป็นคณะละครเมื่อปี 2537 และสร้างสรรค์ละครเรื่องแรกนำเสนอต่อสายตาของผู้ชมต้นปี พ.ศ. 2538 ชื่อเรื่อง “สารพัด สาระเพ” จัดแสดงที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จากนั้นดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จนนำมาสู่คณะละครมรดกใหม่กับวิถีชุมชนและวิถีแห่งการเรียนรู้

จากนั้น ปี พ.ศ. 2548 บ้านเรียนละครมรดกใหม่ได้ถือกำเนิดขึ้นตามแนวคิดสำนักดนตรีไทยบ้านบาตรของครูหลวงประดิษฐไพเราะ ปัจจุบัน ศูนย์การเรียนรู้ฯ แห่งนี้ เปิดโอกาสให้น้อง ๆ ผู้ที่สนใจและมุ่งมั่นตั้งใจอยากเรียนรู้ด้านการละครและดนตรี ภายในศูนย์ฯ มีกิจกรรมให้เรียนรู้ถึง22 จุดด้วยกัน อาทิ เพาะปลูก ครัวเรือน การละคร ดนตรีไทย และดนตรีสากล เป็นต้น โดยจัดการเรียนการสอนควบคู่การการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขสนุกสนาน
โอกาสนี้ สวธ.ขอเชิญชวนน้อง ๆ เยาวชน และประชาชนเยี่ยมชม ณ “ศูนย์การเรียนรู้บ้านเรียนละครมรดกใหม่” ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารอื่น ๆ ได้ที่ www.culture.go.th, เฟซบุ๊กกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และ Line @ วัฒนธรรม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วธ.ส่งเสริมภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล ลุยเผยแพร่เทรนด์บุ๊กออกแบบผ้าไทยที่ภาคเหนือ ดึงดีไซเนอร์ดังหนุนฉีกกรอบ

วันที่ 28 มิ.ย.2567 นางสาวสุดาวรรณ  หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) ดำเนินงานโครงการเสวนาวิชาการ

องคมนตรีเปิดการแสดงมหาดุริยางค์เยาวชนไทยร้อยดวงใจเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่ 27 มิ.ย.2567 เวลา 13.00 น. นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นประธานเปิดการแสดงมหาดุริยางค์เยาวชนไทยร้อยดวงใจเฉลิมพระเกียรติ

สวธ.จัดมหกรรมวัฒนธรรมอีสาน ‘ยลถิ่นดอกลำดวน ชมสวนทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ’ ผลักดัน Soft Power อีสาน เงินสะพัดในชุมชน

ศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ เมืองอีสานใต้แห่งนี้เป็นแหล่งอารยธรรมนำเอาศิลปวัฒนธรรมของชาติต่างๆ โดยเฉพาะขอมโบราณ มาหลอมรวมเข้ากับวิถีชีวิตท้องถิ่นอีสานอย่างลงตัว

หนุนผ้าไทยบนเวทีแฟชั่นโลก ชวนนักออกแบบชื่อดังสัญจรสู่ใต้ แนะเทคนิคพัฒนาหัตถกรรมไทย โชว์เทรนด์บุ๊กสุดฮอต

วงการแฟชั่นต้องอัพเดทเทรนด์ทุกฤดูกาล สิ่งที่น่าภาคภูมิใจ “ผ้าไทย’ งานฝีมือที่คนไทยคุ้นเคยกันดี มีบทบาทโลดแล่นอยู่ในรันเวย์ต่างประเทศ

วธ.ชูSoft power อาหารถิ่น เดินหน้า‘1 จังหวัด 1 เมนู ’ เฟ้นคาว-หวาน-ของว่าง หากินยาก 77 จว.

77 จังหวัดของประเทศไทยเต็มไปด้วยอาหารอร่อย เมนูเด็ด ทั้งคาว หวาน และอาหารว่างกินเพลิน บางเมนูหาทานได้เฉพาะในจังหวัดนั้นๆ

‘คณะเพชรนคร’ ทำถึงคว้าแชมป์‘รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม‘ โชว์การแสดงพื้นบ้านไม่ทิ้งเอกลักษณ์ภาคใต้

ประกาศผลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว “คณะเพชรนคร” จาก จ.นครศรีธรรมราช แชมป์ใหม่เวทีประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน