ชลธี ธารทอง ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะ การแสดง ประจำปี 2542 และได้รับฉายา "เทวดาเพลง" ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังหาใครเทียบได้ยาก
การจากไปของชลธี ธารทอง ครูเพลงชื่อดังและศิลปินแห่งชาติในวัย 85 ปี ถือเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของวงการศิลปวัฒนธรรมไทย ครูชลธีฝากบทเพลงที่ทรงคุณค่า 5,000 กว่าเพลง เป็นบทเพลงที่ทุกคนประทับใจและจดจำ งานของครูชลธีสร้างตำนานที่ยิ่งใหญ่ให้วงการลูกทุ่งไทยอีกด้วย
สำหรับพิธีบำเพ็ญกุศล ครูชลธี ธารทอง ศิลปินแห่งชาติ จัดขึ้นที่วัดไร่ขิง พระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม กำหนดสวดพระอภิธรรมศพ 7 คืน ตั้งแต่วันที่ 24 - 31 ก.ค. 2566 เวลา 19.00 น. (วันที่ 28 ก.ค. หยุด 1 วัน เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา) และบรรจุศพไว้ 100 วัน เพื่อรอหมายกำหนดการพิธีพระราชทานเพลิงศพต่อไป
วันที่ 24 ก.ค. 2566 ที่ผ่านมา เวลา 17.30 น. นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดี สวธ. พร้อมผู้บริหาร ร่วมพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ นายสมนึก ทองมา (ชลธี ธารทอง) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักแต่งเพลงลูกทุ่ง) พ.ศ.2542 จากนั้นเวลา 19.00 น. ร่วมงานสวดพระอภิธรรม โอกาสนี้ นางนวลพรรณ ล่ำซำ ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ให้เกียรติร่วมงานสวดพระอภิธรรม ณ ศาลากองอำนวยการ วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
สำหรับนายสมนึก ทองมา (ชลธี ธารทอง) ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม 2566 เวลา 17.57 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริรวมอายุ 85 ปี โดยมีพิธีสวดพระอภิธรรมตั้งแต่วันที่ 24-31 กรกฎาคม 2566 เวลา 19.00 น.และในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 หลังจากสวดพระอภิธรรมเสร็จเรียบร้อย ทางทายาทจะมีพิธีบรรจุศพเก็บไว้ 100 วัน เพื่อรอขอพระทานเพลิงศพต่อไป โอกาสนี้ คณะกรรมการกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรม โดยนางนวลพรรณ ล่ำซำ ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม สนับสนุนสวัสดิการช่วยเหลือ ได้แก่ มอบเงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิต เพื่อร่วมการบำเพ็ญกุศลศพจำนวน 20,000บาท ค่าเครื่องเคารพศพ จำนวน 3,000 บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดพิมพ์หนังสือเผยแพร่ผลงาน เมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000 บาท
ปัจจุบันศิลปินแห่งชาติ ที่ได้รับการเชิดชูเกียรติ โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี 2528 ถึงปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น 343 คน ถึงแก่กรรม จำนวน 176 คน ยังมีชีวิตอยู่ จำนวน 167 คน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แต่งชุด 'เคบายา' ทั้งเมืองภูเก็ต ฉลองยูเนสโกขึ้นมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับจังหวัดภูเก็ตจัดงานเฉลิมฉลองการได้รับประกาศ ต้มยำกุ้ง และ ชุดแต่งกาย เคบายา เป็นรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเภทบัญชี รายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
บอร์ด ICH ขึ้นบัญชี 10 มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม ‘งานนมัสการพระธาตุพนม-เสื่อกกจันทบูร-ผ้าหม้อห้อม-ตำนานสุบินกุมาร‘
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมครั้งที่ 3/2567 พิจารณาเห็นชอบให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
อาลัย ‘สันติ ลุนเผ่’ ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลังอมตะ ผู้ขับร้องเพลงปลุกใจรักชาติ
10 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พ.ศ.2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม
สิ้น'สันติ ลุนเผ่' ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลัง
นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) โดยกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2567
ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม
โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List