“ดร.กอบศักดิ์” ประธานบอร์ด พอช. ร่วมงานสัมมนาพหุภาคี “สู้ชนะความจน : บนฐานพลังความรู้ พลังภาคี”

กรุงเทพ ฯ / เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. นำโดย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบัน ฯ  พร้อมด้วยนายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบัน ฯ  เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนขับเคลื่อนงานวิจัยชุมชนจากจังหวัดต่างๆ และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานสัมมนาพหุภาคี “สู้ชนะความจน : บนฐานพลังความรู้ พลังภาคี”  ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว 

การสัมมนาครั้งนี้มีศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน  หลังจากนั้นมีการอภิปรายเรื่อง “ชนะความจน: บนฐานพลังความรู้ พลังภาคี” โดยมีผู้บริหารหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมอภิปราย  เช่น  นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ กรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  นายจิตเกษม พรประพันธ์ ผู้อํานวยการอาวุโส ฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย  ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อํานวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ฯลฯ

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) ร่วมอภิปรายในหัวข้อ “เอกชนกับการแก้ไขปัญหาความยากจน”  มีสาระสำคัญตอนหนึ่งว่า  มีหลายคำถามที่เราได้ตั้งประเด็นเพื่อหาคำตอบ  เช่น  การชนะความจน  อะไรที่เราอยากชนะได้อย่างแท้จริง ?ความแตกต่างของต้นตอของความยากจนและความเหลื่อมล้ำ และชุมชนใช่คำตอบของการแก้ปัญหาหรือไม่ ? และเราจะเชื่อมกับเอกชนอย่างไร ?  บทบาทของเอกชนอยู่ตรงไหน ?

“แท้จริงแล้วความจนยังมีหลายชั้น อาทิ  ความจนไม่มีอะไรจะกิน กับความจนโดยเปรียบเทียบ  ปัญหาสำคัญ คือ ระบบทุนนิยมที่เป็นระบบที่สร้างความเหลื่อมล้ำในตัว โดยเปรียบเทียบการค้าระหว่างประเทศที่อาจเป็นในลักษณะการกดขี่ชาวบ้าน  อาจทำให้การพัฒนายิ่งถดถอย การหาทางออก  คือ ถ้าตลาด คือ คำตอบ เราต้องทำให้ทุกคนเข้าระบบนี้ให้ได้  โดยระยะยาวคือ หัวใจการแก้ไขปัญหาความยากจน คือ ภาคเอกชนต้องกลับมาคิดว่าเราจะเดินหน้าอย่างไร เพื่อนำระบบของการผลิตภาคชุมชนเข้าสู่ตลาด โดยชุมชนนั้นช่วยตัวเองได้ และชุมชนสามารถจัดการตนเองได้” ดร.กอบศักดิ์กล่าว

ดร.กอบศักดิ์

เขายกตัวอย่างรูปธรรมของชุมชน เช่น  การเก็บออมวันละบาทของกองทุนสวัสดิการชุมชน  การสร้างสวัสดิการชุมขน  สัจจะออมทรัพย์ และสถาบันการเงินชุมชนที่ชุมชนเป็นแกนหลัก แต่สิ่งที่ชุมชนนั้นยังทำไม่ได้ คือ ชุมชนต้องหารายได้เอง ชุมชนต้องเข้าถึงรายได้อย่างเป็นระบบ รายได้เหล่านี้ชุมขนทำเองไม่ได้ ยกตัวอย่าง สินค้าทางการเกษตรที่ขาย สมมุติราคา 100 บาท ชาวบ้านได้กำไรเพียง 3-5 บาท  เราต้องทะลุทะลวงทำอย่างไรให้เกิดแก้การปัญหาของชาวบ้าน เราต้องนำตลาดเข้ามาจับในระบบของสินค้าชุมชนให้ด้วย

ตัวอย่างที่  ‘บ้านหนองเม็ก’ ต้นแบบหมู่บ้านผักอินทรีย์แห่งแรกของจังหวัดอำนาจเจริญ เดิมพื้นที่ทำไร่เกษตรอินทรีย์ขายได้ 300 กิโลกรัม  ปัจจุบันสามารถขายได้ที่ 5,000 กิโลกรัมต่อสัปดาห์  ความสำเร็จมาจากเอกชนมาช่วยในการผลิต เช่น บริษัท S&B food supply จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่จัดส่งผักขายให้กับห้าง Tops supermarket ทั่วประเทศ

“เราต้องเชื่อมกับชุมชน ประชาชน และเอกชน เพื่อให้มีแหล่งจำหน่ายหรือตลาด หรือร้านอารียา-บัวชมพู สูทผ้าไทย ที่มีความต้องการของลูกค้า โดยรับออเดอร์มาจากชุมชน  โดยชาวบ้านมหาสารคามเป็นผู้ผลิต ความต้องการของเอกชนจึงมีลักษณะนี้   ขอย้ำว่า ถ้าภาคเอกชนไม่เปลี่ยนแนวคิดภายใน 15 ปี เราจะไม่ที่ยืน เราต้องแก้ตั้งแต่วันนี้ให้ได้” ดร.กอบศักดิ์ยกตัวอย่าง

ดร.กอบศักดิ์ กล่าวต่อว่า เรื่องที่เอกชนสามารถทำร่วมกับชุมชนได้  ตัวอย่างเช่น  1.การจัดการขยะชุมชน โดยถ้าเอกชนมาร่วมกันจัดการเรื่องขยะ ทุกคนช่วยกันระดมทุน สมมุติหน่วยละสิบล้านบาทร่วมกันให้ได้หกสิบล้านบาท เพื่อจัดการปัญหาขยะปากแม่น้ำอาศัย  โดยอาศัยพลังร่วมกันของชุมชน 

2.โครงการการจัดการป่าชุมชน โดยช่วยผลักดันให้ชาวบ้านในชุมชน “ปลูกป่าเพื่อคาร์บอนเครดิต” ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3.การขับเคลื่อนศูนย์เด็กเล็กปฐมวัย โดยการมีส่วนร่วมกับวัด โรงเรียน และเอกชนมีการบริจาคร่วม

“ถ้าเรานำเงินมารวมกัน บริหารจัดการในเงินที่ใช่  รวมถึงงบประมาณของรัฐจากสำนักงบประมาณมาช่วยสนับสนุนร่วมกันเป็นโครงการ  ร่วมเป็นพลังพหุภาคี  ชุมชน  เอกชน  พลังภาคี  รวมทั้งอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนได้มาก ช่วยเรื่องเทคโนโลยีที่ชาวบ้านยังเข้าไม่ถึง ให้ชาวบ้านจับต้องได้  ไม่ใช่วิถีเดิม เช่น การปลูกข้าวเป็นหลุม ที่ชาวบ้านมีกิน มีจำหน่าย รวมทั้งการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนกลับสู่ชุมชนบ้านเกิดของตนเอง เพื่อเพิ่มต้นทุน มูลค่าและการพัฒนาสู่ชุมชน”  ดร.กอบศักดิ์กล่าวย้ำ

 เขาบอกด้วยว่า  ภาคราชการเป็นภาคีสำคัญ  แต่ให้คิดว่า ภาคราชการมิใช่คำตอบ โดยปลดล็อคงบประมาณ และกฎหมายไปสู่การแก้ไขปัญหาของชุมชน  เช่น  การปลูกต้นไม้ของชาวบ้านหรือการขับเคลื่อนป่าเศรษฐกิจในชุมชน   และสุดท้ายเรื่องที่ควรจะทำ คือ การแก้ปัญหาของชาวบ้านในเรื่องน้ำ  รวมทั้งการขุดหน้าดินมาพักไว้ที่คูคลองทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ  ดังนั้น พลังภาคีต้องแบ่งให้ชัดเจนว่าใครทำอะไร ?  ถ้าสานพลังภาคีดึงทุกส่วนเข้ามาร่วมเราจะแก้ปัญหาความยากจนได้  โดยการเชื่อมั่นในการสานพลังความรู้ และภาคีจะร่วมกับแก้ปัญหาสู้ชนะความยากจนให้ได้

ในช่วงท้ายของงานสัมมนาครั้งนี้  มีพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและยกระดับฐานะทางสังคม ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดลําปาง กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด พัทลุง ปัตตานี และยะลา  และอธิการบดีมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาพื้นที่  ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง ม.ราชภัฏกาฬสินธุ์ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ม.ราชภัฏร้อยเอ็ด ม.ทักษิณ  ม.สงขลานครินทร์ และม.ราชภัฏยะลา

***************

รายงานโดย พิชยาภรณ์  หาญวณิชานนท์  เจ้าหน้าที่บริหารงานข้อมูลอาวุโส สำนักผู้อำนวยการ  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก นำทีมช่างชุมชน Kick Off ซ่อมบ้านผู้ประสบภัยพิบัติ ‘แม่ยาวโมเดล’

พอช. หนุนงบกว่า 30 ล้าน ซ่อม สร้าง 6 ตำบล 875 ครัวเรือน สร้างรูปธรรม การจัดการที่ดิน ที่อยู่อาศัย ยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายจากชุมชน ถึงรัฐบาล

สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน

UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’

รวมพลังคนจนแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2567

ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้คนทั่วโลก UN-Habitat หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’

‘21 ปีบ้านมั่นคง’ พอช. แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนทั่วประเทศ กว่า 3 แสนครัวเรือน

รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยแก่คนจนในเมืองที่ ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด

เสียงจากคลองเปรมประชากร…บ้านหลังใหม่ชีวิตใหม่ “คืนสายน้ำให้คนคลอง คืนสายคลองให้คนเมือง”

คลองเปรมประชากร มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คลองนี้ได้ประสบปัญหามากมาย

บอร์ด พอช. มีมติ พักชำระหนี้องค์กรผู้ใช้สินเชื่อในพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ

สถานการณ์การเกิดอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุยางิ ในระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2567 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 7 อำเภอ