กรมชลประทาน เผยความคืบหน้าโครงการประตูระบายน้ำท่านางงาม พร้อมเปิดใช้งาน มั่นใจช่วยสำรองน้ำช่วยเหลือภัยแล้งในลุ่มน้ำยม พร้อมรับมือเอลนีโญในระยะยาว
วันนี้ (4 ส.ค.66) นายสิริพล รักษนาเวศ ผู้อำนวยการกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง เป็นประธานแถลงข่าว “ความก้าวหน้าโครงการประตูระบายน้ำท่านางงาม จังหวัดพิษณุโลก” โดยมี นายไพฑูรย์ ศรีมุก รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 3 นายชำนาญ ชูเที่ยง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิษณุโลก นายธนบดี รักสัตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงานแถลงข่าว
นายสิริพล รักษนาเวศ ผู้อำนวยการกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กล่าวว่า กรมชลประทาน ได้ดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำ (ปตร.) ในลุ่มน้ำยมตอนล่างรวม 4 แห่ง ได้แก่ ปตร.ท่านางงาม ปตร.ท่าแห ปตร.วังจิก และ ปตร.โพธิ์ประทับช้าง ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทานในเขตจังหวัดพิษณุโลกและพิจิตร และเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำ บรรเทาความเดือดร้อนทั้งปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ตลอดจนเตรียมความพร้อมในการรับมือกับผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"เนื่องจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยเฉพาะการปลูกข้าว การพัฒนาแหล่งน้ำจึงเป็นปัจจัยหลักในการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนให้แก่เกษตรกร เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้งที่มักจะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี อีกทั้งยังช่วยชะลอน้ำในการผันน้ำเข้าแก้มลิงต่าง ๆ ในช่วงน้ำหลาก เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยและป้องกันการกัดเซาะตลิ่งบ้านเรือนของราษฎรได้อีกด้วย โดยประตูระบายน้ำท่านางงาม ปัจจุบันสามารถใช้ในการบริหารจัดการน้ำและเก็บกักน้ำเพื่อรองรับปรากฏการณ์เอลนีโญ คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งโครงการในปี พ.ศ. 2566 นี้" นายสิริพล กล่าว
สำหรับโครงการประตูระบายน้ำท่านางงาม ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เป็นประตูระบายน้ำอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชนิดประตูเหล็กบานโค้งจำนวน 5 บาน สามารถเก็บกักน้ำในแม่น้ำยมและลำน้ำสาขาได้ประมาณ 11.10 ล้าน ลบ.ม. ระยะเวลาในการก่อสร้าง 5 ปี (ปี พ.ศ. 2562 – 2566) ครอบคลุมพื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 51,375 ไร่ ประชาชนได้ประโยชน์กว่า 2,568 ครัวเรือน
ด้านนายชำนาญ ชูเที่ยง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิษณุโลก กล่าวว่า ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าปรากฏการณ์เอลนีโญจะยืดเยื้อต่อเนื่องและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้น กรมชลประทาน จึงจำเป็นต้องวางแผนบริหารจัดการน้ำในระยะยาวอย่างประณีตและรัดกุม เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในกิจกรรมต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ให้มากที่สุด
"ประตูระบายน้ำท่านางงาม จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยในการสนับสนุนพื้นที่บางระกำโมเดลได้อีกทางหนึ่งด้วย และยังช่วยเร่งระบายน้ำในแม่น้ำยมในช่วงฤดูน้ำหลาก เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทั้งในพื้นที่อำเภอบางระกำ รวมทั้งพื้นที่ฝั่งขวาและฝั่งซ้ายของแม่น้ำยม ซึ่งหลังจากนี้ จะมีการสร้างกระบวนการมีส่วมร่วมของประชาชน เกษตรกร และผู้นำในพื้นที่ ในการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน ในวันที่ 17 สิงหาคมนี้ เพื่อร่วมกันวางแผนบริหารจัดการน้ำบริเวณประตูระบายน้ำท่านางงามให้เกิดประโยชน์สูงสุด"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สคล. จัดพื้นที่สร้างสรรค์ ดันกีฬา E-Sport หนุนเยาวชนไทยห่างไกลปัจจัยเสี่ยง
เครือข่ายเยาวชน YSDN ภายใต้ สำนักงานเครือข่ายงดเหล้า (สคล.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการแข่งขันกีฬา E-Sport ภายใต้ชื่อ YSDN วังทอง FREE FIRE E-sport 2024 ครั้งที่ 3
ตร.บุกจับนายก อบต. พร้อมพวก คดีฉ้อโกงประชาชน มูลค่าเสียหายนับ 100 ล้านบาท
พ.ต.อ.สมบูรณ์ สีแดง ผกก.สภ.นครไทย จ.พิษณุโลก พร้อมกำลังตำรวจชุดสืบสวน ภ.จว.พิษณุโลก ตำรวจคอมมานโด กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ (บก.ปพ.) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ทั้งหมดเกือบ 100 นาย เปิดปฏิบัติการ “ฟ้าสางที่นาบัว”
ประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความยั่งยืนของการพัฒนาลุ่มน้ำเลย
ลุ่มน้ำเลย เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำเลยเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่มีต้นน้ำอมาจากอำเภอภูหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงลาดชัน
เอาแล้ว! เขื่อนเจ้าพระยากลับมาเพิ่มการระบายน้ำอีกระลอก
เขื่อนเจ้าพระยากลับมาเพิ่มระบายน้ำขึ้นอีกรอบ หลังฝนตกทำให้แม่น้ำเจ้าพระยา-แม่น้ำสะแกกรัง เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ตอนบนของประเทศ ฝนลดลง ชป.เดินหน้าเก็บกักน้ำปลายฤดูฝน สำรองไว้ใช้แล้งหน้าให้มากที่สุด
เมื่อวันนี้ 15 ต.ค. 67 ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (swoc) อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำกู กรมชลประทาน ถนนสามเสน ผศ.ดร.สิตางศ์ พิสัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา
น้ำทะเลหนุน! กรมชลฯ เฝ้าระวังระดับน้ำ 7 พื้นที่เสี่ยงลุ่มเจ้าพระยา
กรมชลประทาน คาดการณ์ระดับน้ำลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง 3 วันล่วงหน้า (13-15 ต.ค. 67)