การยางแห่งประเทศไทย ผนึกกำลังร่วม ซี ซี ไอซี และ SMEs ASEAN หนุนส่งออกผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางไปจีน-อาเซียน ทำทันที เดินหน้า 4 โครงการ พัฒนามาตรฐานยางไทยสร้างแบรนด์ยางไทยให้อยู่ในใจลูกค้าต่างชาติ
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากที่ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) บริษัท ซี ซี ไอซี (ประเทศไทย) จำกัด (C.C.I.C) และสมาคมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านเศรษฐกิจและการค้าอาเซียน (SMEs ASEAN) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านธุรกิจยางพาราและไม้ยางพารา ณ การยางแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2566 ที่ผ่านมา มีเป้าหมายผนึกกำลังผสานเครือข่ายความร่วมมือ ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนามาตรฐานและการตรวจรับรองสินค้า มุ่งสร้างความเชื่อมั่น เพิ่มโอกาสทางธุรกิจผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพาราไทยในตลาดจีน และประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน ภายใต้ความร่วมมือนี้ กยท. จะผลักดันให้เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง มุ่งพัฒนาระบบมาตรฐานการผลิต เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพาราได้รับการรับรอง สามารถส่งออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจเพื่อก้าวสู่บทบาทผู้ส่งออกยางรายใหม่ ที่สร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มลูกค้าและคู่ค้า รวมถึงสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราและไม้ยางพาราทั้งระบบอย่างยั่งยืนและมั่นคง
“การสนับสนุนผลักดันให้เกษตรกรชาวสวนยาง และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ประกอบการ ถือเป็นภารกิจสำคัญของ กยท. และการที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องมีการสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้า การตรวจรับรองก่อนกระบวนการผลิต กระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ และกระบวนการส่งออก อันเป็นการสร้างความเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือ ให้กับผู้นำเข้าและผู้บริโภค และการที่สร้างโอกาสในตลาดจีน ถือเป็นเรื่องที่สร้างประโยชน์อย่างมาก ด้วยปัจจุบันประเทศจีนถือเป็นตลาดหลักของไทย มีสัดส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราไปจำหน่ายถึงร้อยละ 60 ขณะไม้ยางพารามีการส่งออกถึงร้อยละ 80-90 การร่วมมือครั้งนี้จึงเป็นการสร้างโอกาสที่ดีกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทาง ซี ซี ไอซี และ SMEs ASEAN พร้อมสนับสนุน”นายณกรณ์ กล่าว
นายณกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ ทั้ง 3 ฝ่ายพร้อมเดินหน้าพัฒนา 4 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการเพื่อรับรองระบบการจัดการ เพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนการพัฒนาทางธุรกิจให้เป็นไปตามกฎและข้อกำหนดของการรับรองระบบการจัดการในประเทศจีน โครงการเพื่อการรับรองกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับของผลิตภัณฑ์จากยางพาราและไม้ยางพารา เพื่อเพิ่มความนิยมและความเชื่อมั่นของผลิตภัณฑ์ยางพาราและไม้ยางพาราจากประเทศไทย ผ่านการใช้ “ฉลาก QR ร่วม” ซึ่งเป็นการนำสัญลักษณ์ของ 3 องค์กรมาใช้ประกอบในสัญลักษณ์ เพื่อสื่อถึงการบูรณาการร่วมกันให้เป็นหนึ่งเดียว และเป็นเอกภาพ มีเป้าหมายเดียวกัน ที่จะพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางพาราและไม้ยางพารา สร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศผู้ใช้ยางในประชาคมโลก โครงการเพื่อตรวจสอบสินค้าก่อนการส่งออก เพื่อรับประกันความปลอดภัยในการเดินทางและยืนยันคุณภาพสินค้า และโครงการเพื่อการตรวจสอบซัพพลายเออร์ โดยตรวจสอบและช่วยเหลือซัพพลายเออร์ในประเทศไทย ให้ได้รับใบรับรองซัพพลายเออร์อย่างถูกต้อง
“ดังนั้น ในเดือนกรกฎาคม 2566 ที่จะถึงนี้ กยท. ได้กำหนดจัดฝึกอบรมเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบกิจการยาง ที่มีเป้าหมายการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางรวมถึงไม้ยางพาราไปยังประเทศจีน และประเทศในอาเซียน เพื่อให้เข้าใจถึงกฎและข้อกำหนดของการรับรองระบบการจัดการในประเทศจีน พร้อมทั้งส่งเสริมระบบมาตรฐาน การตรวจสอบรับรอง การลงทุนทางการค้า และพัฒนาระบบตลาดได้อย่างถูกต้อง ลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในการส่งออก”นายณกรณ์ กล่าว
ด้าน Mr.Liu Hua Lyu กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สำหรับ
ซี ซี ไอซี เป็นรัฐวิสาหกิจของจีน ที่ดำเนินธุรกิจในการให้บริการตรวจสอบ ประเมิน และให้การรับรองสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ยางรวมถึงไม้ยางพารา ที่ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศจีนและระดับสากล ซึ่งพร้อมที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในจีน ให้ผลิตภัณฑ์และแบรนด์สินค้าจากประเทศไทยมีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้น โดยจะสนับสนุน กยท. ในการให้ความรู้และฝึกอบรมการรับรองระบบการจัดการในประเทศจีน อีกทั้งเตรียมสร้างแพลทฟอร์มรวมถึงจัดทำแผนรองรับการตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ยางพาราและไม้ยางพารา และอำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารในกระบวนการและกฎระเบียบของการรับรองและตรวจสอบซัพพลายเออร์ และช่วย กยท. ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐบาลจีนเพื่อหารือเกี่ยวกับมาตรฐานของยางพารา และให้บริการตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออกโดยออกเอกสารรายงานการตรวจสอบที่สร้างความเชื่อมั่นระหว่างคู่ค้า เพิ่มการรับรู้ผลิตภัณฑ์ยางไทยในตลาดและกลุ่มผู้นำเข้าของจีนต่อไป” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) กล่าว
Mr.Jacky Saechen นายกสมาคมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านเศรษฐกิจและการค้าอาเซียน กล่าวอีกว่า ทางสมาคมจะดำเนินการประสานงานในเบื้องต้น โดยเลือกกลุ่มตลาดเป้าหมายในประเทศจีน แนะนำผลิตภัณฑ์ยางพาราให้กับผู้ประกอบกิจการที่มีความสนใจ ตรวจสอบพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบกิจการในจีนที่มีความสนใจซื้อสินค้าไทย และส่งเสริมระบบการค้าขายระหว่างประเทศ รวมถึงพัฒนาโมเดลระบบตลาดให้เกิดโอกาสทางธุรกิจ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออกให้เป็นที่ยอมรับในสากล และขยายขอบเขตทางธุรกิจทั้งในประเทศจีน และประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กยท.เดินหน้าเพิ่มปริมาณยางEUDR 2ล้านตัน/ปี เปิดไฟเขียวMOUกับเอกชนเพิ่มมูลค่ายาง6,000 ล้านบาท
กยท.เดินหน้าส่งเสริมสวนยางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มปริมาณยางEUDR 2 ล้านตัน/ปี รองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เปิดไฟเขียวขยาย MOUความร่วมมือทางด้านธุรกิจกับภาคเอกชน
กยท. ขยายตลาดยาง EUDR ต่อเนื่อง จับมือ ไทยรับเบอร์ฯ เซ็น MOU ซื้อขายน้ำยางสด 5 พันตันต่อเดือน
กยท. ทำได้จริงเปิดดีลซื้อขายน้ำยาง EUDR ต่อเนื่อง จับมือเอกชนรายแรก ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป เซ็น MOU ซื้อยางในราคาพรีเมี่ยม
กยท. มั่นใจก่อนสิ้นปีนี้ราคายางทะลุ 100 บาท/กก. ทุ่ม400ล. เปิดโรงงานยางแท่ง STR20 รองรับEUDRตรวจสอบย้อนกลับ100%
กยท.มั่นใจก่อนสิ้นปีนี้ราคายางทะลุ 100 บาท/กก.อย่างแน่นอน ย้ำชัดครั้งนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ ประกาศเดินหน้าเอาจริงปราบยางเถื่อนตรวจสอบเส้นทางด้านการเงิน
กยท.ดีเดย์ซื้อปลาหมอคางดำ 1 ล้านกก. ผลิตน้ำหมักชีวภาพเพิ่มผลผลิตให้ยางพารา
กยท.ดีเดย์ เริ่มรับซื้อปลาหมอคางดำแล้วเป็นวันนี้เป็นวันแรก ตั้งเป้าหมาย 1 ล้านกก. นำร่องในพื้นที่การระบาด 16 จังหวัด ราคา 15 บาท/กก.
ครบรอบ 9 ปี กยท. จัดใหญ่ “Thai Rubber, The Next Chapter” พร้อมผ่าผลงาน 4 ปี "ณกรณ์ ตรรกวิรพัท"
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จัดงานใหญ่ครบรอบปีที่ 9 โชว์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
จับตา...ราคายางครึ่งปีหลังสดใส ประเทศไทยประกาศพร้อมรับมือกฎเหล็ก EUDR
ภายหลังจากรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศ โดยมีร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์