การจัดเวทีชี้แจงเรื่องบ้านมั่นคงชุมชนเย็นอากาศ 2 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน
ชุมชนเย็นอากาศ 2 กรุงเทพฯ / จากกรณีชาวชุมชนเย็นอากาศ 2 เขตยานนาวา กรุงเทพฯ จำนวนหนึ่งเดินทางมาร้องเรียนผ่านสถานีไทรทัศน์ไทยPBS เมื่อเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากไม่อยากเข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคง โดยอ้างว่าชาวชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ไม่มีรายได้ที่จะผ่อนชำระค่าบ้าน หากต้องสร้างบ้านใหม่ รวมทั้งอ้างว่าหากไม่เข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคงจะต้องรื้อย้ายออกจากพื้นที่ภายในเดือนกรกฎาคมนี้
โดยเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ ได้จัดเวทีประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจกับชาวชุมชนเย็นอากาศ 2 ที่ห้องประชุมโรงเรียนประถมนนทรี เขตยานนาวา ซึ่งอยู่ติดกับชุมชน โดยมีนายสยาม นนท์คำจันทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ พอช. พร้อมด้วยผู้แทนจากกรมธนารักษ์ในฐานะดูแลที่ดินราชพัสดุ ผู้แทนกรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานเขตยานนาวา ผู้แทนสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตยานนาวา และตัวแทนชาวชุมชนเย็นอากาศ 2 กว่า 50 คนเข้าร่วม
ผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ร่วมชี้แจง นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผู้ช่วย ผอ.พอช. (ที่ 4 จากซ้าย)
นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ พอช. กล่าวว่า ชุมชนเย็นอากาศ 2 ตั้งอยู่บนที่ดิน 9 ไร่เศษ เป็นที่ดินราชพัสดุ แต่ไม่ได้เช่าที่ดินอย่างถูกต้อง สภาพเป็นชุมชนแออัด มีผู้อยู่อาศัยทั้งหมด 364 หลังคาเรือน ประชากรประมาณ 1,200 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง มีรายได้น้อย
ในเดือนสิงหาคม 2564 เกิดเหตุไฟไหม้ในชุมชน มีบ้านเรือนได้รับความเสียหายจำนวนหนึ่ง (14 หลัง) ชาวชุมชนจึงอยากจะจัดทำโครงการบ้านมั่นคงที่ พอช.สนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนที่มีรายได้น้อยทั่วประเทศ โดยมีชาวชุมชนที่จะเข้าร่วมโครงการและผ่านกระบวนการรับรองสิทธิโครงการบ้านมั่นคง 262 ครัวเรือน และต่อมาชาวบ้านได้ร่วมกันจดทะเบียนเป็น ‘สหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงเย็นอากาศ 2 จำกัด’
ในเดือนตุลาคม 2565 สหกรณ์ได้เช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์เพื่ออยู่อาศัยอย่างถูกต้อง ระยะเวลา 30 ปี โดยเช่าที่ดินเฟสแรก 2 ไร่ 3 งาน เพื่อก่อสร้างบ้านใหม่ตามโครงการบ้านมั่นคงให้แก่ชาวชุมชนที่บ้านเรือนโดนไฟไหม้ก่อนจำนวน 13 หลัง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณและสินเชื่อเพื่อก่อสร้างบ้านจาก พอช. แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถก่อสร้างบ้านได้เนื่องจากมีเจ้าของบ้านบางรายที่บ้านโดนไฟไหม้ไม่อยากเข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคง และไม่ยอมรื้อถอนบ้านที่โดนไฟไหม้ออกไป ทำให้บ้านที่เข้าร่วมโครงการไม่สามารถก่อสร้างบ้านได้ เนื่องจากติดขัดเรื่องพื้นที่จากบ้านที่ไม่ยอมรื้อ
ผู้แทนกรมธนารักษ์ (ที่ 3 จากซ้าย) มอบสัญญาเช่าที่ดิน 2 ไร่ 3 งานให้ชาวชุมชนเย็นอากาศ 2 เมื่อเดือนตุลาคม 2565
จนกระทั่งช่วงกลางดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ชาวชุมชนเย็นอากาศ 2 ส่วนหนึ่งที่ไม่อยากจะเข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคงจึงไปร้องเรียนต่อสถานีโทรทัศน์ไทย PBS โดยอ้างว่าชาวชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ไม่มีรายได้ที่จะผ่อนชำระค่าบ้านให้กับ พอช. หากต้องสร้างบ้านใหม่ รวมทั้งอ้างว่าหากใครไม่เข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคงจะต้องรื้อย้ายออกจากพื้นที่ภายในเดือนกรกฎาคมนี้
ทั้งนี้นายสยาม ผู้ช่วย ผอ.พอช. ชี้แจงว่า โครงการบ้านมั่นคงที่จะดำเนินการที่ชุมชนเย็นอากาศ 2 พอช.มีงบประมาณอุดหนุนการก่อสร้าง เช่น สาธารณูปโภคส่วนกลาง สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำระยะยาว นอกจากนี้จะให้ครอบครัวที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการก่อน และระหว่างการก่อสร้างบ้านจะมีบ้านพักชั่วคราวรองรับ และไม่ได้มีแผนการที่จะขับไล่ชาวบ้านที่ไม่เข้าร่วมโครงการแต่อย่างใด
ทางด้านตัวแทนชาวชุมชนเย็นอากาศ 2 มีข้อเสนอในที่ประชุมว่า ควรให้ชาวบ้านเช่าที่ดินกับกรมธนารักษ์ตามความเหมาะสม โดยชาวบ้านที่ไม่เข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคงจะดูแลพื้นที่และปรับปรุงบ้านเรือนเอง
ทั้งนี้การประชุมชี้แจงดังกล่าวยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน โดยจะมีการจัดประชุมเพื่อหารือแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมร่วมกับชุมชนต่อไป โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เช่น กรมธนารักษ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานเขตยานนาวา และเครือข่ายที่อยู่อาศัยเมืองยานนาวา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน
UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’
รวมพลังคนจนแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2567
ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้คนทั่วโลก UN-Habitat หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’
‘21 ปีบ้านมั่นคง’ พอช. แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนทั่วประเทศ กว่า 3 แสนครัวเรือน
รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยแก่คนจนในเมืองที่ ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด
เสียงจากคลองเปรมประชากร…บ้านหลังใหม่ชีวิตใหม่ “คืนสายน้ำให้คนคลอง คืนสายคลองให้คนเมือง”
คลองเปรมประชากร มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คลองนี้ได้ประสบปัญหามากมาย
บอร์ด พอช. มีมติ พักชำระหนี้องค์กรผู้ใช้สินเชื่อในพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ
สถานการณ์การเกิดอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุยางิ ในระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2567 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 7 อำเภอ
รมว.พม. แจ้งตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 34 แห่ง ใน 13 จว. ช่วยกลุ่มเปราะบาง-ผู้ประสบภัยน้ำท่วมริมแม่น้ำโขง ด้าน พอช. พร้อมอนุมัติงบช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติภาคเหนือและอีสาน
จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ภาคเหนือ ส่งผลกระทบในพื้นที่ 8 จังหวัด 47 อำเภอ 207 ตำบล 22,817 ครัวเรือน โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา