จากเวทีสานพลังสร้างนวัตกรรม สู่สุขภาวะชุมชนที่ยั่งยืน วาระ:พลังชุมชนท้องถิ่น ตอบโจทย์ประเทศ เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ที่ห้องรอยัล จูบิลี ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี นนทบุรี ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผสานพลังภาคีเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่กว่า 500 ตำบลทั่วไทยกว่า 4,000 คน ร่วมกันเปิดกรอบความคิดด้วยพลังปัญญาไขกับดักทุกปัญหา พร้อมเปิดหน้าต่างเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงด้วยการสร้างเครือข่ายในการทำงาน Together We Can
ทำให้เราตระหนักรู้ เข้าถึงและเข้าใจร่วมกันว่า พลังชุมชน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ (กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน) องค์กรชุมชน และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ นับเป็นฐานสำคัญที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น อีกทั้งสร้างสุขภาวะชุมชนที่ยั่งยืนสู่การบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาพตามเป้าหมายที่ต้องการได้
"สุขภาพดีเริ่มที่ตัวเรา ครอบครัว ชุมชน ชุมชนเข้มแข็งได้ต้องมีส่วนร่วม การแก้ไขปัญหาสุขภาพไม่ใช่เป็นงานของบุคลากรสุขภาพเท่านั้น แต่เป็นส่วนที่ทุกคนในชุมชนต้องมีส่วนร่วม ชุมชนเข้มแข็งเหมือนนิสัย ถ้าคนมีนิสัยดี ทำอะไรก็สำเร็จ ชุมชนที่มีความเข้มแข็ง แก้ปัญหาอะไรก็สำเร็จ สงครามโรคยากที่จะจัดการได้ สงครามเชื้อโรค สงครามพฤติกรรม (จิตใจตนเอง) สงครามสังคมป่วย เพราะปัญหาสุขภาพเป็นเรื่องซับซ้อน ยากที่จะแก้ไขได้ ต้องอาศัยชุมชนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง” ส่วนหนึ่งของประเด็นในการสานพลังชุมชนท้องถิ่นเพื่อตอบโจทย์ประเทศไทย โดย นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ (สำนัก 7) สสส. ซึ่งเป็นการยืนยันว่า หากทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกัน ความสำเร็จก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้
คุณหมอพงศ์เทพเปิดเผยว่า ระบบสุขภาพในปัจจุบันมุ่งเน้นการรักษาเป็นหลัก ส่งเสริมในกลุ่มปกติ ป้องกันในกลุ่มเสี่ยง รักษาในกลุ่มป่วย ฟื้นฟูในกลุ่มหายป่วย ในขณะที่ระบบเดิมเน้นการรักษา การเข้าไปเสริมศักยภาพ ป้องกัน ฟื้นฟูสุขภาพในชุมชน ต้องเริ่มต้นที่ชุมชนเข้มแข็ง "เราใช้วิธีคิดแบบตะวันตก เป็นโรคต้องกินยา งบประมาณที่กระทรวงสาธารณสุขซ่อมมากกว่าการสร้าง ในขณะที่ สสส.ยึดหลักสร้างนำซ่อม"
ทั้งนี้ ข้อมูลสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ เสนอถึงผลการศึกษาการสูญเสียปีสุขภาวะจาก 17 กลุ่ม ปัจจัยเสี่ยงใหญ่ของประเทศไทยในปี 2562 อันดับแรกคือการบริโภคยาสูบ 2.ระดับน้ำตาลในเลือดสูง 3.ความดันโลหิตสูง 4.ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูง 5. ความเสี่ยงด้านอาหาร
เป็นที่สังเกตว่าเด็กชายวัย 5-14 ปี มีอุบัติเหตุจราจร 565 ราย จมน้ำ 432 ราย มะเร็งเม็ดเลือดขาว 116 ราย ส่วนเด็กหญิงอุบัติเหตุจราจร 294 ราย จมน้ำ 155 ราย อุบัติเหตุอื่นๆ 105 ราย เด็กชายวัยรุ่น 15-29 ปี อุบัติเหตุจราจร 6,047ราย ฆ่าตัวตาย 1,270 ราย โรคเอดส์ 1,265 ราย เด็กหญิงวัยรุ่น 15-29 ปี อุบัติเหตุจราจร 1,116 ราย โรคเอดส์ 853 ราย ส่วนผู้สูงวัยชายวัย 60-69 ปี เสียชีวิตด้วยหลอดเลือดสมอง 5,864 คน มะเร็งตับ 4,745 คน หลอดเลือดหัวใจตีบ4,730คน ในขณะที่ผู้สูงวัยหญิงวัย 60-69 ปี เสียชีวิตด้วยเบาหวาน 4,184 คน หลอดเลือดสมอง 3,181 คน หลอดเลือดหัวใจตีบ 2,730 คน
นพ.พงศ์เทพยังให้คำคมเป็นข้อคิดด้วยว่า การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง เหมือนกับการปลูกพืชที่มีรากแก้ว ต้นไม้จะเติบใหญ่ออกดอกออกผลได้ตลอดช่วงชีวิต เราต้องสร้างชุมชนปลอดภัย สำรวจจุดเสี่ยง สอบสวนการบาดเจ็บในชุมชน สานพลังที่ชุมชนทำได้ในขณะที่ส่วนราชการทำไม่ได้ เจ้าของบ้านอนุญาตให้ชุมชนทุบรั้วบ้านตัวเองเพื่อทำรั้วโปร่งเพื่อความปลอดภัย ชุมชนร่วมกันสร้างประเพณีแข่งเรือปลอดเหล้า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผอ.รพ.สต.เข้าเยี่ยมผู้ป่วยเมาแล้วขับ โดยผู้ป่วยให้คำมั่นสัญญาว่าจะเลิกดื่มแล้วขับในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็นต้น
ในโอกาสนี้ มีการยกตัวอย่างการบูรณาการทำงานโดยกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ:บทเรียนที่จังหวัดน่าน ว่าส่งผลให้มีศูนย์ฟื้นฟูชุมชน กลุ่มผู้ป่วย Intermediate care ผู้สูงอายุที่ต้องฟื้นฟูใกล้บ้าน ใกล้ใจ ลดความแออัดในโรงพยาบาล ลดค่าใช้จ่ายเป็นการรักษาใกล้บ้าน การปรับสภาพบ้านเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตที่สะดวกขึ้น การจัดหาอุปกรณ์สำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านจนสามารถออกมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ การแก้ไขปัญหาต่อเนื่องที่บ้านด้วยการติดต่อกลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลน่าน
ครูศูนย์เด็กเล็กร่วมกันทำโครงการปลุกพลังบวก สร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยงสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นความผูกพัน ความไว้วางใจ การทำงานเป็นทีม เพราะเราจะต้องทำงานร่วมกันไปอีกนาน สิ่งสำคัญก็คือการสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพดีวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิธีเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างพื้นที่ต้นแบบ สุขภาพดี โรงพยาบาลยุพราชกระนวน จ.ขอนแก่น ด้วยแนวคิด 3 ส. 3 อ.1 น.+แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการสังเกตพฤติกรรมตัวเอง การดูแลตนเองเพื่อนำไปปฏิบัติจะทำให้ชีวิตของตัวเองดีขึ้น ผู้ป่วยสามารถลดยารักษาโรคเบาหวานได้ 100% หยุดยาได้ร้อยละ33.3 ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงได้
รศ.ดร.ขนิษฐา นันทบุตร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (ศวช.) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชี้แจงถึงบทเรียนการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพโดยชุมชนท้องถิ่น เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ การถ่ายโอนภารกิจให้ อบจ. สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 3,264 แห่ง ตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแผนปฏิบัติว่า
“ความเปลี่ยนแปลงในการถ่ายโอนสู่โครงสร้างระบบสุขภาพในชุมชน ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมถึงประชาชน 100% ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ใช่เพียงการจัดการโรค ความเจ็บป่วย แต่เป็นการจัดการสภาพแวดล้อม ชีวิตความเป็นอยู่ ไม่ให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพ”
รศ.ดร.ขนิษฐาตอกย้ำว่า ถ้าชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง ภาคการมีส่วนร่วมทำให้สุขภาพประชาชนเป็นไปในทิศทางที่ดี เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงถ่ายโอนด้วยโครงสร้างระบบสุขภาพในชุมชน มีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สปสช.ฯลฯ มีการสนับสนุนกำลังคน การบริหารจัดการก็จะขับเคลื่อนได้อย่างเป็นกระบวนการและเป็นระบบ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รณรงค์ "กินให้หมดจาน" 50ร้านต้นแบบช่วยลดขยะ
รู้หรือไม่?!?..... มีสถิติระบุว่า ขยะอาหารโลกพุ่งกว่า 1 พันล้านตัน ภาพขยะกองสูงเป็นภูเขาที่รอฝังกลบ กว่าครึ่งคือขยะอาหาร คนไทยเพียงคนเดียวผลิตขยะสูงลิ่ว 146 กก./คน/ปี
“รองนายกฯ ประเสริฐ” สั่งเดินหน้าคุมเข้มลดเจ็บ-ตายปีใหม่ เฝ้าระวัง “นักซิ่งเยาวชน” หลังพบดื่มแล้วขับ “เจ็บ-ตาย” เฉลี่ยชั่วโมงละ 3 คน เล็งเชื่อมข้อมูลทำระบบ “ใบสั่งออนไลน์”
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร
สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”
น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567
“ThaiHealth Watch 2025” เปิด 7 เทรนด์สุขภาพ ปี 2568 ความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ/เทคโนโลยี กระทบสุขภาพกาย-ใจคนทุกกลุ่ม
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเปิดงานจับตาทิศทางสุขภาพคนไทย 2568