นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. กล่าวว่า คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ได้มีมติเห็นชอบให้เสนอจังหวัดเชียงราย และจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นตัวแทนประเทศไทยยื่นเอกสารสมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยจังหวัดเชียงราย ยื่นสมัครเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ (City of Design) และจังหวัดสุพรรณบุรี ยื่นสมัครเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรี (City of Music)
ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2566 อพท. ได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการพัฒนาและยกระดับเมืองเพื่อขับเคลื่อนไปสู่การสมัครเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ รวม 3 เมือง ในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในความดูแลรับผิดชอบของ อพท. และได้ยื่นใบสมัครทั้ง 3 เมือง ได้แก่ จังหวัดน่าน ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (City of Crafts & Folk Art) จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านดนตรี (City of Music) และจังหวัดเชียงราย ด้านการออกแบบ (City of Design) โดยทั้ง 3 เมือง มีรูปแบบการทำงานผ่านกลไกการดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ของแต่ละจังหวัดและบูรณาการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชนท้องถิ่น
สำหรับการพัฒนาและยกระดับเมืองให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เป็นการขยายผลจากที่ อพท. ได้รับมอบหมายนโยบายจากนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้ขับเคลื่อนเมืองในพื้นที่พิเศษที่มีศักยภาพ ให้เกิดการยอมรับในระดับสากล เพื่อให้เกิดประโยชน์จากการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ไปสู่เมืองน่าอยู่และน่าท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยที่ผ่านมา อพท. ได้ดำเนินการผลักดันเมืองไปสู่ความสำเร็จ ได้เป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกแล้ว 2 แห่ง ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก หรือ City of Crafts & Folk Art ในปี 2562 และจังหวัดเพชรบุรี เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร หรือ City of Gastronomy ในปี 2564 ซึ่งทำให้เมืองได้เป็นที่รู้จักของสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ที่ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 295 เมือง จาก 90 ประเทศทั่วโลก เกิดการเดินทางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และก่อให้เกิดการเป็นที่รู้จักของกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ
***ลุ้นประกาศผู้ชนะตุลาคมนี้***
สำหรับจังหวัดเชียงรายและจังหวัดสุพรรณบุรี อพท. ได้เข้าไปพัฒนาและเห็นถึงศักยภาพและอัตลักษณ์ที่โดดเด่น สามารถต่อยอดผ่านแนวทางการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์และมีมาตรฐานตามหลักสากล เพื่อก้าวสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ระดับโลกของยูเนสโก (UCCN) อพท. จึงร่วมกับภาคีเครือข่าย ดำเนินการศึกษาศักยภาพและความเหมาะสมของเมืองตามองค์ประกอบของยูเนสโก โดยทำงานในรูปแบบคณะกรรมการ หรือคณะทำงานระดับจังหวัด เพื่อร่วมกันผลักดันจนไปสู่ความสำเร็จในวันนี้ ซึ่งจากการยื่นใบสมัครคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ได้พิจารณาและเห็นว่าทั้ง 2 เมือง มีการดำเนินงานและนำเสนอที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของยูเนสโก ทั้งเรื่องความชัดเจนของข้อมูลที่กรอกในใบสมัคร การนำเสนอต้นทุนของเมือง ความพร้อมในการเตรียมการ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่ส่งเข้าประกวดในรอบ 4 ปี สิ่งที่ตั้งใจจะดำเนินการเพื่อตอบโจทย์การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ตลอดจนความพร้อมของเมือง ความมุ่งมั่นและมีกลไกที่ชัดเจนในการทำงานรวมกันต่อเนื่องในระยาว โดยยูเนสโกจะประกาสผลการคัดเลือกเมืองสร้างสรรค์ประจำปี 2566 ในเดือนตุลาคม 2566
***วางโรดแมป 5 ปีพัฒนาต่อเนื่อง***
ด้านการเตรียมความพร้อม อพท. ร่วมจัดทำแผนที่นำทาง (Roadmap) ระยะ 5 ปี กับคณะทำงานทั้งจังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดเชียงราย กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองระยะ 5 ปี ตามหลักเกณฑ์ของการเป็นสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก เพื่อใช้พัฒนาเมืองและชุมชนให้เกิดความยั่งยืน และเกิดประโยชน์สูงสุดกับคนในพื้นที่เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยจังหวัดสุพรรณบุรี มีเป้าหมายการขับเคลื่อน “สุพรรณบุรี เมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรี” ได้วางแผนดำเนินงาน อนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่และต่อยอดให้เป็นเมืองแห่งดนตรี จากรากฐานวัฒนธรรมทางด้านดนตรีที่เข้มแข็ง ผสมกลืมกลืนกับวิถีชีวิตของของในท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน ทั้งดนตรีพื้นบ้าน ภาษาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ การพัฒนาบุคลากรด้านดนตรีที่มีความสำคัญกับประเทศมายาวนาน เห็นได้จากการมีปูชนียบุคคลทางด้านดนตรี ศิลปินแห่งชาติฯ ในพื้นที่แห่งนี้จำนวนมาก สำหรับจังหวัดเชียงราย จะดำเนินการต่อยอดจากแผนงานเดิมในปี 2564 ซึ่ง อพท. ได้ร่วมจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติตามแผนขับเคลื่อนเชียงรายเป็นเมืองแห่งการออกแบบ เพราะเป็นเมืองที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น มีศิลปินล้านนาจำนวนมาก มีการสร้างสรรค์ทางศิลปะที่สืบทอดกันมาทั้งจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ที่บ่งบอกถึงภูมิปัญญาและวัฒนธรรมทางท้องถิ่น และเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม มายาวนาน
อย่างไรก็ตาม อพท. ยังคงร่วมกับเครือข่ายการพัฒนาเมืองในพื้นที่พิเศษฯ พัฒนา ยกระดับและผลักดันเมืองเข้าสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี เมืองในพื้นที่พิเศษลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (สงขลา พัทลุงและนครศรีธรรมราช) และอีกหลายพื้นที่ที่ได้มีการศึกษาศักยภาพไว้เบื้องต้นแล้ว
ซึ่งรวมถึงจังหวัดน่าน ที่ยังไม่ผ่านการคัดเลือกในปีนี้ โดยมีเป้าหมายผลักดันเมืองที่มีมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระดับสากลให้นักท่องเที่ยวและนานาชาติได้เกิดการรับรู้ศักยภาพของประเทศไทยในระดับโลกต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อพท.เปิดรับฟังความคิดเห็นหลักสูตรบริหารจัดการท่องเที่ยวยั่งยืน
การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเป็นแนวทางสำคัญที่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ล่าสุด ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ รองผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมถอดบทเรียนแนวทางการส่ง
ทั่น สส.โตโต้แจงผลไปทัวร์โปแลนด์ 9 วันในฐานะตัวแทนประเทศไทย
นายปิยรัฐ จงเทพ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.)
อพท. ผนึก 5 มหาวิทยาลัย ปั้นแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน ขับเคลื่อนการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาสู่มาตรฐานสากล
อพท. จับมือ 5 สถาบันการศึกษา ร่วมหนุนเสริมการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ระยะ 4 ปี หวังยกระดับการบริหารจัดการพื้นที่สู่เกณฑ์มาตรฐานสากล