นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า แปลงใหญ่ทุเรียนบ้านซำตารมย์ หมู่ที่ 7 บ้านซำตารมย์ ตำบลตระกาจ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ ได้ใช้ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงานภายใต้การบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งจัดตั้งเป็นแปลงใหญ่ขึ้นเมื่อปี 2559 ปัจจุบันมีความเข้มแข็ง สมาชิกมีความรู้ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงกระบวนการตลาด มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ มีกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง ผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น ผลผลิตมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในชื่อของ “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” นำไปสู่การจดสิทธิบัตรเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ที่สำคัญของจังหวัด โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา สามารถจำหน่ายได้ราคาดีอยู่ที่กิโลกรัมละ 150-180 บาท เพิ่มขึ้นจากเมื่อปี 2563 ที่เคยขายได้กิโลกรัมละ 50-60 บาท นับเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแก่คนในชุมชน ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ โดยเกษตรกรยังสามารถพัฒนาไปเป็นผู้ประกอบการธุรกิจและสามารถขยายผลความสำเร็จส่งต่อไปยังชุมชนอื่น ๆ ได้อีกด้วย
ด้านนายทศพล สุวะจันทร์ ประธานแปลงใหญ่ทุเรียนบ้านซำตารมย์ กล่าวว่า ทางกลุ่มได้เริ่มต้นปลูกทุเรียนเมื่อปี 2531 ได้กำไรไร่ละ 100,000 บาท จึงเกิดแนวคิดปลูกทุเรียนทดแทนการปลูกพืชไร่ โดยปรับเปลี่ยนพื้นที่มาปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง จำนวน 14 ไร่ โดยระยะแรกนั้นมีเกษตรกรในหมู่บ้านใกล้เคียงให้ความสนใจและเกิดการรวมกลุ่มกันอย่างไม่เป็นทางการ ปัญหาที่พบคือ มีการระบาดของโรคและแมลง ทำให้ต้นทุเรียนได้รับความเสียหาย ให้ผลผลิตได้ไม่เต็มที่ เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ย ฮอร์โมน และสารเคมีที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและมีรายได้ลดลง แต่เมื่อมีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นแปลงใหญ่ทุเรียนบ้านซำตารมย์ขึ้นและขับเคลื่อนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิก ยึดหลักร่วมคิดร่วมทำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชื่อมโยงเครือข่าย พัฒนาการอารักขาพืชด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเกษตรกร ลดต้นทุนการผลิต มีการใช้ศักยภาพของพื้นที่สร้างความโดดเด่นให้กับสินค้าทุเรียน พัฒนาผลผลิตให้ได้มาตรฐานเพื่อเพิ่มมูลค่า ร่วมกับการสร้างเรื่องราวของแหล่งกำเนิดทุเรียน สนับสนุนการขึ้นทะเบียน GI โดยมีรูปแบบการจำหน่าย จองต้น หน้าสวน และออนไลน์
“สมาชิกแปลงใหญ่ทั้ง 94 ราย มีการบริหารจัดการแปลงตามวิธีการดำเนินงานของแปลงใหญ่ และมีการบริหารจัดการผลผลิตผ่านคณะกรรมการแปลงใหญ่บ้านซำตารมย์ในทุกขั้นตอน ได้แก่ 1) ลดต้นทุนการผลิตให้ได้ร้อยละ 20 โดยส่งเสริมให้สมาชิกใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน รวมกลุ่มจัดหาปุ๋ยที่เหมาะสมเพื่อต่อรองราคา ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี รณรงค์ใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันโรค-แมลง 2) เพิ่มผลผลิตให้ได้ร้อยละ 20 ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยให้ถูกชนิด ถูกอัตรา และถูกเวลา ตามแผนการที่ผลิตไว้ ส่งเสริมให้เกษตรกรปัดดอกทุเรียนเพื่อเพิ่มอัตราการติดลูกและได้ขนาดตามมาตรฐาน 3) พัฒนาคุณภาพทุเรียนให้ได้มาตรฐาน กำหนดให้ทุกแปลงที่ให้ผลผลิตแล้วต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP นำไปสู่การขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ GI 4) การตลาด ประสานจัดหาแหล่งรับซื้อทุเรียนในราคาที่เหมาะสม มีการจำหน่ายหลากหลายช่องทาง และเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดี และ 5) การบริหารจัดการในรูปของคณะกรรมการแปลงใหญ่ สมาชิกทุกคนมีบทบาทในการเป็นเจ้าของกิจการในรูปแบบการถือหุ้นกองทุนและสวัสดิการ ร่วมกันกำหนดกติกาและระเบียบข้อบังคับกลุ่ม เป็นต้น” นายทศพล กล่าว
ทั้งนี้ ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษให้ผลผลิตในช่วงเดือนมิถุนายนจนถึงกลางเดือนกรกฎาคมของทุกปี มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ กรอบนอก นุ่มใน หวานละมุนลิ้น กลิ่นไม่ฉุน และเป็นทุเรียนที่ผ่านการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI ปลูกในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุนหาญ และอำเภอศรีรัตนะ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกรวม 15,072 ไร่ พื้นที่ให้ผลผลิต 8,873 ไร่ ผลผลิต 14,243 ตัน คิดเป็นร้อยละ 99 ของปริมาณผลผลิตทุเรียนทั้งหมดของจังหวัดศรีสะเกษ โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด คือ พันธุ์หมอนทอง นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) จำนวน 654 ราย พื้นที่ 3,962 ไร่ และมีผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา จำนวน 447 ราย พื้นที่ 2,582.25 ไร่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ไตรศุลี” พร้อมสู้ “ทักษิณ ”ช่วยหาเสียงนายกฯ อบจ.แข่งกับพ่อตัวเอง ขอให้รอดูความสามัคคีชาวศรีสะเกษเอาชนะพท.
วันที่3 ธค. ที่ทำเนียบ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมืใจไทย กล่าวถึงกรณีการส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งนายก อบจ. ศรีสะเกษ จะเป็นการชนระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทยหรือไม่ ว่าพรรคภูมิใจไทยไม่มีนโยบายส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งท้องถิ่นแนะนำพรรค
PRINC ปักหมุดอีสานล่าง เตรียมเปิด “ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา” แห่งแรกของศรีสะเกษ ธ.ค. นี้ มุ่งครอบคลุมทุกสิทธิการรักษาโรคมะเร็งและให้บริการครบวงจร
โรคมะเร็งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ กระทบชีวิตของประชาชนเป็นอันดับที่ 1 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 ซึ่งครอบคลุมจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ตอนล่าง จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร (ที่มา: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข, มี.ค. 66)
'ช้างFAคัพ'รอบ64ทีม คู่เอกบีจีบุกท่าเรือ เมืองทองรับศรีสะเกษ เตะ20พ.ย.นี้
เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 น. ณ ห้องบอลรูม สโมสรราชพฤกษ์ “น้ำแร่ธรรมชาติตราช้าง” ร่วมกับ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วย บริษัท ไทยลีก จำกัด และเหล่าพาร์ทเนอร์ ได้แก่ บริษัท มอลเท่น ไทยแลนด์ จำกัด, บริษัท วอริกซ์สปอร์ต จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) จัดงานแถลงข่าวและพิธีจับสลากประกบคู่การแข่งขันฟุตบอลถ้วยประวัติศาสตร์ ช้าง เอฟเอ คัพ 2024/25 รอบ 64 ทีม สุดท้าย
ศพก. - แปลงใหญ่ มุ่งเน้นการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ยกระดับรายได้ พัฒนาศักยภาพเกษตรกร
นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากการประชุมเชื่อมโยงการดำเนินงานของคณะกรรมการเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และแปลงใหญ่ระดับประเทศ ครั้งที่ 4/2567 ณ
แปลงใหญ่กล้วยน้ำว้า เพชรบุรี วางแผนกู้วิกฤต
นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่นเดียวกับเกษตรกรแปลงใหญ่กล้วย หมู่ 2,3,6
สศท.8 เผย ปีนี้ไม้ผลภาคใต้ 4 ชนิด คาดผลผลิตรวม 6.9 แสนตันออกสู่ตลาดแล้วร้อยละ77
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สศท.8) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลสรุปข้อมูลเอกภาพไม้ผลภาคใต้ ปี 2567