กรมส่งเสริมการเกษตร น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาพื้นที่รอบโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบ่อดินขาว อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยถ่ายทอดเทคโนโลยี มอบเมล็ดพันธุ์พืชผัก และชีวภัณฑ์ต่าง ๆ ให้เกษตรกรได้ทำแปลงผักผสมผสาน สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ด้านเกษตรกรต่างนำพืชผักที่ปลูกไปขายในตลาด มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า โครงการพัฒนาแหล่งน้ำพื้นที่สระบ่อดินขาว อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานความช่วยเหลือในการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง น้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และใช้ทำการเกษตร และได้มีการน้อมนำแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ฟื้นฟูป่าต้นน้ำเขาวง การปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง สร้างระบบสำรองน้ำและเชื่อมต่อแหล่งน้ำสู่สระบ่อดินขาว ฟื้นฟูทางน้ำที่เชื่อมต่อกับคลองชัยนาท - ป่าสัก รวมทั้งเสริมระบบสำรองน้ำและจ่ายน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคและการเกษตร และใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ร่วมดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำพื้นที่สระบ่อดินขาว ตั้งแต่ปี 2565 โดยถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีด้านการเกษตร หลักสูตร หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำแปลงต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงาน สามารถขยายผลแปลงต้นแบบไปยังพื้นที่เกษตรกรรายอื่น ๆ รวมถึงส่งเสริมกิจกรรมการปลูกพืชผักบริเวณแนวคันดินทั้ง 2 ฝั่ง ของสระบ่อดินขาว เป็นการใช้ประโยชน์พื้นที่ในการปลูกพืชผักระยะสั้น ซึ่งดูแลโดยประชาชนรอบสระ โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบดูแลพืชผัก ผลผลิตที่ได้แบ่งปันนำไปบริโภคในครัวเรือน
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีด้านการเกษตร หลักสูตร หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเกษตรกรในพื้นที่รอบโครงการฯ เข้ารับการอบรม พร้อมทั้งสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ผัก ต้นไม้ผล พืชสมุนไพร ค่าวัสดุ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สมุนไพรไล่แมลง สารชีวภัณฑ์ป้องกันเชื้อรา น้ำหมักชีวภาพ และอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการจัดทำแปลงเกษตรผสมผสานให้กับเกษตรกรที่ผ่านการอบรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นแปลงต้นแบบและสามารถขยายผลแปลงต้นแบบไปยังพื้นที่เกษตรกรรายอื่น ๆ จากการดำเนินงาน ทำให้เกษตรกรที่ร่วมโครงการ ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ลดรายจ่าย มีรายได้ มีอาชีพ และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่งผลให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป
ด้านนางนิด บัวสอน เกษตรกรตำบลพรหมนิมิต อำเภอตาคลี กล่าวว่า ได้รับเมล็ดพันธุ์พืชผักจากกรมส่งเสริมการเกษตร โดยปลูกพืชผักหลายชนิด เช่น ถั่วฝักยาว กุยช่าย ข้าวโพด กล้วย มันแกว และหอมแดง เนื้อที่ปลูกประมาณ 3 ไร่เศษ ใช้ระบบน้ำแบบสปริงเกอร์เข้าช่วย เพื่อลดการใช้แรงงานคน โดยพืชผักต่าง ๆ ปลูกสลับกันไป หากชนิดใดถึงเวลาเก็บเกี่ยวก็นำไปขายที่ตลาดใกล้บ้าน รายได้เฉลี่ยวันละ 700-800 บาท ทำให้พออยู่ได้ มีพอกิน เป็นเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช้จ่ายเกินตัวก็เพียงพอแล้ว ที่สำคัญได้อยู่ในหมู่บ้านและอยู่กับลูกหลาน ชีวิตก็มีความสุขแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
CP LAND รุกโครงการบ้านเดี่ยว ส่ง SŌLVANI ปูพรมภาคกลาง พิษณุโลก – นครสวรรค์ จับตลาดบน
CP LAND บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศไทย เดินหน้าสานต่อบุกตลาดบ้านเดี่ยวระดับพรีเมียมโซนภาคกลาง พิษณุโลก-นครสวรรค์
แปลงใหญ่กล้วยน้ำว้า เพชรบุรี วางแผนกู้วิกฤต
นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่นเดียวกับเกษตรกรแปลงใหญ่กล้วย หมู่ 2,3,6
กรมส่งเสริมการเกษตร ยกชุมพร “เมืองมะพร้าวคุณภาพ” สร้างมาตรฐานเกิดทั้งจังหวัด
มะพร้าว ยังคงเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ มีพื้นที่ปลูกโดยรวมทั้งประเทศ 862,718 ไร่ โดยให้ผลผลิตแล้วเนื้อที่ 834,000 ไร่ ผลผลิตออกสู่ตลาด 842,306 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,010 กิโลกรัมต่อไร่ สร้างมูลค่ากว่า 6,887 ล้านบาท
กรมส่งเสริมการเกษตร ดัน 'กาแฟบ้านมณีพฤกษ์' สู่แปลงใหญ่ เพิ่มรายได้เกษตรกร
กรมส่งเสริมการเกษตร เข้าพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกาแฟบ้านมณีพฤกษ์ สู่แปลงใหญ่กาแฟบ้านมณีพฤกษ์ และมุ่งเป้าพัฒนาสู่เกษตรมูลค่าสูง ภายใต้แนวคิด ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม
แปลงใหญ่ผักบ้านบางท่าข้าม สุราษฎร์ธานี ผลิตพืชผักคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน สร้างรายได้สู่ชุมชนกว่า 4 ล้านบาทต่อปี
นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายสำคัญในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตรดันฉะเชิงเทราเป็นแหล่งผลิตมะม่วงคุณภาพดี ส่งเสริมการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ พัฒนาเป็นผลไม้อัตลักษณ์ ก้าวสู่สินค้า GI
นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า มะม่วงเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา เนื่องจากมีรสชาติดี