สส. ระดม ทสม. 17 จังหวัดภาคเหนือ ร่วมเวทีเครือข่ายภาคประชาชน เฝ้าระวังปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) จัดเวทีเครือข่ายภาคประชาชน ตั้งรับ ปรับตัว เฝ้าระวังปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์เอลนีโญ ภายใต้โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนข้อปฏิบัติงาน (AAR) และพัฒนากลไกความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควัน ในพื้นที่ภาคเหนือ ปี 2566 โดยได้รับเกียรติจาก นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานพิธีเปิด ระหว่างวันที่ 21 – 22 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมฮอลิเดย์ การ์เดน จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อถอดบทเรียนการทำงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทบทวนแผนและสถานการณ์ปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน รวมถึงพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ ส่งเสริมบทบาทให้เครือข่าย ทสม. เครือข่ายอาสาสมัคร และประชาจิตอาสาทุกภาคส่วน เข้ามาเป็นกลไกในการสร้างการรับรู้ให้ชุมชนท้องถิ่น อีกทั้งจัดทำข้อเสนอของเครือข่ายภาคประชาชน เสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในระดับนโยบาย ได้นำข้อเสนอของภาคประชาชน มากำหนดนโยบาย มาตราการและสนับสนุนการทำงานให้ตอบสนองความต้องการของพื้นที่ รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อม ตั้งรับ ปรับตัว เฝ้าระวังปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์เอลนีโญ อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาไฟป่า หมอกควัน ภาคเหนือ และค่าฝุ่นละออง PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน เป็นปัญหาที่มีมาอย่างต่อเนื่องและคาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะขณะนี้โลกกำลังเข้าสู่ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” ที่จะส่งผลกระทบให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น และอาจเกิดภัยแล้งรุนแรงในหลายพื้นที่ ประกอบกับปริมาณเชื้อเพลิงใบไม้สะสมในพื้นที่ป่า ทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าและฝุ่นควันมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้าง สนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษ ด้านฝุ่นละออง” จึงมีประกาศแต่งตั้งคณะทำงานสนับสนุนการจัดทำแผนงานป้องกันไฟป่า และการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในระดับพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีคณะที่ปรึกษา คณะทำงาน และผู้ประสานงาน เป็นองค์ประกอบ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นศูนย์แห่งแรกของภาคเหนือ เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นได้เข้ามาใช้ประโยชน์ อีกทั้งเตรียมพร้อมรองรับ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) ได้ให้ความสำคัญกับการสื่อสารเชิงรุก สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องให้กับพี่น้องประชาชน “มุ่งเน้นมาตรการป้องกัน มากกว่าการแก้ไขปัญหา” รวมถึงประเด็นสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชน ในการลดความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้ามามีบทบาทและเป็นกลไกสำคัญในการเฝ้าระวังในรูปแบบเครือข่ายอาสาสมัครภาคประชาชน ในการประสานความร่วมมือ ร่วมกันทำงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทุกภาคส่วน ประสานพลังสู่การปฏิบัติในพื้นที่ โดยในปี 2566 ได้กำหนด มาตรการป้องกันและแก้ปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง มุ่งเน้น “3 พื้นที่ 7 มาตรการ” เพื่อยกระดับความเข้มงวดใน 3 พื้นที่ คือ พื้นที่เมือง พื้นที่ป่า และพื้นที่เกษตรกรรม และ 7 มาตรการสำคัญ ประกอบด้วย 1. เร่งรัดการประชาสัมพันธ์เชิงรุก 2. ยกระดับมาตรการการดำเนินงาน 3. ยกระดับการบริหารจัดการเชื้อเพลิงแบบครบวงจร 4. กำกับ ดูแลการดำเนินการในทุกระดับอย่างเข้มงวด และต่อเนื่อง 5. ลดจุดความร้อน ป้องกันและควบคุมการเกิดไฟในทุกพื้นที่ และพัฒนาระบบพยากรณ์ 6. ผลักดันกลไกระหว่างประเทศ แก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน 7. ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่นละออง โดยเฉพาะการสนับสนุนบทบาทเครือข่ายอาสาสมัครและจิตอาสาภาคประชาชน เป็นกลไกในการสร้างการรับรู้ให้กับชุมชน เฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน รวมถึง การตั้งรับ ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่อง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดเวทีเครือข่ายภาคประชาชน ตั้งรับ ปรับตัว เฝ้าระวังปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์เอลนีโญ ภายใต้โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนข้อปฏิบัติงาน (AAR) และพัฒนากลไกความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควัน โดยมีผู้เข้าร่วมเวทีดังกล่าว จำนวน 160 คน ประกอบด้วย เครือข่ายทสม. 17 จังหวัดภาคเหนือ เครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวังไฟป่า ลดหมอกควัน เครือข่ายสมัชชาสิ่งแวดล้อมม้ง เครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ องค์กรพัฒนาเอกชน เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ เวทีเสวนา: เรียนรู้ เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการเตรียมความพร้อมเฝ้าระวังไฟป่า ฝุ่นควัน ในสถานการณ์เอลนีโญ่ (El Nino) เวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้: บทเรียนการทำงานเครือข่ายภาคประชาชน ในการเฝ้าระวังไฟป่า ลดหมอกควันกับ แนวทางการตั้งรับ ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์เอลนีโญ่ และกิจกรรมการแบ่งกลุ่มย่อยระดมสมอง จัดทำแผนและข้อเสนอเชิงนโยบายของเครือข่ายภาคประชาชน เปิดโอกาสให้ภาคีทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมและเป็นกลไกสำคัญในการตั้งรับ ปรับตัว เฝ้าระวังปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์เอลนีโญ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พยากรณ์อากาศ 24 ชม. ‘เหนือ’ สัมผัสหนาวต่ำสุด 18 องศาฯ ‘กทม.’ 23 องศาฯ

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน

'ทวี' สวมบท สส. รับ 'คดีตากใบ' ไม่เป็นธรรม ไร้เงาผู้ต้องหา

'ทวี' ชี้ 'ตากใบ-ไฟใต้' ทุกภาคส่วนต้องร่วมหาทางออก ย้ำสังคมขาดความยุติธรรมมีความแตกแยก ผู้มีอำนาจอาจอยู่ไม่ได้ เร่งเยียวยาจิตใจคนชายแดนใต้