นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญ เมื่อกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำเทคโนโลยีบนโลกดิจิทัล ร่วมกันสานพลังเทศบาล 4 แห่ง โรงพยาบาล 1 แห่ง ศูนย์วิทยาศาสตร์ 13 แห่ง เพื่อขับเคลื่อน “ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค” หลังพบความสำเร็จการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อตัวแปรสร้างปัญหาต่อสุขภาพ และบรรลุเป้าประสงค์ในการกระตุ้นให้สังคมตื่นรู้สุขภาวะ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค” ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการ สสส. เปิดเผยว่า ขณะนี้ สสส.นำเทคโนโลยีดิจิทัลจากศูนย์เรียนรู้สุขภาวะในช่วง 8 ปี มามุ่งขยายผลแหล่งส่งเสริมการเรียนรู้ ส่งต่อองค์ความรู้ด้านสุขภาวะที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการปรับทัศนคติสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน เมื่อ 3 ปีก่อนร่วมลงนามฉบับแรกๆ ทำงานอย่างต่อเนื่องกับเครือข่ายการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ขณะนี้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) นำพันธมิตรในท้องถิ่นใช้องค์ความรู้ย่อยเป็นเครื่องมือสำคัญให้ผู้คนเข้าใจสุขภาวะตัวเอง สิ่งแวดล้อมรอบตัว
การลงนามในครั้งนี้ ได้สานพลังหน่วยงานพันธมิตรแหล่งเรียนรู้ 18 แห่งทั่วประเทศ คือ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 13 แห่ง อปท. 4 แห่ง โรงพยาบาล 1 แห่ง เน้นขยายผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล สร้างโอกาสใหม่ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยขยายฐานผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายที่มีการยกระดับเชิงนโยบาย เกิดเป็นกลไกทวีคูณที่เข้าถึงในระดับพื้นที่ชุมชน มุ่งให้ประชาชนมีความรอบรู้ทางสุขภาพตามวิถีชีวิตของตนเอง นำไปสู่การสร้างสังคมสุขภาวะ หวังว่าจะสร้างโอกาสใหม่ๆ ในวันข้างหน้า
“ผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2558-2566 ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุป 1.มีผู้รับประโยชน์กว่า 7 ล้านคน โดย 97% มีความรู้ด้านสุขภาวะมากขึ้น สร้างแกนนำ 4,000 คน และมีแนวคิดในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ซึ่งเกิดจากความร่วมมือขยายผลผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาคร่วมกันพัฒนาขึ้น 2.เกิดนวัตกรรมการสร้างสื่อเรียนรู้กว่า 40 ชิ้นงาน เช่น บอร์ดเกม กิจกรรมบูรณาการ หลักสูตรการเรียนรู้ สุขภาวะที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ 3.เกิดเครือข่ายการทำงานขยายผลองค์ความรู้สุขภาวะในพื้นที่ ทั้งหน่วยงานด้านการศึกษาในระบบและนอกระบบ หน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานท้องถิ่น และภาคประชาชน ทั้งนี้ จุดเริ่มต้นของความสำเร็จที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการให้ความสำคัญของผู้บริหารที่ผลักดันเข้าสู่ระดับนโยบายและการปฏิบัติการ” ดร.สุปรีดากล่าวและตอกย้ำว่า
"ด้วยความร่วมมือและสานพลังกันอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ทำให้ปัจจุบัน ศูนย์วิทยาศาสตร์ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ พลิกโฉมใหม่ต่อวงจรการเรียนรู้ทุกช่วงวัยโดยไม่มีขีดกั้น อุทยานการเรียนรู้ TK Park ที่ยะลาใหญ่ที่สุดในเมืองไทยก็จะเปิดเร็วๆ นี้ ในขณะที่โรงพยาบาลน่านเป็นต้นแบบบริการปฐมภูมิ ให้ความรู้ในการบริโภคอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ยาตลอดชีวิต ทั้งนี้เกิดจากการใช้รูปแบบการสื่อสารที่เข้มข้นผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะ Personal Health ใช้ปัญญาประดิษฐ์รักษาสุขภาพเป็นรายบุคคล ขณะนี้กำลังศึกษามัลติเวิร์ส (พหุจักรวาล) เราหวังว่าพันธมิตรทุกภาคส่วนจะมาสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ ร่วมกัน"
น.ส.ทรงศรี วิระรังษิยากรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) กระทรวงศึกษาธิการ ชี้แจงว่า “สกร.ทำงานร่วมกับ สสส.เสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา มีสื่อการเรียนรู้สวยๆ ดึงดูดความสนใจคนในชุมชน เพิ่มการเรียนรู้ พัฒนาบุคลากรในการใช้สื่อเป็นองค์ความรู้ สกร.มีกิจการผู้สูงอายุที่จะต้องใส่ใจเรื่องสุขภาวะทางกายและจิต เราจะหวังพึ่งหมออย่างเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อเดินหน้า”
นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา เปิดเผยว่า "เทศบาลให้ความสำคัญต่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี (wellbeing) รวมถึงสุขภาวะที่ดี ที่ช่วยให้ประชาชนทุกช่วงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยผลักดันให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ ณ เทศบาลนครยะลา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความคิดและทักษะในการดำเนินชีวิต และเกิดสังคมการเรียนรู้ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า สสส.มีศักยภาพและความชำนาญในการพัฒนาเครื่องมือ สื่อ และชุดการเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งมีเครือข่ายที่ร่วมขับเคลื่อนกระจายทั่วพื้นที่ ผนวกกับเทศบาลมีความชำนาญในการสร้างการเรียนรู้ตามอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงเป็นฐานสำคัญในการสร้างโอกาสและการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนในทุกระดับ
“สสส.ให้โอกาสผู้บริหารท้องถิ่น จุดแข็งของท้องถิ่นเป็น front liner รู้จักประชาชน ไม่ใช่เพียงให้ความรู้อย่างเดียว แต่สร้าง wellbeing มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีศูนย์กลางการเรียนรู้ต่างๆ สสส.ผลิตสื่อเมื่อสิบกว่าปีก่อนในฐานะนักคิดที่ creative ทำสื่อ expert เข้าถึงประชาชน ให้เหล้าเท่ากับแช่ง โครงการลดพุง สสส.ก้าวไกลไปถึงหนังสืออ่านนอกเวลา ด้วยการรวบรวมข้อมูลเป็น specialist ผสมผสานความเข้าใจในพื้นที่ สร้างองค์ความรู้ wellbeing ไปด้วยกัน ความร่วมมือกับท้องถิ่น 4 แห่ง สสส.ทำศูนย์เด็กเล็กในหลายมิติขยายครอบคลุมพื้นที่สุขภาวะให้มาก” นายพงษ์ศักดิ์เปิดเผย
นายพงษ์ศักดิ์ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้มีหลายพื้นที่สร้างศูนย์การเรียนรู้ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา อุดรธานี การสร้างความร่วมมือแต่ละท้องถิ่นให้เป็นโอกาส ขณะนี้นายกเทศมนตรีทั่วประเทศเข้ามาประชุมเพื่อนำองค์ความรู้สร้างเสริมสุขภาวะรองรับในอนาคต เมื่อปี 2548 เราสร้างอุทยานการเรียนรู้ TK Park ที่ยะลาแห่งที่ 2 ของประเทศ วันนี้เราสร้าง TK Park ที่ยะลา 6 ชั้นใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นความร่วมมือ 90 ปีความสัมพันธ์ไทย-สวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ชอบบรรยากาศเมืองยะลา พร้อมเปิดให้บริการในเดือน ส.ค. ขณะเดียวกันยะลาเตรียมจัดสร้างTK Mobile ออกไปตามอำเภอ นอกเขตเทศบาลเพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
พญ.วาลิกา รัตนจันทร์ รองผู้อํานวยการฝ่ายปฐมภูมิ โรงพยาบาลน่าน จ.น่าน เปิดเผยว่า โรงพยาบาลน่าน เน้นการทำงานสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเข้าถึงชุมชนและประชาชนในทุกกลุ่มวัย โดยมีแนวคิด “ทำให้การส่งเสริมสุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน ไม่ใช่ภาระความรับผิดชอบของภาคส่วนสุขภาพเท่านั้น” จากการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาคร่วมกับ สสส. ทำให้โรงพยาบาลเกิดโมเดลทำงานใหม่ “โรงพยาบาลอ่อนหวาน” และพัฒนาศักยภาพ อสม.ให้เป็น “อสม.เชี่ยวชาญโรคเบาหวาน” ในชุมชน ทำให้เกิด อสม.เชี่ยวชาญเบาหวานรวม 96 คน ที่ใช้เครื่องมือสร้างการเรียนรู้จาก สสส. ขยายผลให้ความรู้และกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนปรับพฤติกรรม ซึ่งนับเป็นข้อดีหากสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพขึ้นมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะมีคนมาร่วมสร้างสุขภาพของชุมชนมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งโมเดลดังกล่าวสามารถขยายผล สร้างการเรียนรู้สุขภาวะสู่โรงพยาบาลอื่นๆ ในระดับจังหวัดต่อไปได้
“โครงการกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานนำร่อง 50 คนพบแพทย์ให้ความรอบรู้ การใช้ชีวิตทุกสัปดาห์ และนำไปปฏิบัติส่งผลให้ลดเบาหวานได้ 20-30% หยุดยาเบาหวานทั้งยาฉีด ยากิน เราทำเมื่อต้นปีที่ผ่านมาเห็นผลใน 6 เดือน มีคนไข้เบาหวานพร้อมลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการนำร่อง และเตรียมขยายโครงการนำร่องรักษาผู้ป่วยเบาหวานไปยังอำเภอต่างๆ ทั่วทั้งจังหวัด เราตรวจพบคนเป็นโรคเบาหวานอายุ 40 ปีขึ้นไป เกิดจากพฤติกรรมการกินหวาน อาหารมัน รสจัด โปรตีนน้อย ไม่ออกกำลังกาย ขณะนี้คนน่านตรวจพบเป็นเบาหวานรายใหม่ 5-7% เฉพาะ รพ.น่านมีคนไข้เบาหวานมากกว่า 2,000 คน น่านยังมี รพ.ในชุมชนอีกหลายแห่งที่ดูแลคนไข้ด้วย” พญ.วาลิกาเล่าถึงการทำงานเชิงรุก.
สานพลัง..ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค” โดยมีนางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วย ผจก.กองทุนสนับนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. น.ส.ทรงศรี วิระรังษิยากรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นสักขีพยานการลงนามครั้งประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย
1.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
2.เทศบาลนครยะลา
3.เทศบาลนครภูเก็ต
4.เทศบาลนครอุดรธานี
5.เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
6.โรงพยาบาลน่าน
7.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครพนม
8.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสมุทรสาคร
9.ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด
10.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาลำปาง
11.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครสวรรค์
12.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษากาญจนบุรี
13.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว
14.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต
15.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครราชสีมา
16.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพิษณุโลก
17.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาอุบลราชธานี
18.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษายะลา
19.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานราธิวาส
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว
"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น
“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.
วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั
สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ
สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ
"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ
เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน
สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้
เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต