ชป. เตรียมพร้อมบริหารจัดการน้ำ รับมือพายุตาลิม

วันนี้ (17 ก.ค. 66) ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน ถนนสามเสน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ Video Conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1-17 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ต่อไป

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (17 ก.ค. 66) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกัน 38,151  ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯ รวมกัน สามารถรับน้ำได้อีก 38,186 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 9,962 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุอ่างฯ รวมกัน สามารถรับน้ำได้อีก 14,909 ล้าน ลบ.ม. สำหรับสถานการณ์ค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ค่าความเค็มอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถควบคุมได้และไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปา

ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนเฝ้าระวังพายุโซนร้อน “ตาลิม” (TALIM) ประกอบกับมีร่องมรสุมกำลังแรงเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ในช่วงวันที่ 17 - 20 ก.ค.นี้ อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้นั้น กรมชลประทานได้กำชับไปยังโครงการชลประทานทั่วประเทศ ให้ติดตามสภาพอากาศและปริมาณฝนอย่างใกล้ชิด ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 รวมทั้งข้อสั่งการของกรมชลประทานอย่างเคร่งครัด ในส่วนของปรากฎการณ์เอลนีโญ ที่อาจจะส่งผลให้ทั้งประเทศไทยเกิดฝนตกน้อยกว่าค่าปกติยาวนานจนถึงปีหน้า นั้น ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัด ช่วยกันเก็บกักน้ำไว้สำรองใช้ให้ได้มากที่สุด เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินตามแนวพระราชดำริ...ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมชุมพร

ในช่วงวันที่ 13-15 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมามรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงได้พัดปก คลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคใต้ตอนล่างเคลื่อนลงสู่ทะเลอัน

จับตาการพัฒนาลุ่มน้ำสงคราม “อู่ข้าวอู่น้ำ” ของภาคอีสานตอนบน

ลุ่มน้ำสงคราม สาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี มีพื้นที่ประมาณ 12,700 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7.94 ล้านไร่

ประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความยั่งยืนของการพัฒนาลุ่มน้ำเลย

ลุ่มน้ำเลย เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำเลยเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่มีต้นน้ำอมาจากอำเภอภูหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงลาดชัน

ตอนบนของประเทศ ฝนลดลง ชป.เดินหน้าเก็บกักน้ำปลายฤดูฝน สำรองไว้ใช้แล้งหน้าให้มากที่สุด

เมื่อวันนี้ 15 ต.ค. 67 ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (swoc) อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำกู กรมชลประทาน ถนนสามเสน ผศ.ดร.สิตางศ์ พิสัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา