(27 มิ.ย.66) นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดกิจกรรม Kick Off ประกาศนโยบายขับเคลื่อนความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรแบบบูรณาการ
พุ่งเป้าสู่องค์กรสมรรถนะสูง และเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมี นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์
นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ พร้อมด้วย คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม 126 กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพมหานคร พร้อมถ่ายทอดสัญญาณยังหน่วยงานในสังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคด้วย
รมช.มนัญญา กล่าวว่า “สหกรณ์” เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและสังคมของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน ตามที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ (คพช.) ได้ให้แนวทางในการพัฒนาการสหกรณ์ ไว้ในแผนพัฒนาการสหกรณ์ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 - 2570) ให้สอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ในห้วงที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) เพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง เราต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งกระบวนการคิด และวิธีในการบริหารจัดการให้ทันยุคสมัยและบริบทที่เปลี่ยนไป ภายใต้ 5 การปรับตัวของสหกรณ์ ได้แก่ การจัดการและบริหารการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม การพัฒนาคนวัยทำงานรุ่นใหม่สู่ช่วงยุคเปลี่ยนผ่าน การพัฒนาองค์กรสู่รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานด้วยข้อมูลและเทคโนโลยี การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนของการสหกรณ์
“โครงการในวันนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการสร้างรูปแบบในการทำงานส่งเสริม พัฒนา และตรวจสอบสหกรณ์ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมและสนับสนุนให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมให้มีความเข้มแข็ง และเน้นให้สร้างความเชื่อมั่นให้กับสมาชิก การบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนสู่ความเข้มแข็งของสหกรณ์อย่างยั่งยืน ช่วยยกระดับสหกรณ์ให้มีสมรรถนะสูง ส่งเสริมให้สหกรณ์เป็นองค์กรที่สร้างคุณค่าให้กับชุมชน และจัดการการมีส่วนร่วมสู่การพัฒนาได้อย่างยั่งยืนต่อไป” รมช.มนัญญา กล่าว
สำหรับกิจกรรม Kick Off “ประกาศนโยบายขับเคลื่อนความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรแบบบูรณาการ พุ่งเป้าสู่องค์กรสมรรถนะสูง และเติบโตอย่างยั่งยืน” เป็นการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในการส่งเสริม พัฒนา และแก้ไขปัญหาของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์มอบนโยบาย “ปรับแนวคิด บูรณาการงานสหกรณ์ สู่อนาคตการสหกรณ์ยั่งยืน” และร่วมเสวนา “พัฒนาสหกรณ์สู่มิติความเข้มแข็ง ขับเคลื่อนสหกรณ์ด้วยข้อมูลและเทคโนโลยี” รวมทั้งการบรรยายเรื่อง แนวทางการนำเกณฑ์ประเมินความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรไปสู่การปฏิบัติร่วมกันตามยุทธศาสตร์ชาติในห้วงที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) และการตอบประเด็นซักถาม ผ่านระบบ Zoom Meeting อีกด้วย
อธิบดีฯ วิศิษฐ์ กล่าวว่า การพัฒนาความยั่งยืนของสหกรณ์บนพื้นฐานของการสร้างคุณค่าความเป็นสหกรณ์นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือกับภาคีในการพัฒนา มุ่งที่จะให้สหกรณ์เป็นเครื่องมือในการรักษาสมดุลและสร้างคุณค่า
ด้านมิติเศรษฐกิจ มิติสังคมและชุมชนให้ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อการพัฒนาสหกรณ์ในประเทศไทย สหกรณ์ต้องมีการพัฒนาตัวเองในทุกด้านปรับตัว ทั้งกระบวนการคิดและวิธีการในการบริหารจัดการให้ทันยุคสมัย และบริบทที่เปลี่ยนไปสามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย และความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารจัดการ การบริการสมาชิก เพื่อให้สหกรณ์มีศักยภาพในการแข่งขัน เป็นที่ยอมรับให้กับสมาชิกและประชาชนทั่วไปในวงกว้าง
กรมส่งเสริมสหกรณ์ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการเกษตรในแผนแม่บทย่อย การพัฒนาระบบนิเวศการเกษตร โดยมีเป้าหมายคือ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้นใน 4 มิติความเข้มแข็ง ซึ่งกรมฯ รับผิดชอบใน 2 มิติที่ต้องขับเคลื่อนให้เห็นผลในเชิงประจักษ์ ได้แก่ มิติที่ 1 ความสามารถในการให้บริการสมาชิก ที่มุ่งเน้นการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ให้บริการแก่สมาชิกในด้านต่าง ๆ รวมถึงการส่งเสริมสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของสมาชิกให้เข้าถึงทุกช่วงวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างคุณค่าการสหกรณ์ให้เข้มแข็งในระดับฐานราก
ในด้านมิติที่ 4 ประสิทธิภาพของการบริหารงาน มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถและสมรรถนะในการบริหารงานและธุรกิจของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ซึ่งพิจารณาจากการดำเนินกิจการตามระเบียบ คำสั่งนายทะเบียน และกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงระบบธรรมาภิบาลในการดำเนินกิจการไม่ให้เกิดข้อบกพร่องในองค์กร ทั้งในส่วนของการเกิดทุจริต และการเกิดข้อบกพร่องประเภทต่าง ๆ เช่น การดำเนินกิจการนอกกรอบวัตถุประสงค์ ข้อบกพร่องทางบัญชี ข้อบกพร่องทางการเงิน พฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย และข้อบกพร่องอื่น ๆ เป็นต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นฤมล' มอบ 4 นโยบายขับเคลื่อนกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
'นฤมล' มอบนโยบายกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ มุ่งสร้างความเข้มแข็งภาคสหกรณ์ ย้ำประสิทธิภาพต้องได้ มาตรฐานสากล ครอบคลุมความเสี่ยงทุกมิติของภาคการเกษตร
“มนัญญา” เปิด ประชุมกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อีสาน 20 จังหวัด ปลุกพลังผู้หญิง เคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
วันที่ 20 มีนาคม 2567 เวลา 10.00 น. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ชาดา ไทยเศรษฐ์)
“มนัญญา” เปิด ประชุมเชิงปฏิบัติการ เครือข่ายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีฯ ภาคเหนือ หวังสร้างพลังสตรีให้เข้มแข็ง เข้าถึงแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
วันที่ 13 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น. ณ โรงแรมธาราฮิลล์ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี
"มนัญญา" เผย เตรียมปรับโฉมกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีพันล้านให้เข้าถึงรายบุคคลสร้างอาชีพ เสริมแกร่งเศรษฐกิจชุมชนฐานรากทุกมิติ
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายชาดา ไทยเศรษฐ์) กล่าวในการเปิดประชุมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงานเครือข่ายขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับภาค ที่จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นประชุมตัวแทนกองทุนฯ 14
ปลื้มแนวทางแก้หนี้ 'กรมส่งเสริมสหกรณ์' ให้ผ่อนยาวถึงอายุ 75 ปี!
รัฐบาลชื่นชมกรมส่งเสริมสหกรณ์ เดินหน้าแก้ปัญหาหนี้เงินกู้สวัสดิการ สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ ลดดอกเบี้ยเหลือ 4.75% ต่อปี ตั้งเป้าหลังหักหนี้ต้องเหลือไม่น้อยกว่า 30% ต่อเดือน ผ่อนยาวถึงอายุ 75 ปี
"มนัญญา" นำถกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ลุยแก้ปัญหาถูกเลือกปฏิบัติ ขาดความเสมอภาค และขาดโอกาสแสดงศักยภาพ
วันนี้ (9 มกราคม 2567) ที่ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ชาดา ไทยเศรษฐ์) เป็นประธานการประชุมกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พร้อมด้วย