ณ รร. แมนดารินกรุงเทพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จัดเวทีเสวนาเชิงนโยบาย (Policy Dialogue) “การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคมไทย” เพื่อสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่จำเป็นหนุนการพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคม และกลุ่มกิจการเพื่อสังคมให้เป็นกลไกสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างงาน สร้างรายได้ รวมทั้งลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ไทยประสบกับปัญหาต่าง ๆ อาทิ ผู้สูงอายุ สิ่งแวดล้อม คนจนเมือง การระดมเงินบริจาคอาจไม่ได้ตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้น จึงต้องมีการพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคม Social Enterprise (SE) ที่เข้ามาแก้ปัญหาตั้งแต่ฐานราก ช่วยผลักดันให้มีตลาดในการกระจายสินค้าและบริการจากชุมชน ให้คนภายนอกสามารถเขาถึงได้ เพื่อเศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืน
นางนภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม กล่าวว่า เป้าหมายของเวทีเสวนาเชิงนโยบาย (Policy Dialogue) ในวันนี้ เพื่อกำหนดแนวทางและสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายในการสร้างสภาพแวดล้อมที่จะพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก สสส. ที่ทำให้เกิดเวทีเสวนาเชิงนโยบายในครั้งนี้ รวมไปถึงองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนที่ได้เข้าร่วมเสวนาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อกำหนดทิศทางของวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย รวมทั้งเป็นแรงสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม และกลุ่มกิจการเพื่อสังคม ซึ่งครอบคลุมทุกมิติจากทุกภาคส่วน และสามารถนำมาปรับใช้ต่อการพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยต่อไป
“นโยบายกิจการเพื่อสังคมและชุมชน เพิ่มมากขึ้นทั้งในภาครัฐ และเอกชน อีก 10 ปี ข้างหน้า สวส. จะต้องทำให้ SE เป็นกระแสหลักของไทย เพื่อสังคมที่ดีขึ้น ในปี 2566 ที่ผ่านมาได้ทำกิจกรรมต่างๆ ที่สอดรับกับการทำงานพัฒนาศักยภาพองค์กรให้เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมที่สำคัญ อาทิ การทำประชาสัมพันธ์ ให้รู้จัก SE ของ สวส. มากยิ่งขึ้น และยังร่วมกับพันธมิตรจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทำงานร่วมกัน ทั้งหมดนี้จะช่วยให้สังคมดีขึ้นภายใต้ธุรกิจที่มีกำไร รวมถึงเศรษฐกิจที่ยั่งยืน” นางนภา กล่าว
ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส เน้นการทำงานเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพประชากรทุกวัย โดยการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม วิถีชีวิต และการเปลี่ยนแปลงเชิงสังคมและสภาพแวดล้อม รวมถึงการลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพตามเป้าหมายระยะ 10 ปี ของ สสส. เพื่อให้การทำงานสร้างเสริมสุขภาพสามารถขยายฐานสร้างความครอบคลุมได้มากขึ้น สสส. จึงมีแนวทางการทำงานสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชน เพื่อให้เกิดการขยายทรัพยากรในการทำงาน การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยการร่วมสร้างระบบนิเวศเชิงนโยบายใหม่ เพื่อพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคม และกลุ่มกิจการเพื่อสังคม โดยเฉพาะด้านสุขภาพและการสร้างเสริมสุขภาพจึงเป็นอีกหนึ่งบทบาทของ สสส.
“ในระยะต่อไป สสส. และ สวส. มีแผนความร่วมมือในลักษณะ Innovative partnership เพื่อพัฒนากลไกการทำงานร่วมในรูปแบบของ Health Promotion Grooming Platform เพื่อการบ่มเพาะพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคม และกลุ่มกิจการเพื่อสังคมด้านสุขภาพ โดยแพลตฟอร์มนี้จะประกอบด้วย ระบบกลไกพี่เลี้ยง ระบบประเมินความพร้อมและรับรองมาตรฐาน รวมทั้งเครื่องมือประเมินผลกระทบทางสังคมที่สะท้อนการเป็นกลไกทางสังคมของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการด้านสังคมและสุขภาพของประชาชน และผู้ให้บริการหรือวิสาหกิจเพื่อสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและสุขภาพในประเทศไทยได้” ดร.ประกาศิต กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รณรงค์ "กินให้หมดจาน" 50ร้านต้นแบบช่วยลดขยะ
รู้หรือไม่?!?..... มีสถิติระบุว่า ขยะอาหารโลกพุ่งกว่า 1 พันล้านตัน ภาพขยะกองสูงเป็นภูเขาที่รอฝังกลบ กว่าครึ่งคือขยะอาหาร คนไทยเพียงคนเดียวผลิตขยะสูงลิ่ว 146 กก./คน/ปี
“รองนายกฯ ประเสริฐ” สั่งเดินหน้าคุมเข้มลดเจ็บ-ตายปีใหม่ เฝ้าระวัง “นักซิ่งเยาวชน” หลังพบดื่มแล้วขับ “เจ็บ-ตาย” เฉลี่ยชั่วโมงละ 3 คน เล็งเชื่อมข้อมูลทำระบบ “ใบสั่งออนไลน์”
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร
สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”
น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567
ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์
ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต