เพราะสัตว์มีค่า ป่ามีคุณ…กระทรวงทรัพยากรฯ และเครือซีพี ชวนคนไทยสะท้อนคุณค่าความงดงามของธรรมชาติ ผ่านภาพถ่ายและคลิปวิดีโอ ในการประกวดภาพถ่าย ‘สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ’ ครั้งที่ 29 ประจำปี 2566

กรุงเทพฯ 14 กรกฎาคม 2566 – กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผนึกกำลังเครือเจริญโภคภัณฑ์ ทั้ง ซีพีเอฟ ซีพีออลล์ และทรู คอร์ปอเรชั่น เดินหน้า “โครงการปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การประกวดภาพถ่าย 'สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ' ประจำปี 2566 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 29” ชวนชาวไทยร่วมถ่ายทอดความงดงามของธรรมชาติ สัตว์ป่า ป่าไม้ และความมหัศจรรย์ของโลกใต้น้ำ โดยถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพถ่าย และพิเศษปีนี้ให้มีการประกวดคลิปวิดีโอเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นการสร้างความรัก สร้างความตระหนัก และปลูกใจรักธรรมชาติ ให้ประชาชนคนไทยมีจิตสำนึก และอยากมีส่วนร่วม
ในการอนุรักษ์สมบัติอันล้ำค่าอันเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติให้ยั่งยืนสืบไป โดยมีรางวัลเกียรติยศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และถ้วยประทานสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และรางวัลรวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 700,000 บาท ส่งผลงานเข้าประกวดได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 สิงหาคม 2566

สำหรับเกณฑ์การตัดสินการประกวดภาพถ่าย คณะกรรมการพิจารณาจากการสื่อความหมายภายใต้แนวคิด ‘สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ’ ความสวยงาม การจัดวางองค์ประกอบตามหลักทัศนศิลป์ และเทคนิคการถ่ายภาพ โดยแบ่งการประกวดเป็น 2 ระดับ คือ ระดับบุคคลทั่วไป และระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษา โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ระดับบุคคลทั่วไป
ประเภทสัตว์มีค่า แบ่งเป็น 4 หัวข้อ คือ
• ภาพนก เป็นภาพที่ถ่ายทอดลักษณะของนกในแต่ละสายพันธุ์ที่เป็นลักษณะเฉพาะได้อย่างสวยงามและโดดเด่น รวมทั้งเป็นภาพที่แสดงเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างนกกับถิ่นที่อยู่ เช่น เป็ดผีลอยน้ำเล่นที่พื้นที่ชุ่มน้ำ นกแซวสวรรค์บินคาบอาหารมาป้อนลูกที่รัง นกเงือกกินลูกไทรบนต้นไม้ ฯลฯ

• ภาพสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นภาพลักษณะหรือท่าทางของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตามธรรมชาติ เช่น ช้าง เสือ กวางเลียงผา วาฬ ฯลฯ

• ภาพสัตว์อื่นๆ เช่น สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์น้ำ แมลง ฯลฯ

• ภาพพฤติกรรมสัตว์ป่า เป็นภาพที่สื่อให้เห็นถึงการกระทำหรือการแสดงออกของสัตว์ป่าในด้านต่างๆ อาทิ การกิน อาหาร การเลือกคู่ การต่อสู้ หรือพฤติกรรมอื่นๆ ที่แปลก น่าปร

ประเภทป่ามีคุณ แบ่งเป็น 3 หัวข้อ คือ
• ภาพทิวทัศน์ (Landscape) คือ ภาพธรรมชาติในมุมกว้าง แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์และความงดงาม ของธรรมชาติ เช่น ภาพทิวเขาที่สลับซับซ้อน สายหมอก สายธารของน้ำตก ทุ่งหญ้าที่เขียวขจี ป่าพรุ ฯลฯ

• ภาพถ่ายระยะใกล้ (Macro) คือ ภาพธรรมชาติในมุมที่เฉพาะเจาะจง เพื่อถ่ายทอดให้เห็นถึงรายละเอียดความงดงาม เช่น เห็ด มอส เฟิร์น ดอกไม้ กล้วยไม้ ใบไม้ ฯลฯ

• ภาพต้นไม้มีเรื่องเล่า คือ ภาพถ่ายต้นไม้ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือมีเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจ หรือเคยถูกกล่าวถึงในวรรณคดี หรือเป็นต้นไม้ที่หายากและยังคงเป็นต้นไม้ที่มีชีวิตอยู่เท่านั้น

ประเภทหัวข้อพิเศษ ‘โลกใต้น้ำ’ เป็นภาพถ่ายที่ถ่ายภาพธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ หรือในทะเล เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความงดงาม และความสมบูรณ์ของธรรมชาติในน้ำและในทะเล เช่น แนวประการัง ฝูงปลาตีน ฝูงปลานานาชนิด ฉลามวาฬ ปลากระเบนปีศาจหางเคียว ฉลามหัวค้อนยาว ฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน ฯลฯ

สำหรับรางวัลเกียรติยศ ระดับบุคคลทั่วไป ประเภท ‘สัตว์มีค่า’ จะได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และประเภท ‘ป่ามีคุณ’ จะได้รับถ้วยประทานสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

2. ระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษาประเภทสัตว์มีค่า และ ประเภทป่ามีคุณ (ไม่มีการแบ่งหัวข้อการประกวด)

สำหรับรางวัล ระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษา จะได้รับถ้วยเกียรติยศจากโครงการฯ และเงินรางวัล พร้อมสิทธิ์ท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติอีกด้วย

และพิเศษสุดสำหรับปีนี้ ได้กำหนดให้มีการประกวดคลิปวิดีโอเป็นครั้งแรกภายใต้หัวข้อ ‘สัตว์มีค่า’ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการสะท้อนเรื่องราว พฤติกรรมและความงดงามของสัตว์ป่า และสัตว์น้ำ ในเมืองไทย โดยส่งผลงานเข้าประกวดเป็นคลิปสั้น ๆ ความยาวไม่เกิน 60 วินาที ส่งผลงานอัปโหลดผ่าน Google Drive เท่านั้น พร้อมแนบคำบรรยายในรูปแบบไฟล์ Word โดยส่งลิงก์ผลงานพร้อมชื่อคลิปวิดีโอ ชื่อ - สกุล และเบอร์โทร มาที่อีเมล [email protected] โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับถ้วยรางวัลจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ และเงินรางวัล 30,000 บาท

ขอเชิญชวนนิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ที่สนใจส่งภาพถ่าย และคลิปวิดีโอเข้าประกวด ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 สิงหาคม 2566 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.trueplookpanya.com/event/photocontest/login สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ทรูปลูกปัญญา โทร. 02-858-6378 หรือ Facebook Fanpage : สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ /IG : cp_photocontest หรือ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช ถ.พหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร.0-2579-6666 ต่อ 1641-2

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครม.เห็นชอบบันทึกความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม 'ไทย-ญี่ปุ่น' ฉบับใหม่

'เกณิกา' เผย ครม.มีมติอนุมัติบันทึกความร่วมมือว่าด้วยความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เพื่อเสริมสร้าง อำนวยความสะดวก และพัฒนาความร่วมมือในสาขาสิ่งแวดล้อม

ก้าวสู่ปีที่ 30…การประกวดภาพถ่าย ‘สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ’ ประจำปี 2567 ชวนคนไทยมองผ่านเลนส์สะท้อนคุณค่าความงดงามของธรรมชาติ รวมรางวัลมูลค่ากว่า 755,000 บาท เปิดรับผลงานตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ส.ค. 67

กรุงเทพฯ 2 กรกฎาคม 2567 – เป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว ที่เริ่มโครงการประกวดภาพถ่าย 'สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ' เพราะ ‘ภาพถ่าย’ ยังคงเป็นสื่อหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสวยงามของภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย และความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้อย่างน่าประทับใจ…โดยในปีนี้

'จุลพันธ์' ยันไม่ให้เงิน 'กรมบัญชีกลาง 'เป็นอุปสรรค แก้ปัญหา PM 2.5 พร้อมหนุนเต็มที่

'จุลพันธ์' ยัน จะไม่ให้เงินของ กรมบัญชีกลาง เป็นอุปสรรค แก้ปัญหา PM 2.5 ย้ำ รัฐบาล' ให้ความสำคัญ คือการส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือ บอก ไม่ต้องกังวลเรื่องงบขาดพร้อมสนับสนุนเต็มที่

“บุณณดา” โฆษกกระทรวงทรัพย์ฯ เผย "พัชรวาท" ห่วงใย ลูกจ้างพิทักษ์ป่า ชี้!เดือน ต.ค.นี้ ได้ปรับขึ้นเงินเดือน พร้อมกันทั่วประเทศ

น.ส.บุณณดา สุปิยพันธุ์ โฆษกกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยว่า สำนักงบประมาณ ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อปรับขึ้นเงินเดือนของบุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานให้กับกรมอุทยานฯ ตำแหน่งพิทักษ์ป่า จำนวน 13,419 อัตรา จาก 9,000 บาท เป็น 11,000 บาท

กระทรวงทรัพย์ฯ จับมือกับกระทรวงยุติธรรม และ กระทรวงเกษตรฯ จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ “ร่วมใจภักดิ์ รักษ์สิ่งแวดล้อม”

(วันที่ 15 พฤษภาคม 2567) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการร่วมใจภักดิ์ รักษ์สิ่งแวดล้อม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

“สามเณร ปลูกปัญญาธรรม” 1 ทศวรรษแห่งความดี 10 ปีแห่งความยั่งยืน

ในโลกที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงและความวุ่นวายเกิดขึ้นมากมาย การเลี้ยงดูเด็กคนหนึ่งให้เติบโตพร้อมทั้งกายและใจ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป